Page Contentนโยบายเครดิต ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และแนวปฏิบัติในการพิจารณาสินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ สถาบันการเงินเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของต้นทางในการสนับสนุนหรือป้องกันการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Economy) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคาร และยังเป็นโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยสร้างรายได้และความน่าเชื่อถือให้แก่ธนาคารธนาคารตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการสนับสนุนทางการเงินผ่านการให้สินเชื่อและการลงทุน จึงได้กำหนดนโยบายเครดิต ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยนำปัจจัยดังกล่าวตามหลักปฏิบัติสากลมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อประเภทต่างๆ ทั้ง Corporate/Project Finance รวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้ต่างๆ กำหนดประเภทของสินเชื่อที่ธนาคารจะไม่สนับสนุน (Exclusion List) และกำหนดแนวปฏิบัติในการพิจารณาสินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ (Sector-Specific Guidelines) รวมทั้งมีมาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมแก่กลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้มั่นใจว่าสินเชื่อที่ธนาคารสนับสนุนจะได้รับการจัดการด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์และการดำเนินงานของธนาคาร ประเภทเครดิตที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่ธนาคารไม่ให้การสนับสนุน (Exclusion List) ธนาคารกำหนดให้มีการพิจารณาตั้งแต่ลักษณะของผู้ขอเครดิต ประเภทธุรกิจที่ลูกค้าดำเนินการอยู่ โดยธนาคารไม่ให้การสนับสนุนการขอเครดิตของประเภทธุรกิจต่างๆ (Exclusion List) ดังนี้ผู้ขอเครดิตที่มีข้อมูลว่าเกี่ยวข้องหรือคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อาทิ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ความผิดเกี่ยวกับการพนัน ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ ยึดถือหรือครอบครอง หรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบ ความผิดเกี่ยวกับอาวุธ หรืออาจนำไปใช้ในการรบ หรือการสงคราม รวมถึงความผิดเกี่ยวเนื่องกับการค้ามนุษย์เครดิตที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผิด หรือเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย โดยครอบคลุมกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศที่รัฐบาลได้ทำไว้ อาทิการค้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES)การส่งออกและนำเข้ากากของเสียที่ขัดต่ออนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal: Basel Convention) หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การผลิต การใช้หรือการค้าที่เกี่ยวข้องกับเวชภัณฑ์ สารเคมี ยาฆ่าแมลง สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และสารอันตรายอื่นๆ ที่อยู่ในข้อตกลงระหว่างประเทศหรือกฎหมายของประเทศที่อยู่ระหว่างการยกเลิกการใช้หรือที่ได้ยกเลิกไปแล้ว อาทิ การนำเข้าและการส่งออกสารเคมีเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงตามอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade) หรือสารเคมีที่ผลมลพิษตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) เครดิตที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายหรือบุกรุกระบบนิเวศที่สำคัญ อาทิ ป่าชายเลน พื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติพื้นที่อุทยาน พื้นที่อนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ตามประกาศหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพื้นที่แหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO World Heritage Sites)พื้นที่อนุรักษ์ตามอนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มนํ้าที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Convention on Wetlands)พื้นที่คุ้มครองของ International Union for Conservation of Nature: IUCN (IUCN Protected Area Category) และพื้นที่ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ (High Conservation Value Area: HCV)เครดิตที่เกี่ยวข้องกับการทำลายหรือบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์ทางวัฒนธรรม อาทิ โบราณสถาน พื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมเครดิตที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์ แรงงานที่ถูกบังคับ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก หรือสภาพการทำงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเครดิตเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่ขัดแย้งกับศีลธรรมและบรรทัดฐานทางสังคม อาทิ สถานบริการอาบ อบ นวด โรงแรมม่านรูด การค้าประเวณี การผลิตสื่ออนาจาร การพนัน สื่อที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดผิวธุรกิจที่มีเหตุอันเชื่อว่าได้รับอนุมัติงาน อาทิ การจัดซื้อจัดจ้าง การได้รับสัมปทานหรือใบอนุญาต โดยมีการใช้อำนาจตำแหน่งทางราชการหรือการเมืองเพื่อเอื้อต่อธุรกิจ หรือการเรียกรับเงินสินบน ค่านายหน้า หรือการตอบแทนในรูปแบบต่างๆหนังสือค้ำประกันยื่นซองประกวดราคา ที่เอื้ออำนวยให้ลูกค้านำไปประมูลงานของภาครัฐ ซึ่งผู้ประมูลงานตกลงสมยอมกันเพื่อให้ผู้ประมูลรายหนึ่งรายใดเป็นผู้ชนะเครดิตที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรเครดิตที่เกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธและยุทโธปกรณ์ ที่มีการนำเข้าหรือส่งออกไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียเครดิตที่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือค้าอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อาทิทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-personal land mines)ระเบิดลูกปราย (Cluster Munition)อาวุธนิวเคลียร์อาวุธชีวภาพและเคมีเครดิตสำหรับโครงการที่ต้องมีการดำเนินการโครงการในต่างประเทศที่อาจก่อให้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในวงกว้าง ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศที่โครงการไปดำเนินการ (Host Country) รวมถึงหน่วยงานระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง และไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม โดยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ Equator Principle, IFC Performance Standards & Environmental, Health, and Safety Guidelines (EHS Guidelines), ADB Safe Guard Policy, JBIC’s Guidelines for Confirmation of Environmental and Social Considerations, EBRD Performance Requirements - Environmental and Social Sustainability (European Standard)เครดิตสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนํ้าจากเขื่อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่ไม่มีมาตรการจัดการและแผนปฏิบัติงานตามแนวทาง Equator Principles และไม่มีสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่รับในหลักการ Equator Principles เข้าร่วมสนับสนุนโครงการการยุติการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะเกิดขึ้นใหม่ เครดิตใดๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในทางลบต่อธนาคาร แนวปฏิบัติในการพิจารณาสินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ (Sector - Specific Guidelines)ธนาคารได้ดำเนินการพัฒนาแนวทางการพิจารณาสินเชื่อสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะตามนัยสำคัญของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยกำหนดให้มีการพิจารณาปัจจัยด้าน ESG ในการพิจารณาเครดิตสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมเพิ่มเติมจากปัจจัยด้านอื่นๆ เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับเครดิตพอร์ตโฟลิโอและระดับธุรกรรมของธนาคารเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนี้ ธนาคารจะเน้นให้การสนับสนุนธุรกิจที่คำนึงถึงสิทธิแรงงานตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) และมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าธนาคารสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยกรณีที่ธนาคารมีการสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในวงกว้าง ผู้ดำเนินโครงการจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของประเทศนั้นๆ (Host Country) รวมถึงปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ ธนาคารจะพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการที่มีสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วมรับหลักการหรือมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลธนาคารไม่สนับสนุนสินเชื่อใหม่ให้กับโรงไฟฟ้า ดังนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนที่ไม่ได้มีมาตรการจัดการและแผนปฏิบัติงานตามแนวทาง Equator Principles และไม่มีสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินต่างประเทศเข้าร่วมสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะเกิดขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ธนาคารจะทยอยลดเงินกู้ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่แล้วให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 ธนาคารเน้นสนับสนุนสินเชื่อให้กับโรงไฟฟ้า ดังนี้โรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอื่นๆ อาทิ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ ที่มีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสมของประเภทกิจการ มีการเปิดเผยและมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจก มีการติดตามผลการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีมาตรการติดตามและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมพื้นที่โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและชุมชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ธนาคารสนับสนุนผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่ผ่านหลักเกณฑ์มาตรฐานเหมืองแร่สีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการทำเหมืองแร่ที่จำกัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน ไม่มีการบังคับใช้แรงงานเด็กโดยที่บุคคลนั้นไม่ได้เสนอตนโดยสมัครใจ มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากเสียงและความสั่นสะเทือน ลดผลกระทบคุณภาพของน้ำ และลดผลกระทบคุณภาพของอากาศที่ป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย โดยต้องมีระบบการขนส่ง การเก็บกวาดฝุ่นละอองบริเวณเส้นทางลำเลียง รวมทั้งระบบจัดเก็บที่ดี ธนาคารไม่สนับสนุนผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่มีลักษณะดังนี้การทำเหมืองแร่ใยหิน (Asbestos) รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการค้าแร่ใยหินที่ไม่ได้ฝังตัวอยู่ในวัสดุอื่น (Unbounded Asbestos Fibers)การทำเหมืองที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อทรัพยากรน้ำ ทั้งทางแหล่งน้ำและทางทะเลการทำเหมืองที่มีการระเบิดเปิดหน้าภูเขา (Mountaintop Removal Mining)การทำเหมืองในพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าการทำเหมืองที่มีพื้นที่อยู่ใกล้แหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโกการทำเหมืองที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อทรัพยากรน้ำ ทั้งทางแหล่งน้ำและทางทะเลการทำเหมืองอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง (ชายแดนติดเพื่อนบ้าน พื้นที่การสู้รบ)การทำโครงการเหมืองถ่านหินชนิดเชื้อเพลิงให้ความร้อนใหม่ (Thermal Coal) และ Coal Infrastructure รวมถึงการขยายเหมืองถ่านหินชนิดเชื้อเพลิงให้ความร้อนเดิมการให้สินเชื่อเชิงพาณิชย์ (Corporate Finance) กับ Coal Infrastructure สำหรับถ่านหินชนิดเชื้อเพลิงให้ความร้อน (Thermal Coal)การให้สินเชื่อเชิงพาณิชย์กับเหมืองถ่านหินชนิดเชื้อเพลิงให้ความร้อน (Thermal Coal) เว้นแต่ลูกค้ามีกลยุทธ์หรือเป้าหมายที่เชื่อถือได้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานคาร์บอนต่ำทั้งนี้ ธนาคารจะทยอยลดพอร์ตโฟลิโอของการให้สินเชื่อเหมืองถ่านหินให้หมดภายในปี 2573 อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธนาคารจะเน้นการสนับสนุนธุรกิจที่มีการตั้งเป้าหมายและเปิดเผยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ระบบนิเวศธนาคารไม่สนับสนุนโครงการสำรวจขุดเจาะและผลิตจากแหล่งพลังงานนอกรูปแบบ (Unconventional Oil & Gas) เช่น ทรายน้ำมัน (Tar Sands) ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากหินดินดาน (Shale Oil & Gas) แหล่งพลังงานในอาร์คติก (Arctic Oil & Gas) แหล่งพลังงานน้ำลึก Ultra-Deep-Water (UDW) และก๊าซธรรมชาติ เหลวจากแหล่งพลังงานนอกรูปแบบ (Unconventional Extraction Liquefied Natural Gas) รวมทั้งการสร้างท่อเพื่อขนส่งน้ำมันเหล่านี้ธนาคารเน้นสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้มีการตั้งเป้าในการลดการเผาก๊าซทิ้งทั้งสินทรัพย์เดิมและใหม่ เพื่อให้มีกรอบระยะเวลาในการลดก๊าซเผาทิ้งมีแผนติดตามหรือลดการปล่อยก๊าซมีเทนทั้ง Upstream Assets เดิมและโครงการใหม่ มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและขจัดมลพิษที่เกิดจากน้ำมัน มีแผนและมีการทดสอบความพร้อมในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินกรณีน้ำมันหกล้นรั่วไหล (Oil Spill) อุตสาหกรรมเกษตร เกษตรแปรรูปและอาหารและธุรกิจอื่นๆ ที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ การทำการเกษตร ประมง ป่าไม้ เป็นกิจกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปต่อ ซึ่งธนาคารให้ความระมัดระวังในการปล่อยเครดิตที่อาจมีความเสี่ยงและก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) การปล่อยมลพิษ อาทิ มลพิษทางอากาศ ทางกลิ่น ทางน้ำ ตลอดจนการปล่อยของเสียสู่ภายนอกกิจการซึ่งมีผลต่อชุมชน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ การเลี้ยงสัตว์ มีการปล่อยก๊าซมีเทน การปลูกพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีที่ปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ ธนาคารไม่สนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจ ดังนี้ ธุรกิจที่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ตั้งโครงการอยู่บนพื้นที่อ่อนไหว โดยพิจารณาตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายสินค้า ดังนี้ พื้นที่ที่เป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO World Heritage Sites)พื้นที่ลุ่มน้ำพื้นที่ป่าอนุรักษ์พื้นที่อุทยาน พื้นที่อนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ตามประกาศของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มนํ้าที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Wetlands Registered by Ramsar Convention)พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บคาร์บอนในระดับสูง (High-carbon Stock)พื้นที่คุ้มครองของ IUCN (IUCN Protected Area Category)พื้นที่ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ (High Conservation Value Area : HCV)การปลูกพืชที่มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า หรือมีการเผาพื้นที่หลังการเก็บเกี่ยว โดยต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ที่ดินประกอบการพิจารณาสินเชื่อการใช้ประโยชน์บนที่ดินซึ่งได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายการใช้ประโยชน์บนที่ดินที่ยังมีข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง ที่ยังไม่ได้มีการแก้ไขข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยสมัครใจล่วงหน้า (Free, Prior, and Informed Consent : FPIC) ก่อนเข้าใช้พื้นที่ธุรกิจที่รับซื้อสินค้าเกษตรที่มีการปลูกในพื้นที่บุกรุกป่า หรือการเผาเพื่อการเตรียมพื้นที่ปลูก เช่น การเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด การเผาอ้อยในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ การดักสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาถ่านในป่า ผลิตภัณฑ์จากกระดูก เขาและงา รวมทั้งสัตว์และพืชตามอนุสัญญาไซเตส (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES)) เนื่องจากเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมธุรกิจโรงชำแหละที่มีการทารุณสัตว์ธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่มีมาตรการป้องกันหรือจัดการผลกระทบอย่างเหมาะสมการใช้แรงงานแบบผิดกฎหมายธนาคารเน้นสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้มีการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนคำนึงถึงสิทธิแรงงานและมีมาตรการด้านแรงงานขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณการใช้น้ำหรือสามารถนำน้ำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ มีมาตรฐานการบำบัดน้ำเสีย การกำจัดของเสีย และกลิ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด มีการจัดการของเสียให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ ลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานหมุนเวียนมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และระบบด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย (ISO 45001) เป็นต้นสำหรับบางธุรกิจที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ธนาคารกำหนดนโยบาย / เงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อแต่ละอุตสาหกรรม ดังนี้ การเลี้ยงสัตว์ (ไม่รวมสัตว์น้ำ) และโรงชำแหละธนาคารไม่สนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน เช่น สร้างมลภาวะทางกลิ่น ก๊าซพิษจากน้ำเสีย เป็นต้น โดยที่ตั้งฟาร์มต้องอยู่ห่างไกลชุมชนเพื่อลดผลกระทบด้านมลภาวะต่อชุมชน ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากชุมชนว่าสามารถทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ได้ และควรมีระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เพื่อบำบัดน้ำเสียและลดปัญหาด้านกลิ่นธนาคารสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ มีมาตรฐานการเลี้ยง การป้องกันโรค การจัดการแรงงานและของเสีย สุขอนามัยของชุมชน โดยฟาร์มได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ หรือมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Good Agricultural Practice : GAP) ตามที่กรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานอื่นที่ทางกรมปศุสัตว์ให้การรับรองมีการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน คำนึงถึงสุขภาพสัตว์และสิทธิแรงงานตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labor Practice : GLP) ที่เกี่ยวข้องคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณการใช้น้ำหรือสามารถนำน้ำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ มีการจัดการของเสียให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ ลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานหมุนเวียนโรงชำแหละควรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารแห่งชาติเรื่อง การปฏิบัติที่ดีสําหรับโรงฆ่าสัตว์ (มกอช. 9004-2547) และต้องดําเนินการเกี่ยวกับโรงฆ่าสัตว์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำธนาคารไม่สนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจ ดังนี้การเพาะเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ป่าชายเลน ธุรกิจประมงทางทะเลที่ไม่มีการดำเนินการตามกฎหมาย ไม่มีการรายงานและการควบคุม (Unregulated Fishing: IUU Fishing) หรือมีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ผิดกฎหมาย การจับสัตว์สงวน หรือสัตว์ที่ขึ้นบัญชีตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจ ดังนี้ธุรกิจที่มีการบริหารจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานธุรกิจที่มีระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามหลักการปฏิบัติมาตรฐานทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice : GAP) ตามแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน (Code of Conduct : CoC) จากกรมประมง และเป็นไปตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน Aquaculture Stewardship Council (ASC)*ธุรกิจการทำประมงอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามมาตรฐานการประมงสากลของสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง : Marine Stewardship Council (MSC)** และต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรที่มาจากการทำประมง การแปรรูปผลผลิต และการกระจายผลผลิต ตลอดห่วงโซ่อุปทานนั้น ทุกกระบวนการควรเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง มีการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนมีการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceable) *Aquaculture Stewardship Council (ASC) คือ มาตรฐานการรับรองอาหารทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของอาหารทะเลได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค **Marine Stewardship Council (MSC) คือ มาตรฐานการรับรองอาหารทะเลจากการประมงทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของอาหารทะเลได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค ธุรกิจปาล์มน้ำมันธนาคารไม่สนับสนุนการปลูกปาล์มที่มีการตัดไม้ทำลายป่าธนาคารสนับสนุนให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามนโยบาย No Deforestation, No Peat, No Exploitation (NDPE)ธนาคารสนับสนุนให้ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงสกัด โรงกลั่น และผู้ค้า เป็นต้น ปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable for Sustainable Palm Oil : RSPO) กรณียังไม่ผ่านมาตรฐาน ควรมีแผนดำเนินการเพื่อให้ได้รับการรับรอง RSPO โดยมีกรอบเวลาที่ชัดเจน ปาไม้และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่นำผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ไปใช้ อาทิ การทำเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ธนาคารไม่สนับสนุนการทำป่าไม้ที่เป็นการทำลายป่าธนาคารสนับสนุนเฉพาะการทำป่าไม้ที่ปลูกเพื่อการพาณิชย์ ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กรด้านป่าไม้ อาทิ Forest Stewardship Council (FSC)ธนาคารเน้นสนับสนุนธุรกิจที่ผ่านมาตรฐานด้านความยั่งยืน ดังนี้ยางพารา ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพาราทั้งห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ผู้ปลูก ผู้ค้า ผู้ผลิต ที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน การผลิตยางพาราอย่างยั่งยืน (Sustainable Natural Rubber Initiative : SNRI)แปรรูปอาหารทะเล ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเลส่งออกที่ผ่านมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน (Aquaculture Stewardship Council : ASC) และ/หรือมาตรฐานการรับรองอาหารทะเลจากการประมงทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Marine Stewardship Council : MSC)น้ำมันปาล์ม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปาล์มทั้งห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ผู้ปลูก ผู้ค้า โรงสกัด และโรงกลั่นที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Roundtable for Sustainable Palm Oil : RSPO)น้ำมันถั่วเหลือง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันถั่วเหลืองทั้งห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ผู้ปลูก ผู้ค้า โรงสกัด และโรงกลั่นที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองอย่างยั่งยืน (Round Table on Responsible Soy Association : RTRS)น้ำตาล ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลทั้งห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ผู้ปลูก ผู้ค้า ผู้ผลิต ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตน้ำตาลอย่างยั่งยืน (Bonsucro) ข้าว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับข้าวที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน Sustainable Rice Platform (SRP)ปลาป่นและน้ำมันปลา ธุรกิจปลาป่นและน้ำมันปลาที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน การผลิตปลาป่นและน้ำมันปลาอย่างยั่งยืน International Fishmeal and Fish Oil Organization Responsible Supply (IFFO RS)ไม้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำไม้ไปใช้ประโยชน์ อาทิ ยางล้อ บรรจุภัณฑ์กระดาษ เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานป่าไม้หรือผลิตภัณฑ์ไม้อย่างยั่งยืน ได้แก่ Forest Stewardship Council (FSC), Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme (PEFC), Sustainable Forest Management System : Specification Document (SFM) (ISO 14061), มาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Forest Management Standard : FM) (มอก. 14061) , มาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ (Chain of Custody: CoC) (มอก. 2861)พลังงานทดแทน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน อาทิ ปาล์ม มันสำปะหลัง ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานความยั่งยืนสำหรับพลังงานทดแทน Global Bioenergy Partnership (GBEP)วัสดุชีวภาพ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวัสดุชีวภาพที่ผ่านการรับรองกระบวนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน Roundtable on Sustainable Biomaterials (RSB)ธุรกิจเกษตร ได้แก่ สินค้าพืช สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง ที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP, Global GAP, กรอบการประเมินความยั่งยืน Sustainability Assessment of Food and Agriculture Systems (SAFA) อุตสาหกรรมเคมี ฟอกหนัง ฟอกย้อม และการผลิตอื่นๆธนาคารสนับสนุนธุรกิจที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยควรผ่านมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และมีมาตรฐานอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย โดยควรผ่านมาตรฐานระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) ตลอดจนมีมาตรการด้านแรงงานขั้นต่ำตามที่กฎหมายระบุธนาคารไม่สนับสนุนธุรกิจ ดังนี้ธุรกิจผลิตอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Mass Destructive Weapons) เนื่องจากส่งผลกระทบทางสังคมและก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมธุรกิจผลิตเครื่องสำอางที่มีการทดลองกับสัตว์ เนื่องจากเป็นการทรมานสัตว์ธุรกิจที่ใช้สารทำความเย็นประเภท CFC (R11 และ R12) (Chlorofluorocarbon)ธุรกิจที่ใช้สารทำความเย็นประเภท HCFC (R22) (Hydro Chlorofluorocarbon) เว้นแต่มีแผนในการลดการใช้ธนาคารสนับสนุนธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้มีการจัดการสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยมีการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืนและนำกลับมาผลิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมีการจัดการมลพิษทางอากาศจากกระบวนการผลิต อาทิ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงมลพิษอื่นๆ เช่น ความร้อน เสียง การสั่นสะเทือน เป็นต้นมีแผนที่จะดำเนินการหรือได้รับการรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (SA 8000)อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ธนาคารส่งเสริมการก่อสร้าง การปรับปรุงอาคาร ให้ได้มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น LEED TREES เป็นต้นสำหรับโครงการบ้านแนวราบ ธนาคารเน้นสนับสนุนโครงการบ้านประหยัดพลังงานที่มีการออกแบบและ แนวทางการใช้วัสดุและระบบโครงสร้างของบ้านตามหลักการของบ้านอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน หรือพัฒนาโครงการบ้านเบอร์ 5 ตามหลักการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานหากโครงการที่ขอสินเชื่อเป็นอาคาร 9 ประเภท ได้แก่ สถานศึกษา สำนักงานหรือที่ทำการ ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า สถานบริหาร โรงมหรสพ อาคารชุมนุมคน สถานพยาบาล โรงแรม และอาคารชุด ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องทำตามเงื่อนไขของประกาศกระทรวงพลังงาน 2 ฉบับ หรือที่เรียกว่า BUILDING ENERGY CODE 2020 (BEC)อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้างธนาคารไม่สนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้การสร้างโรงงานใหม่ที่กระบวนการผลิตใช้ถ่านหินชนิดเชื้อเพลิงให้ความร้อนใหม่ (Thermal Coal) เป็นพลังงานหลักการสร้างโรงเหล็กที่ใช้กระบวนการผลิต IF (Induction Furnace Process) ใช้วัตถุดิบที่มาจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ใช้วัตถุดิบที่มาจากทำลายป่าไม้ หรือใช้วัตถุดิบที่มาจากทำเหมืองที่มีการระเบิดภูเขา (Mountaintop Removal) เป็นต้นกระบวนการผลิตหรือที่ตั้งของสถานการผลิตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีลักษณะ ดังนี้ได้รับมาตรฐานระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล (ISO 50001) มาตรฐานอุตสาหกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (TIS 18001 หรือ มอก. 18001) รวมทั้งมาตรฐานกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุใช้ในงานโครงสร้างอาคารของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) 1101 ถึง 1106 เป็นมาตรฐานว่าด้วยการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications) ของวัสดุหลักที่ใช้ในงานโครงสร้างอาคารประเภทต่างๆมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากการใช้พลังงานหลักจากถ่านหิน มาเป็นการใช้พลังงานสะอาดทดแทน และมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งลดการใช้พลังงานธุรกิจผลิตเหล็กที่ต้องการเปลี่ยนผ่านกระบวนการผลิตจาก IF เป็น Electric Arc Furnace (EAF) และธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ต้องการเปลี่ยนเป็นปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกใช้วัตถุดิบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการจัดหาวัตถุดิบภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมทั้งวัสดุก่อสร้างที่มีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณการใช้น้ำ หรือสามารถนำน้ำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ มีการจัดการของเสียให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ ลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ได้รับฉลากเขียว (Green Label) จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ธนาคารเน้นให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicles) รถยนต์ไฟฟ้า กิจการพัฒนาระบบอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ จักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ สามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ธนาคารระมัดระวังการสนับสนุนสินเชื่อในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนในระบบส่งกำลัง (Powertrain) และเครื่องยนต์ (Engine) เนื่องจากมีความเสี่ยงที่การผลิตรถแบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) จะถูกแทนที่ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าระยะยาวในอนาคต และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของประเทศ โดยผู้ประกอบการต้องผ่านมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Green Industry (GI), ISO 9001, ISO 45001 เป็นต้น รวมทั้งมีแผนที่มุ่งสู่การพัฒนาผ่านมาตรฐานการปล่อยมลพิษ EURO5 ได้แก่ มอก.3016-2563 และ มอก.3018-2563 ที่จะมีการบังคับใช้ในปี 2567 เป็นต้นไป อุตสาหกรรมขนส่ง ขนส่งทางทะเลธนาคารจะสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจการเดินเรือที่มีลักษณะ ดังนี้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติของ IMO ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล (Safety of Life at Sea : SOLAS) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ (Maritime Regulations for Prevention of Pollution : MARPOL) เรือพาณิชย์ทุกลำในการค้าระหว่างประเทศ ต้องมีใบรับรองแรงงานทางทะเลที่ออกโดย International Labor Organization (ILO) และ International Maritime Organization (IMO) โดยอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล (Maritime Labor Convention: MLC) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับเงื่อนไขการจ้างงานและที่พักบนเรือ ตลอดจนข้อกำหนดการจ้างงานขั้นต่ำ การรักษาพยาบาล และอื่นๆเรือพาณิชย์ของผู้ประกอบการ ต้องผ่านการตรวจสอบจาก IACS (The International Association of Classification Societies) ซึ่งเป็นองค์กรที่รับรองว่ามาตรฐานสำหรับการก่อสร้าง การปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษาเรือที่เป็นไปตามอนุสัญญา IMO ทั้งนี้ ธนาคารสามารถตรวจสอบว่าเรือได้รับมาตรฐานต่างๆ ภายใต้อนุสัญญา IMO และได้รับการตรวจสอบจาก IACSทั้งนี้ ธุรกิจควรมีการตั้งเป้าหมายและแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากภาคการขนส่งทางเรือมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์หรือกำมะถันเข้าสู่ระบบนิเวศ ขนส่งทางอากาศธนาคารจะสนับสนุนธุรกิจที่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนดได้เป็นอย่างน้อยธุรกิจการบินสามารถปฏิบัติตามมาตรการที่โครงการ CORSIA กำหนดขึ้นในแต่ละประเทศ รวมถึงมีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับเป้าหมายของ International Civil Aviation Organization (ICAO)ธุรกิจควรมีแผนการเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดวัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับน้ำมันเจ็ทแบบดั้งเดิม ขนส่งทางถนนธนาคารเน้นสนับสนุนธุรกิจที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Q Mark จากกรมการขนส่งทางบกหรือสามารถปฏิบัติตามข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามในมาตรฐาน Q Mark และมีแผนปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการดำเนินการตามข้อแนะนำในมาตรฐาน อุตสาหกรรมบริการธนาคารไม่สนับสนุนธุรกิจ ดังนี้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ สถานบันเทิงเริงรมย์ ธุรกิจที่ขัดแย้งกับศีลธรรมและบรรทัดฐานทางสังคม เช่น สถานบริการอาบอบนวด โรงแรมม่านรูด โคโยตี้ ผับ บาร์ ไนต์คลับ เป็นต้นธุรกิจคาสิโนหรือบ่อนการพนัน และสนามม้า เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่า ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน ทั้งนี้ หากเข้าข่าย ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ธนาคารสนับสนุนเฉพาะโครงการที่ผ่านการอนุมัติ EIA เท่านั้นธุรกิจบริการที่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานทาส แรงงานเด็ก หรือไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัยและ อาชีวอนามัยให้กับแรงงาน ประเภท