15/6/2560

แผนลงทุน EEC หนุน SME ไทยโต

​​     โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยรัฐบาลคาดหวังว่า EEC จะเข้ามาช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีความทันสมัย สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และทำให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง



     เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของ EEC ในการรองรับการลงทุน รัฐบาลจึงได้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ใน EEC ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์และการขนส่ง รวมไปถึงการพัฒนาเมืองใหม่ โดยโครงการลงทุนหลักของภาครัฐใน EEC เน้นที่การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ดังนี้



     แม้ EEC จะเน้นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนสูง จึงอาจจะเกิดประโยชน์กับบริษัทรายใหญ่มากกว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม แต่การลงทุนของบริษัทรายใหญ่ก็อาจเป็นโอกาสของ SME ด้วยเช่นกัน



     บทบาทของ SME ในอนาคตจึงน่าจะทวีความสำคัญขึ้น แม้จะไม่ใช่ผู้เล่นหลักแต่ก็เป็นผู้สนับสนุนให้อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทยเติบโต​​ เพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตท่ามกลางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ


     
     การเข้ามาลงทุนของบริษัทรายใหญ่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เชื่อมโยงการผลิตของตนให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน แต่อย่างไรก็ดี EEC ก็เป็นความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการ SME จำเป็นต้องปรับตัวโดยปรับการผลิตให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งอาจใช้เงินลงทุนที่สูงและต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME จึงควรติดตามสถานการณ์และแนวโน้มของอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์​

ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม…


ดาวน์โหลดบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม