/th/promotion/pages/debt-suspension-sme.aspx

แนะนำผลิตภัณฑ์

2 มาตรการช่วยลูกค้าธุรกิจสู้ COVID 19

​​​​​​​​​​​​มาตรการที่ 1 สินเชื่อฟื้นฟู

เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ รักษาการจ้างงาน และฟื้นฟูธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินสินเชื่อดังกล่าว มาชำระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดิม หรือ Refinance จากสถาบันการเงิน

 
 

ลูกค้าปัจจุบัน
กู้ได้ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ
ที่มีกับธนาคาร
แต่ไม่เกิน 150 ลบ. หรือสูงสุดไม่เกิน 50 ลบ.

สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงิน
สินเชื่อธุรกิจ
ที่มีกับธนาคาร
ไม่ถึง 50 ล้านบาท

ลูกค้าใหม่
กู้ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท
รวมทุกสถาบันการเงิน

 

อัตราดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปีแรก
โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี
ไม่เกิน 5% ต่อปี

 

ฟรี ดอกเบี้ย 6 เดือนแรก*

คุณสมบัติของลูกค้าที่จะขอกู้

  • บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าธุรกิจของธนาคาร ที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 (ไม่รวมวงเงินสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภค)
  • ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • ไม่มีสถานะเป็นหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

รายละเอียดมาตรการ

  • วงเงิน
    ลูกค้าปัจจุบัน : วงเงินกู้ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทยมีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท (หากเคยได้รับสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และ สินเชื่อฟื้นฟู เดิม ให้นับรวมด้วย)
    ลูกค้าใหม่ : วงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท นับรวมทุกสถาบันการเงิน สำหรับลูกค้าที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
  • ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้นสูงสุด 24 เดือน (ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก)
  • อัตราดอกเบี้ย
    • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ไม่ต้องชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
    • โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี
    • ปีที่ 6 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
     

    กดที่รูปเพื่อขยายตาราง

  • *ฟรีค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทุกประเภท (ยกเว้นค่าอากรแสตมป์)
  • ต้องค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) โดยมีค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1.75% ต่อปี
    **สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Micro และ SME ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1.25% ต่อปี**
  • การอนุมัติสินชื่อและเบิกวงเงินกู้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

ช่องทางการติดต่อ

  • ลูกค้าธุรกิจที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center Icon Tel02-8888822
คำถามที่พบบ่อย สำหรับมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู
คุณสมบัติของลูกค้าที่จะสมัครผลิตภัณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู มีอะไรบ้าง
  1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
  2. เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ*กับธนาคารกสิกรไทยไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวงเงินตามภาระผูกพัน (เช่น หนังสือค้ำประกัน, เลตเตอร์ออฟเครดิต) และวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้แก่ วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล (Xpress Cash), วงเงินสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan),วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต
  3. ต้องไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  4. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  5. ไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

*วงเงินสินเชื่อธุรกิจนับรวม Loan, OD, PN, Trade, Factoring วงเงินสินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan-Long term loan) วงเงินเพื่อธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกัน, วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (ให้นับวงเงินกู้เดี่ยว รวมกับ วงเงินกู้ร่วมตามสัดส่วนความรับผิดในหนี้)

วัตถุประสงค์สำหรับการขอผลิตภัณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู

เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินสินเชื่อดังกล่าวมาชำระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดิม หรือ Refinance จากสถาบันการเงินอื่นๆ

ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ในวงเงินเท่าใด

ลูกค้าปัจจุบัน : ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย* ณ วันที่ 31/12/2562 หรือ ณ วันที่ 28/2/2564 แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย* มีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท (หักด้วย วงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสินเชื่อฟื้นฟู ที่เคยได้รับอนุมัติ บวก วงเงินสินเชื่อดังกล่าวที่ลูกค้าเคยได้รับอนุมัติแต่ไม่ประสงค์ใช้และธนาคารได้คืนเงินแก่ ธปท.แล้ว)
ลูกค้าใหม่ : ไม่เกิน 50 ล้านบาท นับรวมทุกสถาบัน
การเงิน


*นับเฉพาะLoan, OD, PN, Trade, Factoring วงเงินสินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan-Long term loan) วงเงินเพื่อธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกัน, วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ ของตัวผู้กู้เอง จะไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน และไม่รวมวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล (Xpress Cash), วงเงินสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan) วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต

ประเภทของวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ครอบคลุมวงเงินประเภทใดบ้าง

วงเงินกู้ (Loan) ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้นสูงสุด 24 เดือน (ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก)

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของสินเชื่อฟื้นฟูภายใต้ พ.ร.ก. มีรายละเอียดอย่างไร
  • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี 2 ปีแรก โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี <= 5% ต่อปี (ยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) โดยอัตราดอกเบี้ยปีที่ 6-7 เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนด
  • ไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้ หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทุกประเภท (ยกเว้นค่าอากรแสตมป์)
ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อภายใต้สินเชื่อฟื้นฟู ได้กี่ครั้ง

ขอได้ 6 ครั้ง โดยเงื่อนไขการเบิกเงินกู้แต่ละครั้งต้องเป็นการเบิกเงินกู้ครั้งเดียวทั้งจำนวน

สำหรับลูกค้าปัจจุบัน : รวม 6 ครั้ง จะต้องไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทยมีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท
สำหรับลูกค้าใหม่ : รวม 6 ครั้ง จะต้​องไม่เกิน 50 ล้านบาท รวมทุกสถาบันการเงิน

ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือบริษัทที่ถือหุ้นโดยต่างชาติ สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ได้หรือไม่

ได้ เนื่องจากคุณสมบัติของผู้ที่ขอกู้ได้ คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น

ประเภทหลักประกันที่ต้องนำเสนอภายสินเชื่อฟื้นฟู

ต้องค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) โดยมีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Corporate : ค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 1.75% ต่อปี
  • สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Micro และ SME ค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 1.25% ต่อปี
กรณีลูกค้าเคยได้รับเงินกู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ไปแล้ว สามารถขอเพิ่มได้อีกหรือไม่

สามารถขอกู้ได้ ทั้งนี้ เมื่อนับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ขอทั้งหมด จะต้องไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทย ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ 30% ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่กับธนาคารกสิกรไทยมีจำนวนไม่ถึง 50 ล้านบาท

กรณีลูกค้าเข้ามาตรการช่วยเหลือของธนาคาร สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่

สามารถขอได้ ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟู

กรณีลูกค้าไม่มีสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูได้หรือไม่

กรณีไม่มีสินเชื่อธุรกิจกับทุกสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูกับธนาคารกสิกรไทยได้ เว้นแต่ ลูกค้าไม่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารกสิกรไทยแต่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารอื่น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จะไม่สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูกับธนาคารกสิกรไทยได้

มาตรการที่ 2 พักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing)

เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการลดภาระเงินต้นและดอกเบี้ย ประคับประคองให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

 
 

ธนาคารจะไม่ขายหลัก
ประกันให้บุคคลอื่นภายใน 3-5 ปี

 

สามารถเช่าหลักประกัน
เพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้

 

ฟรี ค่าธรรมเนียมทุกประเภท

คุณสมบัติของลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการ

  • เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
  • ไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • มีความประสงค์โอนทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้เงินกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • ต้องเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมจาก COVID-19

รายละเอียดมาตรการ

  • เป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับธนาคาร ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
  • ลูกค้าหรือเจ้าของทรัพย์ มีสิทธิซื้อคืนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีนับจากวันที่โอน โดยธนาคาร จะไม่ขายหลักประกันให้บุคคลอื่น ยกเว้นได้รับหนังสือแจ้งจากลูกค้าว่าไม่ประสงค์ใช้สิทธิ์ซื้อทรัพย์นั้นคืน
  • ลูกค้าสามารถเช่าหลักประกันเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้ ในอัตราค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยต้องแจ้งความประสงค์ เช่าทรัพย์สินภายใน 15 วันนับจากวันที่โอน
  • ลูกค้าได้รับยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องทุกประเภท ทั้งขารับโอน และขาโอนกลับให้ลูกค้า หรือเจ้าของทรัพย์เดิม
  • ราคารับโอน ตามการพิจารณาของธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับทรัพย์ ภาระหนี้ โดยจะต้องไม่เกินกว่าเงินต้นในบัญชีสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีกับธนาคาร
  • ราคาซื้อคืน =
     

    กดที่รูปเพื่อขยายตาราง

  • การอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร

ช่องทางการติดต่อ

  • ลูกค้าธุรกิจที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center Icon Tel02-8888822
คำถามที่พบบ่อย สำหรับมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing)
ลูกค้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไรที่สามารถเข้าร่วมโครงการ
  • เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564
  • ไม่มีสถานะเป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • มีความประสงค์โอนทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้เงินกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
ลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนได้ผ่านช่องทางใดบ้าง

ติตด่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ หรือ K-BIZ Contact Center 02-888-8822

ระยะเวลาที่ลูกค้าสามารถแจ้งความจำนงในการขอเข้าร่วมโครงการ

2 ปีนับแต่วันที่ พรก. มีผลบังคับใช้ (10 เม.ย.2564) หรือ เต็มวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดทุกสถาบันการเงินรวมกัน 1 แสนล้านบาท

หลักประกันใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

ต้องเป็นทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564 ทั้งนี้การพิจารณาเรื่องหลักประกันที่สามารถรับได้ จะเป็นไปตามเงื่อนไขการพิจารณาของธนาคาร

ประเภทธุรกิจใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการ

ต้องเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมจาก COVID-19

ลูกค้าต้องประกอบธุรกิจอยู่ในพื้นที่ใดบ้างที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

พื้นที่ได้รับผลกระทบทางตรง หรือทางอ้อมจาก COVID-19

ข้อดีของการเข้าร่วมโครงการ

ลูกค้าสามารถลดภาระหนี้ที่มีอยู่กับธนาคาร และได้รับสิทธิในการเช่าและซื้อทรัพย์คืน รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีค่าธรรมเนียมในการตีโอนทรัพย์

ลูกค้าสามารถเช่าทรัพย์ที่โอนให้กับธนาคารเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้หรือไม่

สามารถเช่าทรัพย์ได้ แต่ต้องแจ้งความจำนงต่อธนาคารภายใน 15 วันหลังจากวันที่ธนาคารรับโอนทรัพย์

ราคาค่าเช่าทรัพย์ที่ตีโอนไป ธนาคารมีวิธีการคิดค่าเช่าอย่างไรบ้าง

ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างลูกค้ากับธนาคาร

ลูกค้าสามารถซื้อทรัพย์คืนได้หรือไม่

ธนาคารจะให้สิทธิกับลูกค้าที่เป็นเจ้าของทรัพย์ในการซื้อทรัพย์คืนเป็นรายแรกในระยะเวลา 3-5 ปี นับจากวันรับโอนทรัพย์ โดยธนาคารไม่สามารถขายทรัพย์ให้กับลูกค้ารายอื่นได้ เว้นแต่ได้รับแจ้งว่าจะไม่ใช้สิทธิซื้อทรัพย์คืนเป็นหนังสือจากลูกค้า

มูลค่าการตีโอนทรัพย์ของธนาคารคิดอย่างไร

ตามการพิจารณาของธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับทรัพย์และ ภาระหนี้ โดยจะต้องไม่เกินกว่าเงินต้นในบัญชีสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีกับธนาคาร

ราคาการซื้อทรัพย์คืน ธนาคารมีวิธีคิดอย่างไร

ต้นทุนรับโอน +ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์ที่ไว้กับธนาคาร โดยคิด 1% ของราคาที่รับโอน + ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ตามจริงตามระยะเวลาในการซื้อคืนไม่เกิน 3-5 ปี – ค่าเช่าที่ลูกหนี้จ่ายให้กับธนาคารตลอดสัญญา

ลูกค้าขอเข้าร่วมโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing) กับธนาคารกสิกรไทยแล้ว สามารถเข้าร่วมกับธนาคารอื่นได้อีกหรือไม่

ลูกค้าสามารถเข้าร่วมกับธนาคารอื่นได้

หลักประกันจะตีโอน ต้องเป็นชื่อเดียวกับผู้กู้หรือไม่

ไม่จำเป็น แต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันธนาคาร ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564

ลูกค้าสามารถขอซื้อทรัพย์คืนโดยการขอสินเชื่อ ได้หรือไม่

สามารถทำได้ ลูกค้าสามารถซื้อทรัพย์เดิมด้วยเงินสด หรือ จะขอสินเชื่อกับธนาคารได้


​​


เอสเอ็มอี สินเชื่อ