ห้างหุ้นส่วนคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ห้างหุ้นส่วนคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ห้างหุ้นส่วนคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท สามารถจดคนเดียวได้หรือไม่

สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลางหรือขนาดใหญ่ ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะจัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน หรือในรูปแบบบริษัทดี ซึ่งแต่ละรูปแบบต่างมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับห้างหุ้นส่วน ซึ่งเป็นรูปแบบองค์กรธุรกิจแบบหนึ่ง ที่หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้างแล้ว ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้างและเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของเราหรือไม่

ห้างหุ้นส่วนคืออะไร

ห้างหุ้นส่วนคืออะไร

ห้างหุ้นส่วน คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำการตกลงกันเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินงานนั้น โดยผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถจัดสรรและตกลงกันตั้งแต่ต้นว่าจะลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือสิ่งอื่นก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน และต้องคำนวณหุ้นที่เป็นสินทรัพย์และแรงงานให้เป็นจำนวนเงิน

ห้างหุ้นส่วนแบ่งเป็นกี่ประเภท

ห้างหุ้นส่วนแบ่งเป็นกี่ประเภท

ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งที่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีอยู่ทั้งหมด 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ห้างหุ้นส่วนสามัญคือ ห้างหุ้นส่วนประเภท “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายถึง หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด ไม่ว่าสัดส่วนหุ้นที่ลงไปนั้นจะมากหรือน้อยเท่าใด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะทำการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่ก็ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ แล้วแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการนั้น โดยต้องมีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย สามารถแบ่งลักษณะของผู้ถือหุ้นเป็น 2 รูปแบบคือ

  1. หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง หุ้นส่วนรับผิดจำกัดตามเงินลงทุนที่ได้ลงหุ้นไปเท่านั้น หุ้นส่วนประเภทนี้ มีสิทธิ์ในการส่งคำถาม ออกความเห็น หรือเป็นที่ปรึกษาของกิจการได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าบริหารจัดการหรือตัดสินใจใดๆ และการลงหุ้นจะลงเป็นแรงงานไม่ได้
  2. หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด คือ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่รับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน อาจมากกว่าสัดส่วนเงินลงทุนก็ได้ หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์เข้าจัดการงานและตัดสินใจในกิจการของห้างหุ้นส่วนได้อย่างเต็มที่ โดยในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องมีหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ห้างหุ้นส่วนสามารถจดคนเดียวได้หรือไม่

ห้างหุ้นส่วนสามารถจดคนเดียวได้หรือไม่

แม้ว่าการทำธุรกิจแบบจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนคนเดียวจะมีข้อดีในหลายด้าน เช่น สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้เพียงคนเดียว ไม่จำเป็นต้องรอความเห็นจากผู้ถือหุ้นรายอื่น ทำให้สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้จากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้ธุรกิจเกิดความเสียหาย แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องรับผิดชอบในการลงเงินทุนแต่เพียงผู้เดียว หากเงินทุนเริ่มต้นไม่เพียงพอ หรือ ต้องการขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้นในอนาคต อาจต้องไปขอสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจจากทางธนาคาร ทำให้เกิดเป็นหนี้สินขึ้นมาได้ และเมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น การได้รับคำแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ยังส่งผลดีต่อธุรกิจมากกว่าการดำเนินการเพียงคนเดียวโดยไม่มีที่ปรึกษา

นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ต้องเลิกกิจการ เมื่อต้องชำระบัญชี ผู้เป็นเจ้าของต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาแต่เพียงผู้เดียวอีกด้วย แม้การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนคนเดียวจะมีข้อดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกมาก ดังนั้น ในปัจจุบันนี้การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนโดยมีหุ้นส่วนเพียงคนเดียว จึงยังคงไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย

ห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่อะไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่อะไรบ้าง

เมื่อมีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ต้องมีการจัดทำบัญชีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบัญชี ปี 2543 ซึ่งระบุว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจ โดยมีรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติดังนี้

จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้าและบัญชีประเภทอื่นๆ

ต้องมีการจัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้าและบัญชีประเภทอื่นๆ โดยให้เริ่มทำนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการตามนี้ จะมีความผิดโดยปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง ทั้งห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ

มีผู้ทำบัญชีในการจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติในการจัดทำบัญชีการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาบัญชีหรือเทียบเท่า ยกเว้น กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์หรือรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถใช้ผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่ได้รับการรับรอง ซึ่งห้างหุ้นส่วนต้องควบคุมดูแลให้การทำบัญชีตรงต่อความเป็นจริงและมีมาตรฐาน ห้างหุ้นส่วนที่ไม่มีผู้จัดทำบัญชีตามที่กำหนดนี้จะมีความผิดโดยปรับไม่เกิน 10,000 บาททั้งห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ

ส่งมอบเอกสารที่ใช้ลงบันทึกบัญชี

ต้องมีการส่งมอบเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำบัญชี เช่น หนังสือ เอกสาร บันทึก ให้แก่ผู้ทำบัญชี เพื่อให้ผู้จัดทำบัญชีสามารถแสดงผลการดำเนินการ ฐานะทางการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี หากไม่ดำเนินการตามนี้ ห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการจะโดนเรียกปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท

ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน

ต้องทำการปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือนนับจากวันเริ่มทำบัญชี และปิดบัญชีทุก 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ปิดบัญชีครั้งก่อนหน้านี้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนรอบการปีบัญชี จากสารวัตรบัญชีหรือสารวัตรใหญ่บัญชี อาจปิดก่อนรอบ 12 เดือนก็ได้ หากไม่ดำเนินการดังกล่าวนี้ห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการจะโดนเรียกปรับเงิน ไม่เกิน 10,000 บาท

K BIZ จ่ายเงินเดือนเป็นกลุ่มง่ายจบในครั้งเดียว

จัดทำงบการเงิน

ห้างหุ้นส่วนต้องดำเนินการจัดทำงบการเงินได้แก่ งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน และยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องถิ่น ภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี หากไม่ปฏิบัติตาม ห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการจะโดนเรียกปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงิน

ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและแสดงความเห็นในงบการเงิน ยกเว้นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีทรัพย์สินและรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินก็ได้ เมื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินแล้ว ให้นำส่งงบการเงินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี หากไม่ดำเนินการตามนี้ ห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการจะโดนเรียกปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท

เก็บรักษาเอกสารที่ลงบัญชีไว้ที่สำนักงานใหญ่

ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานหลักหรือเป็นสถานที่การผลิตหรือเก็บสินค้า ยกเว้นจะได้รับการอนุญาตจากสารวัตรบัญชีหรือสารวัตรใหญ่บัญชีให้เก็บไว้ยังสถานที่อื่นได้ โดยต้องเก็บเอกสารไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ปิดบัญชี หากเกิดการสูญหายต้องรีบแจ้งสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าสูญหาย หากไม่ดำเนินการดังกล่าวนี้ ห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนผู้จัดการจะโดนเรียกปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

หากต้องการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน สามารถยื่นเรื่องขอจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ด้วยตนเอง หรือยื่นเอกสารผ่านทางระบบออนไลน์ก็ได้ โดยจะต้องจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนให้ครบถ้วนดังนี้ เตรียมชื่อจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน โดยต้องตรวจสอบว่าชื่อนี้ไม่ซ้ำกับที่อื่น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจการ สถานที่ตั้งของกิจการ รายละเอียดของผู้ถือหุ้นทุกคน สิ่งที่นำมาลงเป็นหุ้นโดยต้องระบุด้วยว่ามีมูลค่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด การแบ่งส่วนผลกำไร การแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นต้น

โดยเมื่อจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแล้ว ทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และได้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ข้อพิจารณาในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

ก่อนที่จะตัดสินใจจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบของห้างหุ้นส่วน มีข้อพิจารณาในการจัดตั้ง ดังนี้

  • ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จำเป็นต้องยืนเอกสารในการจดทะเบียนกับพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ไม่มีการกำหนดการแบ่งปันผลกำไรเหมือนบริษัทจำกัด สามารถแบ่งปันผลกำไรได้ตามอิสระแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างหุ้นส่วน
  • เจ้าของกิจการบริหารจัดการห้างหุ้นส่วนได้ด้วยตนเอง

สำหรับใครที่กำลังทำเริ่มต้นธุรกิจ ต้องการขยายความเติบโตของธุรกิจ เสริมสร้างความมั่นคงและสร้างความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และมีความสนใจในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน โดยจะเลือกการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนรูปแบบใดนั้น ควรศึกษารายละเอียดของห้างหุ้นส่วนแต่ละประเภทให้ครบถ้วน และพิจารณาถึงความเหมาะสมกับประเภทของธุรกิจนั้นๆ เสียก่อน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและคล่องตัวมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ที่ต้องการผู้ช่วยทางด้านการเงินที่ไว้ใจได้ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านการเงินมาอย่างยาวนาน เพื่อช่วยเสริมสร้างความคล่องตัว มองหาโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจ สามารถเลือกใช้บริการของ K BIZ ให้ช่วยดูแลได้ เพราะ K BIZ ทำให้เรื่องการเงินกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ด้วยบริการที่สามารถจัดการการเงินของธุรกิจคุณได้อย่างมืออาชีพ

สามารถดูรายละเอียดและวิธีการสมัครได้เลยที่ วิธีสมัคร K BIZ

สนใจบทความที่เกี่ยวข้อง

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top