3 ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง ปี 2566 3 ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง ปี 2566

3 ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง ปี 2566 รับมืออย่างไรดี

สำหรับคนที่ต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ หรือแตกไลน์ขยายธุรกิจใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำธุรกิจอะไรดี หรือ คนที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว จะปรับตัวอย่างไรกับธุรกิจเดิม วันนี้จะมีข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ก่อนอื่นขอสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ให้ทราบในเบื้องต้นก่อน เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน รวมถึง การคาดการณ์ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง สำหรับในปี 2566 นี้ด้วย

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ GDP ปี 2566 อยู่ที่ 3.2% มาจากความกังวลในเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยเศรษฐกิจสหรัฐๆ และยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะไม่เติบโต เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อไปแตะที่ระดับร้อยละ 5.0 ในไตรมาสแรกของปี 2566 และยังมีผลกระทบจากวิกฤตพลังงานในยุโรปด้วย ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

ในส่วนของแนวโน้มธุรกิจไทยในปี 2566 ยังต้องเผชิญหลายโจทย์เข้ามารุมเร้า โดยในฝั่งต้นทุน สิ่งที่ต้องเผชิญจะมีต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน และดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นขณะที่
ฝั่งรายได้ จะถูกกระทบมาจากเศรษฐกิจแกนหลักของโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยและเงินบาทแข็งค่า (สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่า ผู้ประกอบการควรซื้อประกันความเสี่ยงของค่าเงินเอาไว้ (Forward Contract) เพื่อจะได้ล็อคอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ รู้รายได้ที่แน่นอน ไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าค่าเงินจะแข็งหรืออ่อน) จนทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยลดลง ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแต่ละประเภทแตกต่างกัน จึงทำให้การฟื้นตัวของรายได้ธุรกิจในปี 2566 มีลักษณะเป็น K-Shaped คือ บางธุรกิจฟื้นตัวกลับมาสู่สภาพเดิมอย่างเต็มที่ ส่วนบางกลุ่มไม่ฟื้นตัวและยักตกต่ำลงต่อไปอีก ดังนั้น จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง ในปี 2566 มีธุรกิจอะไรบ้าง

3 ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง ปี 2566
3 ธุรกิจดาวรุ่ง และ ธุรกิจดาวร่วง ปี 2566

ธุรกิจดาวรุ่ง 2566 ได้แก่

  • ธุรกิจท่องเที่ยว ความน่าสนใจอยู่ที่การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกของไทย โดยเฉพาะการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก สำหรับการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของไทยมาโดยตลอด สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2565 อยู่ที่ 10 ล้านคน ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมาท่องเที่ยวไทยในปี 2566 ประมาณ 25.5 ล้านคน โดยคาดว่าอัตราการเข้าพักแรมเฉลี่ยปี 2566 จะมีการขยับเพิ่มขึ้นเป็น 52% - 60% ของจำนวนห้องพัก ส่วนรายได้จากร้านอาหารอาจจะเติบโตประมาณ 2.7% - 4.5% จากปีที่ผ่านมา
  • ธุรกิจบริการสุขภาพ ความน่าสนใจมาจากกระแสการใส่ใจสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ที่เน้นให้ความสำคัญในเชิงป้องกันมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ปัจจัยต่อมาจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และปัจจัยสุดท้ายมาจากการที่ไทยได้ชื่อว่าเป็น “ศูนย์บริการด้านสุขภาพ” (Medical Service Hub) คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลมาใช้บริการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์รายได้จากกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2566 จะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 6.5% จากปีที่ผ่านมา
  • ธุรกิจรักษ์โลก ความน่าสนใจของธุรกิจนี้มาจากกระแสรักษ์โลกในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐที่มุ่งเน้น “การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว” โดยการออกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ.2564 - 2569 สำหรับธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น รถยนต์พลักงานไฟฟ้า, พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าร์รูปท็อป), กิจการตรวจสอบและให้คำปรึกษาด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, พลาสติกรีไซเคิลหรือชีวภาพ, อุปกรณ์เครื่องใช้ประหยัดพลังงาน เป็นต้น ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่ายอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ล้วนจะเพิ่มจาก 12,000 คันในปี 2565 เป็น 20,000 - 25,000 คันในปี 2566

ธุรกิจดาวร่วง 2566 ได้แก่

การใช้บริการนายหน้าเถื่อนหรือนายหน้ามิจฉาชีพ นอกจากต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่หลายๆ คนไม่รู้หรือคิดไม่ถึง เช่น

  • ธุรกิจให้สินเชื่อปล่อยกู้ เป็นผลมาจากหนี้ภาคครัวเรือนที่สูง และหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่ทางการเน้นการปล่อยกู้อย่างรับผิดชอบ รวมทั้งทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบให้การกู้เงินของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางจะเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยากขึ้น
  • ธุรกิจขายที่อยู่อาศัย และรถยนต์ เป็นผลมาจากการเป็นสินค้าที่มีราคาขายต่อหน่วยที่มีมูลค่าสูง การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น อีกทั้ง หลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนน้อยลงและดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น อาจกระทบยอดขายบ้าน - รถโดยตรง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ยอดจองซื้อที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2566 อาจหดตัว 2.3% ถึงขยายตัว 3.4%
  • ธุรกิจส่งออกสินค้า เป็นผลมาจากสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ยกเว้นอาหาร จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลมาจากฐานการส่งออกที่สูง ซึ่งเกิดจากการเร่งคำสั่งซื้อเป็นจำนวนมากในปีที่ผ่านมา เช่น ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์มูลค่าการส่งออกในปี 2566 จะหดตัวลงจากปีที่ผ่านมา
การปรับตัวของธุรกิจ
การปรับตัวของธุรกิจ

หากทำธุรกิจเหล่านี้อยู่ จะต้องเตรียมตัวรับมือกับสภาวะการณ์เหล่านี้อย่างไร

จากที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2566 ดังนั้น ภาคธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับกับหลายวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่

  • เตรียมพร้อมรับหลายวิกฤต แม้สถานการณ์โควิดอาจจะไม่รุนแรงเท่าในอดีตที่ผ่านมา แต่สถานการณ์ข้างหน้ายังมีอีกหลายวิกฤตที่รออยู่ ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตที่เกิดจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์การเมืองโลก เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร กระทบ การหยุดชะงัก และทำให้ราคา/ต้นทุนจะไม่ปรับลงเร็ว อีกทั้งสถานการณ์มีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
  • พัฒนาทักษะด้านแรงงาน เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอนาคตข้างหน้าไทยจะเป็นสังคมสูงอายุเต็มรูปแบบและประชากรมีจำนวนลดลง หากแรงงานทำงานได้หลายทักษะและเป็นทักษะจำเป็นที่รับกับเทรนด์ธุรกิจในอนาคต จะช่วยให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นหลายวิกฤตที่จะถาโถมเข้ามาได้
  • เพิ่มช่องทางการขายที่หลากหลาย การเชื่อมโยงแพลตฟอร์มออนไลน์กับช่องทางหน้าร้าน (ออฟไลน์) ควบคู่กับการพัฒนาเว็บไซต์ของตนเอง เป็นการกระจายความเสี่ยงและไม่พึ่งพาช่องทางใดช่องทางหนึ่งมากเกินไป
  • บริหารสภาพคล่องทางการเงินให้ดี ห้ามนำเงินหมุนเวียนในธุรกิจไปใช้ผิดประเภท เช่น เอาไปซื้อของฟุ่มเฟือยประเภทต่างๆ หากมีวงเงินโอ.ดี.ให้ใช้หมุนเวียนในธุรกิจเท่านั้น จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น ไม่ควรสต็อกสินค้ามากเกินความจำเป็น อย่าเห็นแก่ส่วนลด เพราะจะทำให้เงินไปจมอยู่ในสต็อกจำนวนมาก ที่สำคัญธุรกิจต้องมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่า 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 1 แสนบาท ควรมีเงินสำรองอย่างน้อย 3 แสนบาท ถึง 6 แสนบาท
  • ทางเลือกในการลดต้นทุนด้านพลังงาน จากสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันทำให้หลายๆ ธุรกิจหันมาใช้พลังงาน ทดแทนกันเป็นจำนวนมาก โดยการใช้พื้นที่บนหลังคาให้เป็นประโยชน์โดยการติดโซล่าร์รูฟท๊อป ซึ่งจะมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 7-10 ปีขึ้นกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละธุรกิจ

หากทำธุรกิจเหล่านี้อยู่ จะขอสินเชื่อจากธนาคารได้หรือไม่

ผ่านมามักมีคำถามว่าหากอยู่ในธุรกิจที่เป็นขาขึ้น ธนาคารจะให้สินเชื่อใช่หรือไม่ หรือถ้าหากอยู่ในธุรกิจที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง ธนาคารจะปฏิเสธการให้สินเชื่อใช่หรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงธนาคารจะให้สินเชื่อโดยดูจากผลประกอบการจากตัวธุรกิจเป็นหลัก หากอยู่ในธุรกิจที่เป็นขาขึ้น (ธุรกิจดาวรุ่ง) แต่มีผลประกอบการไม่ดี ธนาคารก็ไม่สามารถให้สินเชื่อได้ ในทางกลับกันหากอยู่ในธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง (ธุรกิจดาวร่วง) แต่มีผลประกอบการที่ดี ธนาคารก็สามารถให้สินเชื่อได้ ดังนั้น ธุรกิจต้องพยายามรักษาผลประกอบการของตัวเองให้ดี

สำหรับสินเชื่อที่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการประหยัดพลังงาน ได้แก่ สินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงานหรือสินเชื่อโซลาร์รูฟท๊อป ส่วนสินเชื่อที่เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ SME เลือกได้ หรือสินเชื่อเงินด่วนธุรกิจ แต่หากทำธุรกิจมาเป็นระยะเวลานานแล้ว (เกิน 3 ปี) สามารถขอสินเชื่อได้หลายประเภททั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ LINE @kbanklive หรือ K-Contact Center 02-8888888 กด 8 กด 1 กด 4 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อผ่านสาขาของธนาคารที่สะดวกได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจบทความที่ช่วยให้คุณรู้จริงเรื่องกู้

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top