16/3/2563

ตลาดค้าปลีกญี่ปุ่น โอกาสทำเงิน SME ไทย

ภาคการค้าปลีกของญี่ปุ่นในปี 2562 ค่อนข้างอ่อนไหวอันมีผลสืบเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินเยนไม่เอื้อต่อการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภค รวมทั้งแรงกดดันจากภายในประเทศในการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 8% เป็น 10% เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2562 ยิ่งทำให้การจับจ่ายของชาวญี่ปุ่นอ่อนแรงลงอีก อย่างไรก็ดี การจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกช่วงวันที่ 24 กรกฎาคม-9 สิงหาคม 2563 อาจช่วยกระตุ้นการบริโภคสินค้าทั้งจากในประเทศและต่างประเทศในปีถัดไป โดยผลักดันให้ยอดค้าปลีกแตะ 4 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการใช้จ่ายที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ก็น่าจะเพิ่มสูงแตะ 40 ล้านคน ในปี 2563 (จาก 31.19 ล้านคน ในปี 2561)

ตลาดค้าปลีกของญี่ปุ่นนับว่าน่าสนใจอยู่แล้ว โดยมีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและสหรัฐฯ อีกทั้งญี่ปุ่นยังคงพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหารจากต่างประเทศในสัดส่วนถึง 30% ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมด ในจำนวนดังกล่าวแม้มีสินค้าไทยเพียง 4.7% อาทิ ไก่แปรรูป ปลาแปรรูป และผลิตภัณฑ์ส่วนบคคุล แต่สินค้าไทยยังพอมีโอกาสต่อยอดขยายตลาดได้หากจับตลาดแบบเฉพาะกลุ่มซึ่ง SME ไทยไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ ในปัจจุบันสินค้าไทยเหล่านี้ทำตลาดเข้าสู่ผู้บริโภคญี่ปุ่นผ่านร้านสะดวกซื้อที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศโดยมีจำนวนถึง 52,417 แห่ง (Convenience stores) และร้านค้าปลีกอื่นๆ ที่กระจายตัวตามเมืองใหญ่ อาทิ ศูนย์การค้า 3,124 แห่ง (Shopping mall) และห้างสรรพสินค้า 240 แห่ง (Department stores) ทั้งนี้ AEON เป็นค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นรายใหญ่ที่มีเครือข่ายครอบคลุมและเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการนำสินค้าต่างชาติไปจำหน่ายอีกช่องที่น่าสนใจสำหรับ SME ไทยในยุคดิจิทัลคงต้องให้ความสำคัญกับ E-commerce ซึ่งที่ญี่ปุ่นก็มีการเติบโตรวดเร็วเช่นเดียวกับประเทศอื่น ทั้งยังมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากประชากรเมืองที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 82.1% โดยในจำนวนดังกล่าวกว่า 70% สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และมีประมาณ 10% เป็นการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ (Cross-border e-commerce) ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากพัฒนาการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย ยิ่งจูงใจการบริโภคของชาวญี่ปุ่น ทั้งนี้ ช่องทางหลักของ E-commerce ของญี่ปุ่นเป็นรูปแบบ B2C (Business-to-Customer) มีสัดส่วนที่สูงที่สุด 50% มีสินค้าหลากหลายและมีการบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาด้วย B2B (Business-to-Business) มีสัดส่วน 35% และ C2C (Customer-to-Customer) มีขนาดตลาดน้อยที่สุดด้วยมูลค่าที่ซื้อขายเป็นรายย่อย ตามลำดับ โดยสินค้าที่มียอดการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่เติบโตรวดเร็วในญี่ปุ่น นำโดยเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเล่น ของสะสม ขณะที่เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ยังเป็นที่ต้องการอีกมาก

นอกจากนี้ ภาพตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของญี่ปุ่นได้เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยประชากรสูงวัยอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปี มีจำนวน 34% ของประชากรทั้งหมด (43 ล้านคน) ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกจนกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศที่มีผลต่อการบริโภคในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี สิ่งนี้กลับไม่เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจ E-commerce ในญี่ปุ่น เพราะประชากรเหล่านี้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ โดยชาวญี่ปุ่นที่อายุ 55 ปีขึ้นไปเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ 95% รวมทั้งประชากรอายุตั้งแต่ 16-54 ปี ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในสัดส่วนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 95% ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น สินค้าอุปโภคบริโภคที่ SME ไทยที่จะเข้าทำตลาด จำเป็นต้องมีจุดเด่น นำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ สินค้าไลฟ์สไตล์ สามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยในการใช้งาน อาทิ อาหารผู้สูงอายุ อาหารออร์แกนิค อาหารสุขภาพ อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องใช้ในบ้าน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล (สปา/อโรม่า เครื่องสำอางลบเลือนริ้วรอย) ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีโอกาสขยายตลาดได้ทั้งการส่งออกสินค้าปกติ โดยการหาตัวแทนนำเข้าในฝั่งญี่ปุ่นเพื่อให้ช่วยนำสินค้าไทยไปวางจำหน่ายในเครือข่ายร้านค้าปลีกของญี่ปุ่น และการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการจัดตั้งร้านผ่าน E-marketplace รายใหญ่อย่าง Rakuten และ Amazon จะช่วยเพิ่มโอกาสจำหน่ายสินค้าไทยซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจซื้อสินค้าอยู่แล้วโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าแฟชั่น เครื่องใช้ส่วนบุคคล นอกจากนี้ หน้าเว็บไซต์ควรต้องเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อจูงใจผู้บริโภค ขณะที่ช่องทางการชำระเงินก็ค่อนข้างสะดวกต่อการทำธุรกิจโดยนิยมชำระเงินผ่านบัตรเครติด 76% ตามมาด้วยการชำระผ่านร้านสะดวกซื้อ 10% ผ่านการโอนเงินธนาคาร 5% ชำระสินค้าปลายทาง (Cash On Delivery) 5% และอื่นๆ 6% ตามลำดับอย่างไรก็ดี การเข้าทำตลาด E-marketplace ที่ญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งต้องเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นมีพฤติกรรมการบริโภคที่ค่อนข้างเฉพาะตัว ละเอียดอ่อนแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ประกอบกับสินค้าไทยต้องเผชิญการแข่งขันสูงกับสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นและต่างชาติที่ชาวญี่ปุ่นให้การยอมรับและเชื่อถืออย่างมากอยู่แล้ว ซึ่งการจะทำให้สินค้าแบรนด์ไทยเป็นที่รู้จัก หรือการจะทำให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์เพื่อเข้ามาเปิดดูหน้าร้านก็จำเป็นต้องมีคู่ดังนั้น สินค้าอุปโภคบริโภคที่ SME ไทยที่จะเข้าทำตลาด จำเป็นต้องมีจุดเด่น นำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ สินค้าไลฟ์สไตล์ สามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยในการใช้งาน อาทิ อาหารผู้สูงอายุ อาหารออร์แกนิค อาหารสุขภาพ อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องใช้ในบ้าน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล (สปา/อโรม่า เครื่องสำอางลบเลือนริ้วรอย) ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีโอกาสขยายตลาดได้ทั้งการส่งออกสินค้าปกติ โดยการหาตัวแทนนำเข้าในฝั่งญี่ปุ่นเพื่อให้ช่วยนำสินค้าไทยไปวางจำหน่ายในเครือข่ายร้านค้าปลีกของญี่ปุ่น และการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการจัดตั้งร้านผ่าน E-marketplace รายใหญ่อย่าง Rakuten และ Amazon จะช่วยเพิ่มโอกาสจำหน่ายสินค้าไทยซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจซื้อสินค้าอยู่แล้วโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าแฟชั่น เครื่องใช้ส่วนบุคคล นอกจากนี้ หน้าเว็บไซต์ควรต้องเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อจูงใจผู้บริโภค ขณะที่ช่องทางการชำระเงินก็ค่อนข้างสะดวกต่อการทำธุรกิจโดยนิยมชำระเงินผ่านบัตรเครติด 76% ตามมาด้วยการชำระผ่านร้านสะดวกซื้อ 10% ผ่านการโอนเงินธนาคาร 5% ชำระสินค้าปลายทาง (Cash On Delivery) 5% และอื่นๆ 6% ตามลำดับอย่างไรก็ดี การเข้าทำตลาด E-marketplace ที่ญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งต้องเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นมีพฤติกรรมการบริโภคที่ค่อนข้างเฉพาะตัว ละเอียดอ่อนแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ประกอบกับสินค้าไทยต้องเผชิญการแข่งขันสูงกับสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นและต่างชาติที่ชาวญี่ปุ่นให้การยอมรับและเชื่อถืออย่างมากอยู่แล้ว ซึ่งการจะทำให้สินค้าแบรนด์ไทยเป็นที่รู้จัก หรือการจะทำให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์เพื่อเข้ามาเปิดดูหน้าร้านก็จำเป็นต้องมีคู่