หลังคาโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีสีเขียว ติดตั้งอย่างไรให้คุ้มทุน หลังคาโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีสีเขียว ติดตั้งอย่างไรให้คุ้มทุน

หลังคาโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีสีเขียว ติดตั้งอย่างไรให้คุ้มทุน

ในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเทคโนโลยีรักษ์โลก เหมาะที่จะติดตั้งให้แก่บ้านของคุณ หมดห่วงเรื่องค่าไฟที่สูง เพราะหลังคาโซลาร์เซลล์นั้นสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่การจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อปนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะในการเลือกติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ ควรเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ มีความคุ้มค่า เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้มากขึ้น และต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญอีกด้วย จึงต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนติดตั้ง

ในบทความนี้จะพาไปสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับหลังคาโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่หลังคาโซลาร์เซลล์คืออะไร ทำไมถึงควรติดตั้ง แล้วควรติดตั้งหรือใช้งานอย่างไรให้ประหยัดคุ้มทุน งบประมาณติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมหลักการในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟ

บ้านที่มีหลังคาโซลาร์เซลล์ ประหยัดค่าไฟ และดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

บ้านที่มีหลังคาโซลาร์เซลล์ ประหยัดค่าไฟ และดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ในยุคสมัยนี้ บ้านที่มีหลังคาโซลาร์เซลล์ จะช่วยประหยัดค่าไฟได้เป็นอย่างมาก ด้วยการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้เอง ซึ่งสามารถใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าจากที่อื่นได้ แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหิน ฟอสซิล ที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาโลกร้อนนั่นเอง

ดังนั้น การเลือกบ้านในโครงการที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบ้านย่อมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีและสะดวกกว่า ซึ่งทางธนาคารกสิกรไทย มีสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ที่จะช่วยสนับสนุนในเรื่องของเงินกู้เพื่อโครงการการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้พลังงานสะอาด และประหยัดต้นทุนพลังงานไฟฟ้าของธุรกิจ และเป็นโครงการที่สามารถรับประกันได้ว่าระบบที่ติดตั้งได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพตามคาดหมาย

หลังคาโซลาร์เซลล์ คืออะไร

หลังคาโซลาร์เซลล์ คืออะไร

หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อป คือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่ได้รับมาจากแสงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นก็ส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ แล้วนำพลังงานมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งสามารถช่วยประหยัดค่าไฟ และถือว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ ดังต่อไปนี้

ระบบออนกริด (On-Grid System)

เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์จะต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นจะเปลี่ยนไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับเพื่อใช้งานในบ้าน โดยระบบนี้จะเชื่อมกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้ง เพราะจะสามารถขายคืนการไฟฟ้าได้ แต่ต้องได้รับการอนุญาตก่อนถึงจะติดตั้งได้

ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

ระบบนี้จะคล้ายกับระบบออนกริดเลย แต่ข้อแตกต่างจะอยู่ที่ระบบนี้จะมีแบตเตอรี่สำรองพลังงานไว้ สำหรับใช้งานเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และในกรณีที่ผลิตไฟฟ้ามากพอต่อการใช้งานแล้ว ระบบจะนำพลังงานไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อเก็บไว้ใช้งานในเวลาอื่นๆ เหมาะกับบ้านที่มีไฟตกบ่อยๆ เพราะจะสามารถดึงพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานได้ในยามจำเป็น

ระบบไฮบริด (Hybrid System)

ระบบไฮบริด การทำงานจะเหมือนกับระบบออนกริด และออฟกริด คือสามารถรับพลังงานมาอินเวอร์เตอร์ เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับมาใช้งาน รวมถึงการนำกระแสไฟฟ้าเข้าชาร์จในแบตเตอรี่ไว้ใช้เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ แต่ข้อแตกต่างจะอยู่ตรงที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง การติดตั้งจึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน ระบบนี้จะเหมาะกับบ้านที่กระแสไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง หรือพื้นที่ห่างไกล

ความแตกต่างของหลังคาโซลาร์เซลล์แต่ละประเภท

ความแตกต่างของหลังคาโซลาร์เซลล์แต่ละประเภท

นอกจากนี้ หลังคาโซลาร์เซลล์ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไป

1. โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้ จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด ทำจากซิลิคอน และเป็นทรงกระบอกบริสุทธิ์

โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อดี ดังนี้

  • คุณภาพสูง
  • ผลิตไฟได้ดีแม้ว่าแสงจะมีน้อย
  • ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 15-20 เปอร์เซ็นต์
  • อายุการใช้งานนานถึง 25-40 ปี

โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อเสีย ดังนี้

  • หากมีคราบสกปรกบนแผงเป็นเวลานาน ระบบอินเวอร์เตอร์อาจไหม้ได้
  • ราคาสูง

2. โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟประเภทนี้ จะมีแผงสีเข้มออกไปทางน้ำเงิน เป็นสีเหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม ทำจากผลึกซิลิคอน

โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อดี ดังนี้

  • ราคาไม่แพง
  • สามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าแผงโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย

โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อเสีย ดังนี้

  • ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 13-16 เปอร์เซ็นต์
  • ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าโมโนคริสตัลไลน์
  • อายุใช้งานค่อนข้างสั้น เพียง 20-25 ปีเท่านั้น

3. ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

แผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้ จะมีแผงสีเข้ม มีสีดำ ฟิล์มจะมีลักษณะบางกว่าชนิดอื่น

โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อดี ดังนี้

  • ราคาถูก
  • น้ำหนักเบา
  • โค้งงอได้ดี
  • ทนต่ออากาศร้อนได้ดี

โดยโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีข้อเสีย ดังนี้

  • ผลิตไฟฟ้าได้น้อย ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 7-13 เปอร์เซ็นต์
  • อายุการใช้งานสั้น
  • ไม่เหมาะติดตั้งในภาคอุตสาหกรรม และบ้านเรือน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน

ในการจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น จะต้องรู้ก่อนว่ามีอุปกรณ์ที่สำคัญอะไรบ้าง ดังนี้

1. แผงโซลาร์เซลล์

ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้ขนาดกำลังวัตต์ของแต่ละชนิดของแผงโซลาร์เซลล์นั้นต่างกัน ควรเลือกแผงโซลาร์เซลล์ที่มีกำลังไฟมากกว่าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ แผงโซลาร์เซลล์จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ โมโนโซลาร์เซลล์ โพลีโซลาร์เซลล์ และอะมอร์ฟัสโซลาร์เซลล์ ดังนั้น ก่อนเลือกอาจจะต้องดูปัจจัยของแผงแต่ละชนิดก่อน

2. เครื่องแปลงไฟ

อุปกรณ์ที่จะช่วยเปลี่ยนกระแสไฟฟ้า ซึ่งควรเลือกกำลังวัตต์ให้มากกว่ากำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องแปลงไฟมีอยู่ 2 แบบ คือ Off grid inventer และ On grid inventer นั่นเอง

3. แบตเตอรี่

เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่มีหลายแบบ ซึ่งแบตเตอรี่แบบจ่ายประจุสูง (Deep discharge battery) จะเหมาะกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติในการจ่ายพลังงานในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่อง โดยที่ไม่เกิดความเสียหายแก่ตัวแบตเตอรี่

4. เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คุมแรงดัน และกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องควบคุมชาร์จไฟที่ดีจะต้องสามารถรีดพลังงานจากแสงแดดไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ให้ได้มากที่สุด

5. อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า กรณีที่อาจเกิดไฟช็อต ไฟดูด ไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยลดอันตรายได้ เช่น เมนสวิตช์ เบรกเกอร์ ฟิวส์เครื่องตัดไฟรั่ว หรือสายดิน เป็นต้น

หลักในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์

หลักในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์

หลังจากที่ได้ทราบถึงอุปกรณ์สำคัญต่างๆ กันไปแล้ว ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น ควรศึกษาถึงหลักในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ให้ดีก่อน โดยมีหลักการสำคัญดังนี้

1. ตรวจสอบความพร้อมของสถานที่

สำรวจบ้านของคุณก่อนว่าสามารถทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ โดยอาจคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องความแข็งแรงของหลังคาบ้าน หรือรูปทรงของหลังคาบ้าน เป็นต้น

2. ตรวจสอบกำลังไฟของบ้าน

การตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้าน จะทำให้รู้ว่าในแต่ละเดือนจะใช้ไฟไปเท่าไร ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าควรเลือกติดตั้งโซลาร์รูฟขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสมต่อตัวบ้าน

3. เลือกทิศทางของแสงแดด

หลังคาโซลาร์เซลล์เป็นเครื่องที่ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ในการดึงพลังงานมาใช้ หากไม่มีแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น ควรเลือกทิศที่แดดส่องถึง โดยทิศที่เหมาะสมที่สุด มีดังนี้

  • ทิศใต้ เป็นทิศที่จะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน การติดตั้งสามารถเอียงแผงเล็กน้อยประมาณ 13.5 องศา เพื่อให้แผงได้รับแสงได้อย่างเต็มที่
  • ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จะได้รับแสงแดดปานกลาง และรับแสงได้แค่ในช่วงเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น และจะได้รับแสงน้อยกว่าถึง 2-16 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับทิศใต้
  • ทิศเหนือ เป็นทิศที่ได้รับแสงน้อยที่สุด

ถึงแม้จะเลือกทิศที่แดดส่องแล้ว แต่ที่ตรงนั้นก็ต้องไม่มีวัตถุอะไรมาบดบังแสงด้วย และดูองศาความลาดชันให้อยู่ที่ประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด

4. เลือกตำแหน่งของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

ตำแหน่งของหลังคาโซลาร์เซลล์ควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงสร้างของหลังคาก่อนว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ และควรจำกัดพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ที่จะติดตั้งด้วย

5. เลือกผู้ให้บริการในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

ปัจจุบันเมื่อผู้คนหันมาสนใจการใช้แผงโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น ผู้ให้บริการก็มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความน่าเชื่อถือ เพราะการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นเป็นการลงทุนระยะยาว หากเลือกผู้ติดตั้งไม่มีคุณภาพ อาจเกิดปัญหาตามมาได้

6. ทำเรื่องขอติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 1-2 เดือน และในรายละเอียดการขออนุญาตอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละวัตถุประสงค์ในการติดตั้ง แต่ถ้าหากเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับบุคคล จะมีขั้นตอนดังนี้

  • ให้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตรวจสอบสถานที่ วัดขนาด และทิศทางของการติดตั้ง
  • เตรียมรูปถ่ายแสดงการติดตั้งอุปกรณ์
  • เตรียมสำเนาหลักฐานยื่นแจ้งราชการส่วนท้องถิ่น โดยสามารถทำเรื่องขอได้ที่สำนักงานเขต
  • ในกรณีต่อเติม เปลี่ยนแปลงอาคารไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ต้องแจ้งให้ทางวิศวกรโยธาเข้ามาตรวจสอบ และเซ็นรับรอง เพื่อนำเอกสารชุดนี้ไปยื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานเขต
  • แจ้งทางโยธาพร้อมวิศวกรโยธาที่มีใบ กว. (ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร) เข้าตรวจความพร้อมในการติดตั้ง เพื่อรับรองว่าสถานที่อยู่อาศัยมีความพร้อม
  • เตรียมเอกสาร Single Line Diagram ที่ลงนามด้วยวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบ กว. รับรอง
  • เตรียมเอกสารรายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์
  • เตรียมรายงานตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบ
  • นำเอกสารเข้ายื่นที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์อย่างไรให้คุ้มค่า ประหยัดไฟฟ้าได้จริง

ติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์อย่างไรให้คุ้มค่า ประหยัดไฟฟ้าได้จริง

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน สามารถลงทุนให้คุ้มค่า และประหยัดไฟได้ในระยะยาว โดยมีหลักการหลักๆ คือการคำนวณค่าไฟ หรือคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อน ซึ่งต้องทำตั้งแต่ก่อนติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์

โดยจะมีสูตรสำหรับการคำนวณค่าไฟคร่าวๆ ดังนี้

ตรวจสอบปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละเดือนว่าใช้เดือนละกี่หน่วย (KW-h)

จดเลขมิเตอร์ 2 ครั้งใน 1 วัน แบ่งเป็นช่วงเช้า และเย็นทั้งหมด 4 วัน แล้วนำมาลบกันจะได้ค่าคำนวณหน่วยที่ใช้ในเวลากลางวัน จากนั้นนำหน่วยทั้งหมดที่ได้มาหาร 4 เช่น 50+40+50+65 = 205/4 เฉลี่ยแล้วไฟฟ้าที่ใช้ในตอนกลางวันจะอยู่ที่ประมาณ 51.25 หน่วย

ใน 1 วันจะมีแสงอาทิตย์ประมาณ 5 ชั่วโมง ให้นำค่าเฉลี่ยไฟฟ้าที่ใช้ในตอนกลางวันมาหาร 5 จะได้ค่ากิโลวัตต์ที่เหมาะสมในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยจำนวนแผงที่ติดตั้งจะต้องดูตามปริมาณวัตต์ต่อ 1 แผง ค่าเฉลี่ยใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันอยู่ที่ 51.25 หน่วย นำมาหาร 5 ได้เท่ากับ 10.25 ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณ 10 กิโลวัตต์จึงจะเหมาะสมคุ้มทุนที่สุด

งบประมาณในการติดตั้งโซลาร์เซลล์

งบประมาณในการติดตั้งโซลาร์เซลล์

งบประมาณในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัยที่ต่างกันออกไป ปัจจุบันราคาในการติดตั้งโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ ความยากง่ายในการติดตั้ง และจำนวนแผ่นที่จะติดตั้งด้วย ซึ่งในแต่ละบริษัทที่ให้บริการจะกำหนดราคาที่ต่างกัน ควรเลือกอย่างน้อย 2-3 บริษัทแล้วนำมาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และการให้บริการต่างๆ ก่อนตัดสินใจ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ คุ้มค่าจริงหรือไม่?

เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟเดิมแล้ว การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์นั้นคุ้มค่ากว่ามาก เพราะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงเท่าตัว ซึ่งจะคืนทุนเร็วหรือช้าก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของโซลาร์เซลล์ และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านด้วย ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์สามารถประหยัดค่าไฟไปได้ราวๆ 500-1000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกประเภทอีกด้วย

บ้านแบบไหนที่เหมาะกับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

บ้านแบบไหนที่เหมาะกับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

หากต้องการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ สิ่งที่ควรคำนึงคือบ้านที่เหมาะในการติดตั้งว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะไม่ใช่ว่าทุกบ้านจะเหมาะแก่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ บางรูปแบบของบ้านอาจไม่เอื้อต่อประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ ซึ่งรูปแบบของบ้านที่เหมาะแก่การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ มีดังนี้

  • บ้านที่มีหลังคาเอียงไปทางทิศใต้ หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ 2 ทิศนี้ได้คุ้มค่ากว่าทิศอื่น
  • บ้านที่มีไฟตกบ่อย บางพื้นที่อาจมีกระแสไฟฟ้าที่ไม่เสถียร ชุมชนที่หนาแน่นก็อาจเกิดปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอได้บ่อยครั้ง การมีพลังงานสำรองไว้ใช้จะช่วยรับประกันความเสี่ยงในการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
  • บ้านที่ใช้ไฟในช่วงกลางวันมากเป็นพิเศษ บ้านที่มีพ่อแม่อยู่บ้าน หรือกลุ่มวัยเกษียณอายุที่อยู่บ้านในช่วงกลางวัน หรือกลุ่มคนที่ work from home จะเหมาะเป็นอย่างมาก เพราะหากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ระบบออนกริดเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้วใช้ได้เลย จึงควรเป็นบ้านที่มีค่าไฟอย่างน้อย 3,000 บาทขึ้นไป
  • บ้านที่มีพื้นที่สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เจ้าของบ้านควรทราบถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวม แล้วประเมินว่าควรติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมดกี่แผง และตรวจสอบพื้นที่ก่อนติดตั้ง
  • บ้านที่มีสวนกว้าง สวนสนามที่กว้างสายไฟอาจไปไม่ถึง โดยโซลาร์เซลล์ไม่ได้มีเพียงแผ่นสี่เหลี่ยมเพียงเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น ไฟตกแต่งสวนโซลาร์เซลล์ ที่สะดวกกับสวนกว้างๆ ไม่ต้องต่อสายไฟออกไกลถึงนอกบ้าน

หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อปเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้อย่างดี และยังช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย เพราะแผงโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาด เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ฟอสซิล ที่เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน การผลิตพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์นั้นจึงมีความคุ้มค่ากว่า แต่ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง โดยควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบพื้นที่สำหรับติดตั้ง และตรวจสอบประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะกับบ้านด้วย

หากใครที่ต้องการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์เพื่อประหยัดพลังงานและประหยัดค่าไฟ ทางธนาคารกสิกรไทยมี สินเชื่อบ้าน Green Zero
สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และรับสิทธิพิเศษจากพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการ ดูรายละเอียด

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Gott/JOMM YB.
  2. AP THAILAND.
  3. SCG.
  4. SCGBUILDINGMATERIALS.
  5. ฐานเศรษฐกิจ.
  6. BANGKOKAB.
  7. SOLAREDGE.

อ่านบทความสินเชื่อบ้านและเรื่องบ้านเพิ่มเติม

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top