สรุปการเสวนาใน หัวข้อ Bridging Pathway to Sustainable Economy ในเรื่องของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เกี่ยวกับแนวทางสำคัญที่จะสร้างโมเดลเศรษฐกิจยั่งยืน รวมถึงการวิเคราห์สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทย และบทบาทของแต่ะภาคส่วนในการสร้างโมเดลความยั่งยืนของแต่ละหน่วยงาน ไปจนถึงภาพความร่วมมือของแต่ละภาคในอนาคต โดย
ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช กล่าวว่า ภาครัฐจะต้องมีความเข้มแข็งก่อนที่จะดูแลในภาคส่วนอื่นๆ ต้องมีการเปลี่ยน Mindset เพิ่มการ Reskill & Upskill ต้องมีการนำ Global Agenda ทั้งเรื่อง Climate Change และ Biodiversity Loss มาเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ และปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ความยั่งยืนผ่านการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร
ในส่วน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก มีการวางตำแหน่งขององค์กรให้เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย อบก. จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน การประเมิน และรับรองกิจกรรมการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบต่าง ๆ และพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และช่วยลดการใช้กระดาษและพลังงาน โดยอบก. ได้มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองในปี 2565 จำนวน 500 ตัน และ ตั้งเป้าหมาย Carbon Neutrally ภายในปี 2050 และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ 10% ต่อปี ซึ่งจะเชื่อมโยงไปจนถึงการลดการใช้ทรัพยากรและลดต้นทุนในการบริหารจัดการ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับองค์การอื่น ๆ ภายในประเทศต่อไป
คุณทิเดช เอี่ยมสาย กล่าวว่า กฟผ. และกระทรวงพลังงานมีการทำแผนพลังงานแห่งชาติใหม่ที่เน้นให้มีการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) มากกว่า 50% และสนับสนุนด้านยานยนตร์พลังไฟฟ้า (Electric Vehicle) ให้ใช้ในประเทศมากกว่า 30% ภายในปี 2030 และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มากกว่า 30% นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานตามแนวทาง 4D 1E : Digitalization, Decentralization, Deregulation, Decabonization, Electrification โดยเน้นถึงความสมดุลทางด้านพลังงานให้ภาคเอกชนสามารถแข่งขันได้แต่ไม่กระทบต่อประชาชน
บมจ. ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น คุณจรีพร จารุกรสกุล กล่าวว่า Sustainability จะต้องสามารถสร้างกำไรได้ และต้องเข้าใจว่า Sustainability ไม่ใช่ต้นทุนทางการเงิน แต่เป็นโอกาสใหม่ของธุรกิจที่เป็น New business model ได้ Sustainability อยู่ใน DNA ของบริษัทในการทำธุรกิจใหม่ๆทั้งหมด นอกจากนี้ WHA ยังมีโครงการ Mission to The Sun Program : Turn to Tech Company in 2024 ที่เน้น 4 ด้าน ได้แก่ Sustainable development, People & Process, New Products & Services and Customer ซึ่ง WHA Group มี Carbon Neutral แล้วตั้งปี 2021
คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สถานการณ์โควิดสร้างความเสียหายประมาณ 3% ของ Global GDP แต่การปล่อยให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีก 3.2 องศาในปี 2050 จะส่งผลกระทบต่อ 8% ของ Global GDP ในขณะที่ผู้ส่งออกไทย จำนวน 36,000 ราย ณ ปัจจุบัน มีความพร้อมรับมือกับมาตรการต่าง ๆ เช่น CBAM/CCA เพียงแค่ 2% โดยถ้าดูแค่ผู้ส่งออกจาก 5 อุตสากรรมหลัก จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งออกของประเทศไทยคิดเป็น 0.4% ของ GDP ซึ่งหากรวมทุกภาคอุตสาหกรรมแล้วจะส่งผลกระทบถึง 26% ของ GDP ของประเทศไทย
ปัจจุบัน ธนาคารมีแผนสนับสนุนทาง Sustainable Finance จำนวน 200,000 ล้านบาทภายในปี 2030 และนอกจากนั้นธนาคารยังได้ริเริ่มทำสิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน Green Loan, Green Bond และ Impact Fund ด้าน Infrastructure มีโครงการ Watt’s UP เปลี่ยนสาขาเป็นสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping Station) สำหรับ Rider และมีการให้ความรู้ เช่น Green Taxonomy, SolarPlus และ Carbon Credit เป็นต้น
คุณจรีพร จารุกรสกุล มองว่าการที่ประเทศไทยจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหมด 3 เรื่องคือ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีกลยุทธ์ 3S ได้แก่
ธนาคารกสิกรไทย มองว่าความท้าทายเป็นเรื่องของการร่วมมือ ถ้าเราสามารถร่วมือกันเหมือนระบบรถยนต์ ทั้งภาครัฐ (Navigate) ภาคเอกชน (Motor) และ ภาคการเงิน (Battery) ให้ไปในจังหวะเดียวกันได้ มองเห็นโอกาสใหม่ร่วมกันได้ จะทำให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว การที่คนตัวใหญ่จะช่วยให้คนตัวเล็กก้าวเข้าสู่ Green Economy ได้อย่างรวดเร็ว ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถคว้าโอกาสในเกมใหม่นี้ไว้ได้ หากเราสามารถเพิ่มอัตราการจ้างงานใหม่พัฒนาคนให้เป็นที่ต้องการของโลกใหม่ได้ก็จะสามารถทำให้เกิด S curve ที่สองได้ คุณพิพิธ เอนกนิธิ กล่าว
คุณอโณทัย สังข์ทอง กล่าวว่า การลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกจะต้องเกิดจากความร่วมมือกันจึงก่อตั้ง TCNN ที่ปัจจุบันมีองค์กรเป็นสมาชิกกว่า 401 องค์กร ร่วมกันส่งเสริมและปฏิบัติตามนโยบายของโลกและของประเทศ ที่อยากจะเป็น Carbon Neutral/NET ZERO ส่งเสริมให้องค์กรแสดงเจตน์จำนง (Pledge) ในการลดก๊าซเรือนกระจกและตั้งเป้าหมายมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2050 โดยปัจจุบันมีองค์กรที่เรียกว่ากลุ่มผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Action Leading Organization) ทั้งหมด 77 องค์กร แล้ว
ในส่วนภาค SME ปัจจุบันนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมากในฐานะที่เป็น Supply Chain ขององค์กรขนาดใหญ่ที่กำลังมุ่งหน้าในการลดการปล่อยคาร์บอน หากไม่รีบปรับตัวก็อาจจะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันได้ รวมไปถึงมาตรการควบคุมต่างๆทั้งในและต่างประเทศ การจัดเก็บภาษีคาร์บอน การกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะเริ่มบังคับใช้ในอนาคตที่มีเวลาเตรียมตัวไม่ถึง 3 ปี SME จึงควรเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ก่อนที่จะสายเกินไป
ภาพใหญ่จาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากวันนี้เรายังไม่เปลี่ยนก็จะมีต้นทุนที่เราจะต้องจ่ายในวันหน้า แต่ละภาคส่วนก็จะต้องพบความท้าทายและก้าวผ่านไปให้ได้โดยยึดหลัก 4 ข้อดังนี้
ภาครัฐเองต้องมีการสนับสนุนให้ SME สามารถเข้าถึงกระบวนการทำนโยบายโดยการร่วมมือกับภาคการเงินและอื่น ๆ
ปัจจุบัน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ได้พัฒนากลไลตลาดคาร์บอนในประเทศ โดยมีการออกนโยบายแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต และได้ออกระเบียบการขึ้นทะเบียน ซื้อ ขาย ถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตแล้ว และปัจจุบันตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ
นอกจากนี้การที่ อบก. ผลักดันผลักดันให้เกิดตลาดคาร์บอนเครดิตนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้น ส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิตนั้นอาจะเป็นรายได้เสริมให้กับองค์กรได้
คุณจรีพร จารุกรสกุล มองว่าภาครัฐจะต้องรีบปรับนโยบายเพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้ และภาคเอกชนหากสามารถทำอะไรได้ก่อนจะต้องรีบดำเนินการเลยโดยไม่ต้องรอ และบริษัทเองจะต้องรีบคิดว่าเราจะนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปไว้ใน Business Model ของตัวเองได้ยังไง
ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช ในฐานะตัวแทนภาครัฐยอมรับว่ายังมีข้อจำกัดในหลายส่วน แต่ถ้าเรามีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้แล้วก็จะช่วยเพิ่มอัตราเร่งให้กับภาครัฐได้มากขึ้น ในขณะที่เอกชนเองก็ต้องมองข้ามไปจนถึง Supply Chain ได้ด้วย นอกจากนี้การจัดตั้ง Green Climate Fund จากภาคธนาคารให้กับ SME ก็เป็นอีกกลไกในการสนับสนุน SME ในแบบที่สร้าง Value และ Sustain Business ได้
คุณทิเดช เอี่ยมสาย เห็นว่าทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกองค์กรจะต้องตระหนักว่า ESG มีความสำคัญและกระทบต่อชีวิตตนเองอย่างไร และถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และต้องมีการร่วมมือและให้ Feedback ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถก้าวผ่านไปสู่ความยั่งยืนได้
คุณพิพิธ เอนกนิธิ ปิดท้ายว่า ในฐานะของธนาคารที่เป็นตัวกลางของทุกส่วน คนที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ SME และอยากพา SME ทั้งหมด ผ่านความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการเงิน เพื่อให้ประเทศไทยรอดจากเกมโลกใหม่ของ Decarbonization และงอกงามไปสู่ Green Economy ด้วยกัน อย่ามองว่าเรื่องนี้เป็นภาระ แต่ให้มองว่าเป็นโอกาสใหม่ที่จะเติบโต เรากำลังทำเพื่อ People และ Planet ที่ขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องมี Profit และเปลี่ยนเป็นองค์กรที่มี Purpose ร่วมกัน