K WEALTH / บทความ / Wealth Management / บริหารดีมีเงินใช้สบายทั้งชีวิต ด้วยเทคนิค "การวางแผนการเงินส่วนบุคคล"
28 กุมภาพันธ์ 2567
2 นาที

บริหารดีมีเงินใช้สบายทั้งชีวิต ด้วยเทคนิค "การวางแผนการเงินส่วนบุคคล"


​​​​​​​​​​​​​​​​“

• การวางแผนและจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน มีชีวิตที่มั่นคง และอิสรภาพทางการเงิน


• ทำความรู้จักการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ขั้นตอนในการวางแผน กลยุทธ์ในการวางแผนการเงิน การรักษาความมั่งคั่งเพื่อให้นำไปใช้ปฎิบัติได้จากบทความนี้




ชีวิตที่มั่นคงและสุขสบาย ย่อมเป็นเป้าหมายของทุกคน หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ คือ การวางแผนการเงินส่วนบุคคล บทความนี้เปรียบเสมือนคู่มือที่จะช่วยนำทางคุณสู่ความมั่งคั่งและอิสรภาพทางการเงิน


     ความสำคัญของการวางแผนการเงิน การเงินเปรียบเสมือน "น้ำ" หล่อเลี้ยงชีวิต ช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิต ซื้อสิ่งของที่ต้องการ และบรรลุเป้าหมายต่างๆ 

     การวางแผนทางการเงินเปรียบเสมือน "แผนที่" ช่วยให้เรารู้ว่าควรเตรียมแผนการเงินอย่างไร มุ่งหน้าไปทางไหน และบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างไร 

     บทบาทของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล เปรียบเสมือน "เข็มทิศ" ช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องการเงินได้อย่างชาญฉลาด เช่น 

          • บรรลุเป้าหมายทางการเงิน: ซื้อบ้าน ซื้อรถ เกษียณอายุ​อย่างสบาย 

          • จัดการกับความเสี่ยง: พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน 

          • สร้างความมั่นคงให้กับอนาคต: ดูแลตัวเองและครอบครัวรวมถึงการส่งต่อทรัพย์สินให้กับทายาท



ขั้นตอนในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล​:

ขั้นตอนการวางแผนการเงินส่วนบุคคุล 1. กำหนดเป้าหมาย 2. ประเมินสถานะปัจจุบัน 3. จัดทำแผนการเงิน 4. ติดตามและปรับแผน

1. กำหนดเป้าหมาย: ระบุเป้าหมายทางการเงินทั้งระยะสั้น (1-3 ปี) ระยะกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) โดยการกำหนดเป้าหมายต้อง SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, and Time-bound)

     • Specific: เฉพาะเจาะจง เป้าหมายควรชัดเจน ระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน 

     • Measurable: วัดผลได้ เป้าหมายควรวัดผลได้ มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน 

     • Achievable: ทำได้จริง เป้าหมายควรเป็นไปได้ สมเหตุสมผล 

     • Relevant: เกี่ยวข้อง เป้าหมายควรสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาว 

     • Time-bound: กำหนดเวลา เป้าหมายควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน 

2. ประเมินสถานะปัจจุบัน: วิเคราะห์รายรับ รายจ่าย หนี้สิน และสินทรัพย์ 

3. จัดทำแผนการเงิน: ออกแบบแผนการเงินที่เหมาะสมกับเป้าหมายและสถานะปัจจุบัน กำหนดกลยุทธ์การออม และเลือกเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวม​​ ประกันชีวิต การวางแผนภาษี​​ 

4. ติดตามและปรับแผน: ตรวจสอบผลลัพธ์ของแผนการเงินอย่างสม่ำเสมอ และปรับแผนการเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนงาน แต่งงาน มีลูก ​


เครื่องมือและเทคนิคที่จะช่วยให้แผนการเงินไปถึงเป้าหมาย ปัญหาที่คนส่วนใหญ่พบคือ มีความตั้งใจจะวางแผนการเงิน หรือออมเงินเพื่อเป้าหมาย แต่มักเหตุการณ์ต่างๆ เข้ามาแทรก ทำให้ไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ เทคนิคดังต่อไปนี้ อาจช่วยท่านได้

     • การจัดทำงบประมาณ หรือ บันทึกรายรับรายจ่าย: ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่าย และควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในกรอบ ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 

     • การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน: เพื่อประเมินสุขภาพทางการเงิน เช่น คำนวนหนี้สินต่อรายได้ เพื่อประเมินว่า รายได้เพียงพอต่อการชำระภาระหนี้ และการดำรงชีวิต ได้หรือไม่ หากไม่เพียงพอ ต้องอาจจะต้องหารายได้เพิ่มเติม

     • การใช้จ่าย: แบ่งเงินเป็นสัดส่วนสำหรับการใช้จ่ายที่จำเป็น การออม และการลงทุน 

     • ตั้งเป้าหมายการออม: เก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอ สมัครบริการหักเงินออมอัตโนมัติ 

     • ใช้หนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ: วางแผนการชำระหนี้ ปลดหนี้ให้เร็วที่สุด เช่น ปิดภาระหนี้ที่ยอดคงเหลือน้อยที่สุดก่อน หรือเลือกชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน ชำระหนี้ให้มากกว่ายอดขั้นต่ำเป็นต้น 

     • ลงทุนอย่างชาญฉลาด: ศึกษาข้อมูล และเลือกผลิตภัณฑ์ด้วยความเข้าใจ และเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ เช่น หากรับความเสี่ยงได้น้อย อาจเลือกลงทุนใน พันธบัตรรัฐบาล หรือ กองทุนตราสารหนี้​ หากรับคว​​​ามเสี่ยงได้ อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวม หุ้นสามัญ เป็นต้น 

     • การวางแผนภาษี: วางแผนประหยัดภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF/RMF ประกันชีวิต ประกันบำนาญ หรือปรึกษานักวางแผนการเงิน

     • เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน: เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต อุบัติเหตุ ควรมีเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน หรือทำประกันคุ้มครองความเสี่ยง โดยเลือกประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถทางการเงิน

     • ทบทวนแผนการเงินอย่างสม่ำเสมอ: ปรับแผนตามสถานการณ์ เช่น กรณีภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป หรือเป้าหมายในชีวิตเปลี่ยนแปลง เช่น แต่งงาน มีลูก



สำรวจความสำเร็จทางการเงินส่วนบุคคล​ ด้วย ความมั่งคั่งสุทธิ

สำรวจความสำเร็จทางการเงิน ด้วยความมั่งคั่งสุทธิ ความมั่งคั่งสุทธิคือตัวชี้วัดความสำเร็จทางการเงินที่สำคัญ โดยคำนวณจาก มูลค่าของท

​ความมั่งคั่งสุทธิ (Net Worth) เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จทางการเงินที่สำคัญ สะท้อนภาพรวมของสถานะทางการเงิน โดยคำนวณจาก มูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมด หักด้วยหนี้สินทั้งหมด 

 ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ – หนี้สิน

สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่า เช่น เงินสด เงินฝาก ลงทุน อสังหาริมทรัพย์ 

หนี้สิน หมายถึง สิ่งที่เราติดค้างผู้อื่น เช่น เงินกู้ บัตรเครดิต


ตัวอย่าง:


ทรัพย์สิน
​หนี้สิน
​เงินสด 100,000 บาท
​เงินกู้ยืม 500,000 บาท
​หุ้น 500,000 บาท
​บัตรเครดิต 100,000 บาท
​บ้าน 1,000,000 บาท

ความมั่งคั่งสุทธิ = (100,000 + 500,000 + 1,000,000) - (500,000 + 100,000) = 900,000 บาท


ความมั่งคั่งสุทธิ สะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของบุคคลว่ามีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน 

• ความมั่งคั่งสุทธิ เป็นบวก แสดงว่า มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน

• ความมั่งคั่งสุทธิ เป็นศูนย์ แสดงว่า มีสินทรัพย์เท่ากับหนี้สิน 

• ความมั่งคั่งสุทธิ เป็นลบ แสดงว่า มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ 


อย่างไรก็ตาม การวัดความมั่งคั่งสุทธิ ใม่ใช่ตัววัดเดียว ที่สะท้อนความสำเร็จทางการเงิน การวัดความสำเร็จทางการเงินนั้น มีมิติที่ลึกซึ้งและหลากหลายมากกว่าการวัดจากตัวเลขเพียงอย่างเดียว ​


ข้อจำกัดของการวัดความมั่งคั่งสุทธิ 

• ไม่สะท้อนความมั่นคงทางการเงิน: ตัวเลขความมั่งคั่งสุทธิ ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงิน บุคคลที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูง อาจมีหนี้สินจำนวนมาก 

• ไม่รวมถึงความมั่งคั่งทางอารมณ์: ความสำเร็จทางการเงิน ไม่ได้แปลว่ามีความสุขเสมอไป หลายคนที่มีเงินทองมากมาย อาจเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ สุขภาพ หรือความเครียด 

• ละเลยความมั่งคั่งด้านเวลา: การมีเวลาให้กับครอบครัว เพื่อนฝูง หรือทำกิจกรรมที่รัก อาจเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าเงินทอง

• ไม่วัดความพึงพอใจในชีวิต: การมีเงินมาก อาจไม่ได้แปลว่ามีความสุข หลายคนที่มีเงินน้อย แต่มีความสุขกับชีวิตมากกว่า


ตัววัดความสำเร็จทางการเงินที่แท้จริง อาจหมายถึง 

• ความมั่นคงทางการเงิน: มีเงินออมเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน มีแผนการเงินสำหรับอนาคต และไม่มีหนี้สิน 

• ความสุข: รู้สึกพอใจกับชีวิต มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อนฝูง และมีสุขภาพที่ดี 

• อิสรภาพทางการเงิน: มีอิสระในการเลือกใช้ชีวิต ทำงานที่รัก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน 

• ความหมาย: รู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มีเป้าหมาย และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม


บทความโดย K WEALTH Trainer วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

​ฝากประจำ Super Senior​

ดูเพิ่มเติม

​ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่​

ดูเพิ่มเติม

​WP-BALANCED​​​​

ซื้อเลย
มือใหม่ควรลงทุนอะไรดี? เจาะลึกการลงทุนเพื่อต่อยอดอนาคตทางการเงินให้งอกเงย
จริงหรือ ที่เราอาจไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณ
5 กลยุทธ์เปลี่ยนเงินเย็น ให้งอกเงย ด้วยเทคนิค "เงินต่อเงิน"
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!