K WEALTH / บทความ / Wealth Management / รวมสิทธิค่าลดหย่อนภาษี 2566 บุคคลธรรมดา ที่คุณต้องรู้
07 พฤศจิกายน 2566
2 นาที

รวมสิทธิค่าลดหย่อนภาษี 2566 บุคคลธรรมดา ที่คุณต้องรู้


​​​​​​​​

"
ค่าลดหย่อนภาษีปี 66 แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1)ค่าลดหย่อนจากค่าใช้จ่าย 2)จากสถานภาพครอบครัว และ 3)จากเงินออม/ลงทุนเพิ่มเติม นอกจากรู้เพื่อให้ใช้สิทธิครบถ้วนแล้ว ยังใช้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตนเอ​งและครอบครัวได้อีกด้วย
"

ภาษีเงินได้ ที่ต้องยื่น คำนวณ และชำระเพิ่มหรือขอคืนกันอยู่ทุกปี สิ่งที่สามารถใช้ลดภาษีส่วนนี้ลงได้ คือ การใช้ค่าลดหย่อนที่มีให้มากหรือคุ้มค่าที่สุดในทุกปี ซึ่งค่าลดหย่อนที่สามารถใช้ ลดหย่อนภาษี 2566​ นี้ได้ K WEALTH นำมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสม

I: ค่าลดหย่อนภาษี จากค่าใช้จ่าย

หมายถึง ค่าลดหย่อนที่เกิดจากเงินที่แต่ละคนต้องจ่ายไปอยู่แล้ว โดยสามาถนำมายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นหากใครรู้ตัวว่าต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่าลืมเช็กสิทธิเหล่านี้และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เงินที่จ่ายไปแล้ว สามารถเปลี่ยนเป็นเงินคืนภาษีกลับมาได้ 5%-35% ตามฐานภาษีตัวเอง โดยค่าลดหย่อนและเงื่อนไขการใช้สิทธิที่ว่า ได้แก่

​​​ค่าลดหย่อน จากค่าใช้จ่าย​​​​​​​​​​​
สูงสุด​​​​เงื่อนไข​
ช้อปดีมีคืน ต้นปี 66​​​​​​​​
​ปีละ 40,000​

​​มีใบกำกับภาษีแบบกระดาษ (ใช้สิทธิได้ 30,000 บาท)​​​​
หรือใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรานิกส์
สำหรับค่าซื้อสินค้า/บริการ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 66
​ค่าฝากครรภ์/คลอดบุตร​
​ครรภ์ละ 60,000
​เมื่อผู้เงินได้หรือคู่สมรส ตั้งครรภ์​
​ดอกเบี้ยบ้าน/คอนโด
​​​ปีละ 100,000
​กรณีกู้ร่วม ต้องหารเฉลี่ยสิทธิลดหย่อนทุกคน
แม้ว่าผู้กู้ร่วมบางคนจะไม่ยื่นหรือเสียภาษี
​ประกันสังคม
​ปีละ 9,000
​สำหรับเงินส่วนที่ผู้มีเงินได้ (ลูกจ้าง) ถูกหักหรือจ่ายไป​
​กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กบข.
​ปีละ 500,000
​เงินบริจาค เช่น การศึกษา, รพ.รัฐ​
​ลดหย่อน 2 เท่า ไม่เกิน 10%
ของเงินได้สุทธิ
ตรวจสอบรายชื่อหน่วยงานที่รับเงินบริจาค
ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร​​
​​เงินบริจาคทั่วไป
​​10% ของเงินได้สุทธิ

ภาษีเงินได้ ที่ต้องยื่น คำนวณ และชำระเพิ่มหรือขอคืนกันอยู่ทุกปี สิ่งที่สามารถใช้ลดภาษีส่วนนี้ลงได้ คือ การใช้ค่าลดหย่อนที่มีให้มากหรือคุ้มค่าที่สุดในทุกปี ซึ่งค่าลดหย่อนที่สามารถใช้ ลดหย่อนภาษี 2566​ นี้ได้ K WEALTH นำมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสม

II: ค่าลดหย่อนภาษี จากสิทธิหรือสถานภาพครอบครัว

หมายถึง ค่าลดหย่อนจากสิทธิที่แต่ละคนมีติดตัวหรือจากสถานภาพที่เป็นอยู่ เช่น แต่งงาน มีลูก หรือดูแลพ่อแม่ ซึ่งหลายคนอาจลืมหรือไม่รู้ว่าสิทธิหรือสถานภาพนั้นสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้น เราควรเช็กสิทธิที่ตนเองมีอยู่ก่อนว่ามีอะไรบ้าง และนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยลดภาระภาษีให้น้อยลงโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเหมือนค่าลดหย่อนกลุ่มอื่น โดยค่าลดหย่อนและเงื่อนไขการใช้สิทธิที่ว่า ได้แก่

ค่าลดหย่อน จากสิทธิหรือสถานภาพครอบครัว​
​คนละ
​เงื่อนไข
​คู่สมรสที่ไม่มีรายได้
​60,000​​​
​คู่สมรส ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย





​ค่าเลี้ยงดูลูก





​30,000
หรือ
60,000
- ​ลดหย่อนลูกทั่วไปได้คนละ 30,000 บาท แต่สำหรับลูกคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ลูกที่ลดหย่อน ต้องมีอายุ

    > อายุไม่เกิน 20 ปี หรือ

    > อายุ 21-25 ปี แต่เรียนระดับอุดมศึกษา ที่ไทยหรือต่างประเทศ

- ลูกที่ลดหย่อน ต้องไม่มีรายได้ หรือมีแต่น้อยกว่าปีละ 30,000 บาท

- ลดหย่อนได้ทั้งลูกของผู้มีเงินได้และคู่สมรส (เช่น กรณีสมรสใหม่​)




​ค่าดูแลบุพการี




​30,000
​- บิดาหรือมารดาที่ลดหย่อน (1) อายุ 60 ปีขึ้นไป
(2) ไม่มีรายได้ หรือมีแต่ไม่เกินปีละ 30,000 บาท
- กรณีลูกหลายคนร่วมกันดูแลบิดามารดาในแต่ละปี มีลูกเพียง 1 คน ที่ใช้สิทธิลดหย่อนบิดาหรือมารดาได้
- กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรสได้
- บิดามารดาที่ลดหย่อน ต้องลงนามแบบ ล.ย. 03

​ค่าดูแลผู้พิการ​


​60,000​
​- มีชื่อเป็นผู้ดูแล ในบัตรประจำตัวผู้พิการ
- ผู้พิการที่ลดหย่อน ไม่มีรายได้ หรือมีแต่ไม่เกินปีละ 30,000
กรณีผู้มีเงินได้ไม่อยู่ในไทย (หรืออยู่แต่ไม่ถึง 180 วัน) ผู้ที่นำมาใช้สิทธิลดหย่อนต้องเป็นผู้อยู่ในไทย 180 วันขึ้นไ​ป​

III: ค่าลดหย่อนภาษี เงินออม/ลงทุนเพิ่มเติม

หมายถึง ค่าลดหย่อนที่เกิดจากทางเลือกหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อย่างกองทุน SSF/RMF ประกันชีวิต/สุขภาพ โดยเงินที่จ่ายไปกับทางเลือกเหล่านี้นอกจากนำไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังเป็นการต่อยอดเงินให้งอกเงย หรือปกป้องเงินในกระเป๋าเราจากเหตุไม่คาดฝันได้ โดยค่าลดหย่อนและเงื่อนไขการใช้สิทธิที่ว่า ได้แก่​

​ค่าลดหย่อน เงินออม/ลงทุนเพิ่มเติม
​สูงสุด ปีละ
​เงื่อนไข
​เงินลงทุน RMF
​30%ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 500,000

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน + กอช. + SSF + RMF + ประกันบำนาญรวมกันสูงสุด 5 แสนบาท​​​
​ ​
​เงินลงทุน SSF
​30%ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 200,000
​เบี้ยประกันบำนาญ
​15%ของเงินได้ที่เสียภาษี ไม่เกิน 200,000
​เบี้ยประกันชีวิต
​100,000

​รวมกันสูงสุด 100,000 บาท​
​เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
​25,000


​เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา


​15,000
​- ใช้สิทธิบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส รวมกันได้ไม่เกิน 15,000 บาท
- บิดาหรือมารดา ไม่มีรายได้ หรือมีแต่ไม่เกินปีละ 30,000 บาท
- กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรสได้ 

เลือกลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ทางไหนดี

เมื่อทางเลือกในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมมีหลากหลาย ทั้งกองทุนและประกันชีวิต/สุขภาพ แต่ด้วยเงินที่อาจมีอยู่จำกัด ทาง K WEALTH จึงมีคำแนะนำกับผู้ที่กำลังตัดสินใจว่า ปีนี้จะนำเงินที่มีไปเลือกใช้ลดหย่อนภาษีทางไหนดี ให้เหมาะกับความต้องการหรือความกังวลใจของตนเอง​

  1. 1. มีครอบครัว ต้องดูแล​

    แนะนำเน้นลดหย่อนด้วยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ ซึ่งเบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปีนอกจากลดหย่อนภาษีแล้ว ยังแปลงเป็นความคุ้มครองชีวิต มีเงินก้อนให้กับคนในครอบครัวหากเราจากไปอย่างกะทันหัน ตัวอย่างเช่น ผู้ชายอายุ 40 ปี ต้องการนำเบี้ยประกันชีวิตปีละ 100,000 บาท ไปลดหย่อนภาษี

    • เพื่อสร้างความคุ้มครองชีวิต แนะนำแบบประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ ที่ไม่มีเงินคืนระหว่างสัญญา
      ​​เบี้ยประกันปีละ 100,000 บาท สำหรับผู้ชายอายุ 40 ปี​​
      ​แบบประกันชีวิต​
      ​ความคุ้มครองชีวิต
      ​ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/5
      ​1,098,000 บาท
      ​ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/9​
      ​1,714,000 บาท
    • เพื่อเป็นเงินเก็บหรือมีเงินคืน ไปพร้อมกับการสร้างความคุ้มครองชีวิต แนะนำแบบประกันชีวิตที่มีระยะเวลาความคุ้มครองสั้นลง เช่น
      ​​​​​เบี้ยประกันปีละ 100000 บาท สำหรับผู้ชาย อายุ 40 ปี​
      ​แบบประกันชีวิต​
      ​ชำระเบี้ย
      ​ความคุ้มครองชีวิต
      ​ผลประโยชน์ตลอดสัญญา
      ​ประกันชีวิต ครบ 70 ปี มีใช้
      ​7 ปี
      ​1,194,000 บาท
      ​เงินครบสัญญาตอนอายุ 70 ปี 1,194,000 บาท
      ​ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ 1525​
      ​15 ปี
      ​1,228,000 บาท
      ​เงินคืนและเงินครบรวมตลอดสัญญา 25 ปี 1,842,000 บาท
      หรือหากต้องการความคุ้มครองชีวิตที่สูงขึ้น โดยจ่ายเบี้ยประกันได้มากกว่า 1 แสนบาท เช่น ปีละ 1 ล้านบาท (เบี้ยลดหย่อนภาษีได้ 1 แสนบาท) แนะนำประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ 99/5 หรือประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ 99/10 ที่สร้างความคุ้มครองชีวิตได้สูงถึง 13,585,000 บาท และ 21,934,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาสัดส่วนความคุ้มครองชีวิตต่อเบี้ยประกันแล้ว ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ เป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงกว่าประกันชีวิตทั่วไป
  2. 2. ห่วงค่ารักษาพยาบาล ยามเจ็บป่วย

    แนะนำเน้นลดหย่อนด้วย ประกันสุขภาพ​​ ซึ่งเบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปีนอกจากลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังแปลงเป็นความคุ้มครองวงเงินค่ารักษาพยาบาล รองรับค่าใช้จ่ายเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล เช่น
    • เน้นลดหย่อนภาษีเป็นหลัก เบี้ยประกันทุกบาทที่จ่ายไปต้องลดหย่อนภาษีได้ โดยมองว่าความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเป็นของแถม แนะนำสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ D Health Plus ที่ได้ความคุ้มครองวงเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีนอนโรงพยาบาล ครั้งละ 5 ล้านบาท เช่น
      ​​​สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ D Health Plus​​
      ​คุ้มครองค่าใช้จ่าย​
      ​ค่าเบี้ยประกันทั้งผู้ชายและผู้หญิงยังไม่เกินปีละ 25,000 บาท​
      ​แผน Plus 1
      ​เฉพาะส่วนที่เกิน 1 แสนบาท
      ​หากอายุไม่เกิน 60 ปี
      ​แผน Max
      ​ตั้งแต่บาทแรก
      ​หากอายุไม่เกิน 40 ปี
    • เน้นความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเป็นหลัก จ่ายค่าเบี้ยได้มากกว่าปีละ 25,000 บาท มองสิทธิลดหย่อนภาษีเป็นของแถมหรือเสมือนส่วนลดค่าเบี้ยประกันในรูปแบบเงินคืนภาษี แนะนำสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ Elite Health Plus ที่ได้ความคุ้มครองวงเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีนอนโรงพยาบาล สูงถึงปีละ 20-100 ล้านบาทขึ้นอยู่กับแผนที่เลือก เช่น แผนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลปีละ 20 ล้านบาท เฉพาะประเทศไทย ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ค่าเบี้ยประกันตอนอายุ 25 ปี 40 ปี และ 60 ปี อยู่ที่ปีละ 25,116 บาท 36,618 บาท และ 79,544 บาท ตามลำดับ
  3. 3. ต้องการให้เป็นเงินเก็บ แบบเซฟๆ

    แนะนำลดหย่อนด้วยประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ที่มีเงินคืนแน่นอนตามสัญญา หรือกองทุนลดหย่อนภาษีที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เช่น
    • ประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3 ด้วยเบี้ยประกันที่จ่ายไปปีละ 100,000 บาท ไป 3 ปี จะมีเงินคืนและเงินครบรวมตลอดสัญญา 11 ปี 339,000 บาท หรือคิดเป็นส่วนต่างผลประโยชน์เทียบค่าเบี้ยประกันที่ 39,000 บาท
    • กองทุน K-SF-SSF ซึ่งเป็น กองทุน SSF นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30%ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท กองทุนนำไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ/ภาคเอกชน และงินฝาก ฯลฯ
  4. 4. อยากเป็นเงินลงทุน เพิ่มผลตอบแทน

    แนะนำลดหย่อนในทางเลือกที่เป็น กองทุนลดหย่อนภาษี ที่เป็นกองทุนผสม หรือประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล ที่มีโอกาสลุ้นรับผลตอบแทน เช่น
    • กองทุน K-GINCOME-SSF เป็นกองทุน SSF ลดหย่อนภาษี กองทุนนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน และ หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ทั่วโลก ฯลฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 4 ครั้ง
    • ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ 315 มีเงินปันผล (Global) ด้วยเบี้ยประกันที่จ่ายไปปีละ 100,000 บาท ไป 3 ปี นอกจากมีเงินคืนและเงินครบรวมตลอดสัญญา 15 ปี ที่แน่นอน 335,980 บาท หรือคิดเป็นส่วนต่างผลประโยชน์เทียบค่าเบี้ยประกันที่ 35,980 บาทแล้ว ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากเงินปันผลเมื่อครบสัญญา 15 ปีด้วย
  5. 5. อยากสะสมเงิน ไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ

    แนะนำลดหย่อนในทางเลือกกองทุน RMF ลดหย่อนภาษี ที่เป็นกองทุนผสม ประกันชีวิตเพื่อการเกษียณอายุหรือประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ถูกออกแบบให้ได้รับเงินก้อนหรือเงินคืนรายงวดหลังเกษียณอายุ เช่น
    • เน้นเพิ่มผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนระยะยาว แนะนำ กองทุน KGINCOMERMF ที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน และหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ทั่วโลก
    • สะสมเงินไว้ในที่ปลอดภัย แนะนำประกันชีวิตที่มีเงินคืนแน่นอนตามสัญญา เช่น
      สำหรับผู้ชาย อายุ 40 ปี​ ​ ​
      แบบประกันชีวิต
      ​​ชำระเบี้ย
      ​เบี้ยประกัน ที่ลดหย่อนได้
      ​ผลประโยชน์ตลอดสัญญา​
      ​ประกันชีวิตเพื่อการเกษียณ 60/5
      ​​
      5 ปี
      ​100,000 บาท
      ​​เงินคืนและเงินครบตอนอายุ 60 ปี รวมตลอดสัญญา 669,060 บาท
      ​ประกันชีวิตดเพื่อบำนาญแบบลดหย่อนได้ A85/5​
      ​200,000 บาท
      ​ช่วงอายุ 55-85 ปี มีเงินคืนปีละ 66,4000 บาท รวม 2,058,400 บาท
    • ทางเลือกลดหย่อนภาษีมีอยู่หลากหลาย หากเลือกใช้ได้เหมาะสมนอกจากได้เงินคืนภาษีหรือจ่ายเพิ่มน้อยลงแล้ว ยังถูกสะสมไว้ไปต่อยอดเงินให้งอกเงยสอดคล้องกับเงื่อนไขระยะเวลาของสรรพากร หรือช่วยจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝันได้อีกด้วย




​​



​.​

บทความโดย K WEALTH Trainer ราชันย์ ตันติจินดา CFP®

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

​ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/5

ดูเพิ่มเติม

​สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ D Health Plus

ดูเพิ่มเติม
K-SF-SSF และ K-GINCOME-SSF กองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับมือใหม่
เลือกกองลดหย่อนภาษียังไงดี ในช่วงตลาดผันผวน
4 ข้อคิดดีดี พาผู้ประกอบการก้าวข้ามกับดักภาษี
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!