ภาษี ค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรมองข้าม

วัยสร้างครอบครัวที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างตึงตัว สามารถใช้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายและเงินลงทุน

● วัยสร้างครอบครัวที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างตึงตัว สามารถใช้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายและเงินลงทุน เพื่อลดภาระภาษี และเพิ่มเงินเก็บได้

● คนที่ยังอายุไม่เกิน 45 ปี แนะนำใช้สิทธิกองทุน SSF ก่อน ส่วนคนที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แนะนำใช้สิทธิ RMF ก่อน

วัยมีครอบครัว เป็นวัยที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไหนจะต้องดูแลลูก ดูแลคุณพ่อคุแม่ ไหนจะผ่อนบ้าน เก็บเงินเพื่อเกษียณ แถวยังต้องเสียภาษีก้อนโต ท่ามกลางภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้ หากไม่จัดสรรเงินออมให้ดีในระยะยาว อาจจะทำให้มีเงินไม่พอใช้วัยเกษียณ ถึงแม้จะมีบ้านปลอดภาระ ส่งบุตรเรียนจบ ก็ตาม แต่เราสามารถใช้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายและเงินลงทุน เพื่อลดภาระภาษี แถมเพิ่มเงินเก็บได้ มาดูวิธีการกัน

1.ลดภาษีจากสถานะหรือค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มประโยชน์ภาษีอีก 1 ต่อ ไม่ว่าจะเป็น ค่าลดหย่อนจากสถานะ เช่น ดูแลบุตร คนละ 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 และเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2561 คนละ 60,000 บาท) บุพการี คนละ 30,000 บาท ค่าลดหย่อนจากนโยบายรัฐ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน หักตามจริง สูงสุด 100,000 บาท เงินบริจาค หักได้ตามจริง สูงสุด 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน เป็นต้น

2. ลดภาษีจากการออมและการลงทุน ถือเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อตนเอง หากเริ่มต้นออมอายุ 36 ปี เดือนละ 10,000 บาท (ปีละ 120,000 บาท) รายได้ตกฐานภาษี 20% (เงินคืนอย่างน้อยปีละ 24,000 บาท) นำไปลงทุนเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง (ระดับ 5) ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี จะมีเงินประมาณ 6 ล้านบาท (จากเงินต้น 3 ล้านบาท) เมื่ออายุ 60 ปี หากนำเงินคืนภาษีอีกอย่างน้อยปีละ 24,000 บาท มาลงทุนเพิ่มอีก จะช่วยให้มีเงินออมมากกว่า 6 ล้านบาท (อายุ 60 ปี) อ่านมาถึงตรงนี้ ถามว่าปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยบรรลุเงินออมได้ คือ ระยะเวลาลงทุน นั่นเอง ดังนั้น ดีที่สุดควรเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้

2.1 จะเลือกลดหย่อนอะไรดี ดูจากวัตถุประสงค์ในการออมเงิน และระยะเวลาถือครอง
>> วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองชีวิต แนะนำเลือกลดหย่อนโดยประกันชีวิต โดยมีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
>> วัตถุประสงค์เพื่อออมลงทุน โดยมีอายุน้อยกว่า 45 ปี แนะนำให้เลือกลดหย่อนด้วยกองทุนเพื่อการออม (SSF) ให้เต็มสิทธิก่อน (ลดหย่อนสูงสุด 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท) หากต้องการลดหย่อนเต็ม Max ให้ใช้สิทธิลดหย่อนกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) (ลดหย่อนสูงสุด 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท) เป็นลำดับถัดไป
หากมีตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป แนะนำให้เลือก กองทุน RMF เป็นลำดับแรก และหากยังต้องการลดหย่อนเต็ม Max ให้ใช้สิทธิในส่วนของกองทุน SSF เป็นลำดับถัดไป ทั้งนี้ เพื่อให้ระยะเวลาลงทุนไม่ให้นานเกินความจำเป็น

Tips : กองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผล จะมีให้เลือกในกองทุน SSF เท่านั้น กองทุน RMF ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล
อย่าลืม เงื่อนไขลดหย่อนเต็ม Max ทั้ง SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข. (กลุ่มเกษียณ) รวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท

2.2 จะเลือกตัวไหนดี ดูจากผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้
ในสภาวะตลาดหุ้นผันผวน ดอกเบี้ยก็น้อย อยากลงทุนได้สบายใจ ไม่กระทบแผนการเงิน ผลตอบแทนไม่หวือหวา แต่สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง แนะนำให้ลงทุนในกองทุนผสมที่นอกจากจะประหยัดภาษีแล้ว และยังเน้นเพิ่มรายรับเฉลี่ยสม่ำเสมอ 4% ต่อปี เพราะไม่เสี่ยงเกินไป ได้กระจายการลงทุนไปทั่วโลก โดย

SSF กสิกรไทย แนะนำ K-GINCOME-SSF ที่เป็น SSF แบบผสมทั่วโลก ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลา เพื่อมุ่งหาสินทรัพย์ที่ให้รายได้สม่ำเสมอ กองทุนเดียวที่มีนโยบายจ่ายปันผล (ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง) เหมาะกับคนที่อยากได้ผลตอบแทนระหว่างลงทุนยาว 10 ปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 14.67%* ต่อปี

RMF กสิกรไทย แนะนำ กองทุน K2035RMF สำหรับผู้ที่เกษียณอายุในปี ค.ศ. 2035 หรือ พ.ศ. 2578 หรืออีก 15 ปีข้างหน้า มีผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 5.72%**ต่อปี เน้นลงทุนในตราสารหนี้และหุ้นทั่วโลก โดยเน้น กระจายลงทุนในกองทุนเพื่อวัยเกษียณที่ดีที่สุดในโลกตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (Fund of funds) ทำให้กองทุนมีความยืดหยุ่น และมีการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ให้อัตโนมัติตามช่วงอายุ (Glide Path) โดยในช่วงแรกจะเน้นลงทุนในหุ้นเพื่อให้เงินเติบโต และเมื่อขยับเข้าใกล้วันเกษียณอายุจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น เพื่อป้องกันเงินต้นและลดความเสี่ยงจากการขาดทุน ทำให้ลงทุนในกองทุน K2035RMF กองเดียวต่อเนื่องได้ทุกปีจนเกษียณด้วยโมเดลที่นิยมทั่วโลก ไม่ต้องปรับพอร์ตเอง

ทั้งนี้ เมื่อลงทุนในกองทุนเพื่อการออม (SSF) หรือ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถสับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ หรือหากกังวลว่าจะเป็นการลงทุนระยะยาวไป เลือกกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผลเพื่อคืนผลตอบแทนในบางส่วนก่อนก็ได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี เป็นฤดูกาลของการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี หากมองว่าราคาสูงไป หรือ ตลาดยังผันผวนอยู่ จึงยังลังเลในการเริ่มต้น ขอแนะนำให้เลือกกองทุนลดหย่อนภาษีที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน เช่น กองทุน K-FIXEDPLUS-SSF หรือ กองทุน KFIRMF ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ไปก่อน แล้วสับเปลี่ยนกองทุนอื่นๆในปีถัดไป เพื่อให้ไม่พลาดการลดหย่อนภาษีในปีนี้และตัดสินใจเริ่มออมได้ทันที
Disclamer : “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
หมายเหตุ * ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2564
** ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2564 (เป็นระยะยาวที่สุดตั้งแต่จัดตั้งกองทุน) ขอขอบคุณข้อมูลจาก บลจ.กสิกรไทย