SSF RMF มีดีมากกว่าที่คิสส

กองทุนลดหย่อนภาษี สิ่งดีๆ ที่คุ้นเคย กับโอกาส รับผลตอบแทน จากหลายสินทรัพย์มากก​ว่าที่เคย​​​​​

● ผลตอบแทนจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปี ในตราสารหนี้ ตลาดหุ้นไทย และหุ้นต่างประเทศ อยู่ที่ 2.49%, 9.53%, 12.66% ต่อปี (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ต.ค. 64)


● SSF, RMF เป็นกองทุนที่นอกจากนำไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเพิ่มจากทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย สับเปลี่ยนได้ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง

กองทุนลดหย่อนภาษี สิ่งดีๆ ที่คุ้นเคย แต่ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เงินในกระเป๋าเริ่มฝืด ประกอบกับเวลาการลงทุนที่นานถึง 10 ปี หรือถึงอายุ 55 ปี ทำให้หลายคนลังเลว่าควรสำรองเงินเก็บไว้ก่อน หรือนำไปลดหย่อนภาษีดี ซึ่งหากมองให้กว้างขึ้น กองทุน SSF/RMF กสิกรไทย ไม่ได้มีดีแค่ลดภาษี แต่ยังช่วยให้เงินเติบโตได้ในระยะยาว อาจทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้น

1) โอกาส รับผลตอบแทน จากหลายสินทรัพย์มากกว่าที่เคย

จากข้อมูล ธปท. ณ 20 ต.ค. 64 เงินฝากธนาคารให้ดอกเบี้ย 0.125% - 2%ต่อปี แต่สินทรัพย์ต่างๆ ที่ผ่านมา หากเป็นการลงทุนระยะยาวมักให้ผลการดำเนินงานเฉลี่ยที่สูงกว่าเงินฝาก เช่น

ประเภทสินทรัพย์
ดัชนีอ้างอิง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 20 ต.ค. 64
ต้นปีถึง
ปัจจุบัน
1 ปี
(%ต่อปี)
3 ปี
(%ต่อปี)
5 ปี
(%ต่อปี)
10 ปี
(%ต่อปี)

ตราสารหนี้
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล
-1.31%
-0.10%
1.89%
1.33%
2.49%
หุ้นไทย
SET TRI
16.08%
39.20%
2.53%
5.07%
9.53%
หุ้นต่างประเทศทั่วโลก
MSCI ACWI Net Total Return USD Index
29.57%
38.69%
17.42%
13.40%
12.66%

หากคำนวณเบื้องต้นโดยนำเงิน 100,000 บาท ไปฝากธนาคารดอกเบี้ย 2%ต่อปี ดอกเบี้ยรวม 10 ปี คิดเป็นเงิน 21,899 บาท เทียบกับกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้นไทย และกองทุนหุ้นโลก ผลตอบแทนรวม 10 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นเงิน 27,884บาท 148,503 บาท และ 229,380 บาท หรือมากกว่าเงินฝากถึง 0.27 เท่า 5.78 เท่า และ 9.47 เท่า ตามลำดับ

2) ข้อดีของ SSF/RMF กสิกรไทย ที่ห้ามมองข้าม

2.1) เลือกลงทุน ได้หลากหลาย
SSF กสิกรไทย มี 6 กองทุน และ RMF มีให้เลือกถึง 21 กองทุน มีกองทุนที่หลากหลายครบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้นไทย กองทุนหุ้นต่างประเทศ ทำให้สามารถเลือกกองทุนเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนตามความเสี่ยงที่รับได้ โดยดูได้จากผลการดำเนินงานของกองทุนต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น

ประเภทสินทรัพย์

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 20 ต.ค. 64
ต้นปีถึง
ปัจจุบัน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
(%ต่อปี)
3 ปี
(%ต่อปี)
5 ปี
(%ต่อปี)
10 ปี
(%ต่อปี)
กองทุนตราสารหนี้
K-FIXEDPLUS-SSF
-0.39%
-0.92%
0.02%
0.53%
N/A
N/A
N/A
KFIRMF
0.65%
-0.63%
0.62%
1.90%
2.06%
1.83%
2.41%
กองทุนผสม
K-GINCOME-SSF
8.10%
1.78%
3.85%
14.39%
N/A
N/A
N/A
KGARMF
6.63%
1.92%
2.22%
15.06%
10.55%7.34%
N/A
กองทุนหุ้นไทย
K-STAR-SSF
16.79%
9.98%
5.61%
35.92%
N/A
N/A
N/A
KFLRMF
19.74%
10.41%
5.24%
40.13%
2.20%
4.15%
7.32%
กองทุนหุ้นต่างประเทศ
K-CHANGE-SSF
18.02%
4.82%
13.70%
30.31%
N/A
N/A
N/A
K-CHANGE-RMF
18.14%
4.78%
13.69%
N/A
N/A
N/A
N/A




หาก SSF/RMF เป็นเงินลงทุนส่วนใหญ่ หรือมีการลงทุนมากกว่า 1 กองทุน แนะนำให้แบ่งเงินลงทุนตามสัดส่วนที่เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ เช่น การแบ่งลงทุน 2 กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงสูงด้วยสัดส่วนเบื้องต้น ดังนี้

ความเสี่ยงที่รับได้
สัดส่วนรวม
กองทุนตราสารหนี้
เช่น K-FIXEDPLUS-SSF, KFIRMF
กองทุนหุ้น
เช่น K-CHANGE-SSF, K-CHANGE-RMF
ต่ำ
100%
90%
10%
ปานกลาง
100%
60%
40%
สูง
100%
45%
55%

2.2) สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน รับทุกสถานการณ์
หลายคนเข้าใจดีว่า SSF/RMF เป็นการลงทุนระยะยาวที่ไม่สามารถขายคืนก่อนครบเงื่อนไขได้ แต่ทราบไหมว่าแม้ขายคืนไม่ได้แต่ก็สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน (switching) SSF ด้วยกัน และ RMF ด้วยกันได้ ซึ่งการสับเปลี่ยนใน บลจ. เดียวกัน มักไม่มีค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยน และทำได้สะดวกบน mobile application เช่น K PLUS และ K-My FUNDS ของกสิกรไทย

เช่น ระหว่างการลงทุน หากลงทุน SSF หุ้นไทยอยู่ แล้วคิดว่าเป็นช่วงที่หุ้นไทยไม่น่าสนใจก็สามารถสับเปลี่ยน เป็น SSF หุ้นต่างประเทศเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือช่วงที่หุ้นทั่วโลกผันผวนจนไม่น่าวางใจ ก็สามารถสับเปลี่ยนจาก SSF หุ้น เป็น SSF ตราสารหนี้ให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมของเงินลงทุนใน SSF ได้

ปัจจุบัน บลจ.กสิกรไทย มี SSF 6 กองทุน และ RMF 21 กองทุน ซึ่งมีความหลากหลาย พร้อมรองรับการสับเปลี่ยนได้แทบทุกสถานการณ์ลงทุน

2.3) ไม่มีขั้นต่ำ ลงทุนได้คล่องตัว
ทั้ง SSF และ RMF ล้วนไม่มีเงื่อนไขจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำจากสรรพากร ต่างจากอดีตที่ RMF เคยมีเงื่อนไข เช่น ต้องลงทุนอย่างน้อยปีละ 5,000 บาท ดังนั้นขั้นต่ำการลงทุนแต่ละครั้งจึงขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละ บลจ. เช่น บลจ.กสิกรไทย กำหนดขั้นต่ำการลงทุนแต่ละครั้งใน SSF/RMF ไว้ที่ 500 บาท ดังนั้นใครที่อยากเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินน้อยๆ ก็สามารถเลือกลงทุนได้ที่ครั้งละ 500 บาท

สำหรับ SSF เมื่อลงทุนแล้ว ในปีต่อๆ ไป จะลงทุนต่อใน SSF หรือเปลี่ยนไปลงทุนกองทุนประเภทอื่นก็สามารถทำได้ ส่วน RMF เมื่อลงทุนแล้ว ต้องลงทุน RMF ต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน) จนกว่าจะครบเงื่อนไข โดยจะเป็น RMF กองทุนเดิม หรือ RMF กองทุนอื่นก็ได้ ทำให้สามารถเลือกลงทุนได้ตามสถานการณ์ลงทุนในแต่ละปี
2.4) เลือกรับ เงินปันผลระหว่างทาง
แม้กองทุนลดหย่อนภาษีต้องถือเงินลงทุนระยะยาว แต่ SSF สามารถเลือกกองทุนที่มีเงินคืนระหว่างทางในรูปแบบเงินปันผลได้ โดยเงินปันผลแต่ละครั้งกองทุนจะพิจารณาจากผลประกอบการแต่ละรอบบัญชี อย่างกองทุน K-GINCOME-SSF ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลา เพื่อมุ่งหาสินทรัพย์ที่ให้รายได้สม่ำเสมอ กองทุนผสมทั่วโลกกองทุนเดียวในตลาดที่มีนโยบายจ่ายปันผล (ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง) โดยลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลกที่สร้างรายได้สม่ำเสมอ เช่น หุ้นกู้ หุ้นปันผลสูง ฯลฯ เพื่อเพิ่มโอกาสการรับเงินปันผลในแต่ละรอบบัญชี

ส่วน RMF นั้น ไม่ว่าของ บลจ. ใด ก็ล้วนไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล เพราะเป็นการเน้นสะสมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ

มาถึงตรงนี้สำหรับใครที่ยังไม่ตัดสินใจลดหย่อนภาษี อาจกำลังเสียโอกาสให้เงินเติบโต ทั้งๆ ที่มีเงินเก็บ แต่ปล่อยให้เงินจมกับแค่ดอกเบี้ยเงินฝากในแต่ละวัน จะดีกว่าไหมหากนำเงินที่มีมาต่อยอดลงทุน แต่หากยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ ที่ตลาดยังคงผันผวน แนะนำให้ลงทุนกองทุน K-FIXEDPLUS-SSF หรือ KFIRMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ไปก่อนเพื่อไม่ให้พลาดสิทธิทางภาษี แล้วเมื่อมั่นใจกับแนวโน้มของตลาดแล้ว จึงค่อยสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไป SSF/RMF ที่เป็นกองทุนผสมหรือกองทุนหุ้นภายหลัง

เงื่อนไขควรรู้ ก่อนลงทุน
ก่อนลงทุน SSF/RMF มีเงื่อนไขหลักๆ ที่ควรเข้าใจและยอมรับได้ ได้แก่
● แต่ละปีลงทุนได้ ไม่เกิน 30%ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุด 2 แสนบาท
● ต้องถือหน่วยลงทุน 10 ปีเต็มขึ้นไป โดยนับแบบวันชนวัน

● แต่ละปีลงทุนได้ ไม่เกิน 30%ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุด 5 แสนบาท
● ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน) จนถึงอายุ 55 ปีขึ้นไป และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม

โดยแต่ละปีใช้สิทธิลดหย่อนภาษีใน “กองทุน SSF + กองทุน RMF + ประกันชีวิตแบบบำนาญ + กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ + กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ + กองทุนการออมแห่งชาติ” รวมกันได้ไม่เกิน 5 แสนบาท

นอกจาก SSF/RMF ที่มีดีมากกว่าแค่ลดภาษี ด้วยผลตอบแทนการลงทุนแล้ว ทางเลือกลดภาษีอย่างประกันชีวิตที่สามารถเป็นหลักประกันครอบครัวหลักล้านด้วยเบี้ยประกันปีละหลักแสน หรือประกันสุขภาพที่สามารถมีวงเงินค่ารักษา 5-100 ล้านบาท ด้วยเบี้ยประกันปีละหลักหมื่นถึงหลักแสน ก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ


ผู้เขียน

K WEALTH GURU ราชันย์ ตันติจินดา CFP®
Back to top