K WEALTH / บทความ / Product Review / ส่องกองหุ้นญี่ปุ่นพื้นฐานดี สร้างโอกาสรับผลตอบแทนดีในระยะยาว
26 ตุลาคม 2565
3 นาที

ส่องกองหุ้นญี่ปุ่นพื้นฐานดี สร้างโอกาสรับผลตอบแทนดีในระยะยาว






● ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีในตลาดหุ้นญี่ปุ่น อยู่ที่ 13.5% ต่อปี เป็นรองแค่ตลาดหุ้นเวียดนาม​ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมาย แต่อยู่ในระดับที่จัดการได้ และ GDP ที่ยังเติบโตแบบสม่ำเสมอในปีนี้และปีหน้า

● ในขณะที่ปัจจัยจากสัดส่วนวัยแรงงานที่น้อย และสัดส่วนผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับสูง ทำให้กดดันการบริโภคภายในประเทศ 

● กองทุนหุ้นญี่ปุ่น จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตลาดหุ้นที่เน้นลงทุน เช่น เน้นตลาดหุ้น NIKKEI เน้นตลาดหุ้น TOPIX และ เน้นตลาดหุ้นขนาดกลางและเล็ก ซึ่งจากผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ตลาดหุ้น NIKKEI ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าตลาดอื่นๆ 

“​​


หากจะกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่น ในช่วงนี้คงนึกถึงเรื่องค่าเงินเยนที่แนวโน้มอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง แต่ในมุมของการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้เลยทีเดียว แล้วกองทุนที่ลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นมีอะไรกันบ้าง บทความนี้จะสรุปและเทียบกลุ่มกองทุนที่ลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นมาไว้ในที่เดียว


เกิดอะไรขึ้น กับตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา


ดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น NIKKEI 225 เคลื่อนไหวในช่วง 8,400-30,500 จุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมาดูผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเฉลี่ย อยู่ที่ 13.5% ต่อปี ซึ่งอาจจะไม่ผันผวนมากเท่า ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกา หรือ ยุโรป 

ปัจจัยที่กดดันในตลาดหุ้นญี่ปุ่น 


สัดส่วนวัยแรงงานมีน้อย ญี่ปุ่น ถือเป็นประเทศที่มีประชากรสูงวัยในสัดส่วนมากที่สุดในโลก ทำให้กำลังการบริโภคที่มาจากวัยแรงงาน จะสู้ประเทศจีน หรือ เวียดนาม ไม่ได้

มีนโยบายการเงินผ่อนคลาย เนื่องจากมาตรการ Yield Curve Control ที่มีการเน้นรักษาผลตอบแทนจากพันธบัตรฯ (Bond Yield) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ถือว่าสวนทางกับหลายธนาคารกลางในประเทศฝั่งตะวันตก ส่งผลต่อกระแสเงินทุนไหลออกและทำให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นและทำให้ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์


ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ยังมีความน่าสนใจในระยะยาว


- อัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมาย แต่อยู่ในระดับที่จัดการได้ คาดว่ายังใช้นโยบายการเงิน แบบผ่อนคลายอีกนาน
Inflation ตัวเลข คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
 
ข้อมูลจาก OECD ในเดือน ก.ย. 65 คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จะพบว่า มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากปี 2565 และญี่ปุ่น ยังคงมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์น้อยที่สุด ในระดับ 2%

จากข้อมูล Bloomberg เดือน ก.ย. 65 มีปัจจัยสนับสนุนความน่าสนใจในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เช่น ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ของตลาดหุ้นต่างๆ การคาดการณ์ GDP รายประเทศของปี 2565-2566 และโอกาสในการเกิด Recession ในปี 2566 โดยเริ่มที่

- ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ตลาดหุ้นญี่ปุ่น มีผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี เป็นลำดับที่ 2 รองจากตลาดหุ้นเวียดนามตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น
- ขณะที่ GDP ไตรมาส 2 ของญี่ปุ่นขยายตัวถึง 3.5% และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยคาดการณ์ GDP ญี่ปุ่นในปี 2565 และ 2566 (จาก Bloomberg) อยู่ที่ 1.60% และ 1.50% ตามลำดับ ซึ่งยังเติบโตเล็กน้อย เทียบกับ ประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว อย่าง สหรัฐฯ และกลุ่มยูโรโซน ที่ในปี 2566 ส่อเติบโตน้อยกว่า 1 %
ตัวเลขคาดการณ์ GDP ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2022 และ 2023

- โอกาสในการเกิด Recession ญี่ปุ่น (จาก Bloomberg) ถือเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีโอกาสเกิด Recession ต่ำที่สุด (เทียบกับ U.S. และ EU)
ตารางแสดงโอกาสในการเกิด Recession ในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว
ข้อมูลจาก Bloomberg เดือน ก.ย. 65 พบว่า

- FWD P/E ในปี 2566 อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ FWD P/E หุ้นโลก ทำให้ราคาหุ้นในตลาดญี่ปุ่น ยังมีความน่าสนใจ
ตัวเลข FWD PE ในปี 2022
​- ล่าสุด ทาง Trip.com ในฮ่องกง รายงานเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 65 ว่า ชาวฮ่องกง มีความต้องการเดินทางด้วยเครื่องบิน ใน 5 อันดับจุดหมายปลายทางที่จะไป คือ BKK, SEOUL, TOKYO, SINGAPORE รวมถึง OSAKA ทำให้เห็นว่า มีความต้องการเดินทางไปยังญี่ปุ่น และแถบเอเชียเพิ่มขึ้นหลังจากมีการเปิดรับนักท่องเที่ยว และอาจจะช่วยให้มีความต้องการถือเงินเยนมากขึ้น


เปรียบเทียบกองทุนหุ้นญี่ปุ่นในตลาด


จากความน่าสนใจในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในระยะยาว และปัจจัยลบที่มีน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แล้วจะเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นญี่ปุ่นอย่างไรบ้าง ลองมาเปรียบเทียบกองทุนหุ้นญี่ปุ่นในตลาด จาก 13 บลจ. 21 กองทุน แบ่งตามประเภทตลาดหุ้น เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

เน้นตลาดหุ้น TOPIX จาก 7 บลจ. 8 กองทุน หากพิจารณาจากผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี จะมีกองทุนหุ้นญี่ปุ่นที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก (Feeder Fund) เท่านั้น โดยมาจาก 5 บลจ. 6 กองทุน (ABJO B-NIPPON K-JP K-JPX PRINCIPAL-JEQ TMB-JPNAE) โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (ข้อมูล ณ 27 ก.ย. 65) อยู่ในช่วง       -5.11% ถึง 3.26% และมีค่าบริหารจัดการกองทุน (Management Fee) อยู่ในช่วง 1.61% ถึง 3.21% 

เน้นตลาดหุ้น NIKKEI 225 จาก 5 บลจ. 5 กองทุน หากพิจารณาจากผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี จะมีกองทุนหุ้นญี่ปุ่นที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก (Feeder Fund) เท่านั้น โดยมาจาก 4 บลจ. 4 กองทุน (ASP-NGF KF-JPINDX KT-JPFUND SCBNKK225 TMB-JE) โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (ข้อมูล ณ 27 ก.ย. 65) อยู่ในช่วง 4.78% ถึง 6.45% และมีค่าบริหารจัดการกองทุน (Management Fee) อยู่ในช่วง 1.07% ถึง 2.57%

เน้นตลาดหุ้นขนาดกลางและเล็ก จาก 5 บลจ. 5 กองทุน ซึ่งมีผลตอบแทนย้อนหลังเกิน 5 ปี และมีทั้งลงทุนผ่านกองทุนหลัก (Feeder Fund) และ กองทุนแบบ Fund of Fund (JSM KF-JPSCAP KT-JAPAN SCB-JPSMF UOBSJSM) โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (ข้อมูล ณ 27 ก.ย. 65) อยู่ในช่วง 0.27% ถึง 3.88% และมีค่าบริหารจัดการกองทุน (Management Fee) อยู่ในช่วง 1.61% ถึง 2.68% 

กองทุนหุ้นญี่ปุ่นที่เสนอขาย จะมีลักษณะการบริหารกองทุน ทั้งแบบ Active Management เน้นสร้างผลตอบแทนให้ได้มากกว่าตลาด และแบบ Passive Income เน้นสร้างผลตอบแทนตามดัชนี (Index) รวมถึงนโยบายป้องกันอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด หรือไม่ป้องกันเลย ซึ่งจะมีผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นด้วย หากมองผลตอบแทนย้อนหลัง หุ้นขนาดใหญ่ที่เน้นลงทุนในตลาดหุ้น NIKKEI 225 จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า กรณีที่ผู้ลงทุนต้องการลดหย่อนภาษี กองทุนรวมหุ้นญี่ปุ่นก็มีให้เลือกในรูปแบบ SSF และ RMF เช่นกัน (อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขภาษีก่อนตัดสินใจลงทุน) 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Morningstar, Finnomena Morning Brief วันที่ 27 ก.ย. 65

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



บทความโดย K WEALTH TRAINER สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เปรียบเทียบ 3 กลยุทธ์บริหารพอร์ตของกลุ่ม “กองทุนหุ้นเวียดนาม”
วิเคราะห์ตลาดหุ้นไทย กองทุนไหนน่าเก็บ
เทียบชัดๆ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกแบบไหนดี