K WEALTH / บทความ / Product Review / กองทุนรักษ์โลก ทางเลือกลงทุน ให้โลกยั่งยืน
01 มิถุนายน 2565
4 นาที

กองทุนรักษ์โลก ทางเลือกลงทุน ให้โลกยั่งยืน


​​​​

​​​​​​​​ “​​

​• หลายประเทศได้ร่วมกันทำตามข้อตกลงพิธีสารโตเกียว เช่น การตรากฎหมายเก็บภาษีบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูง ให้สิทธิพิเศษกับบริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้หลายธุรกิจเกิดการปรับตัว และเกิด Thematic Fund ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากธีม Climate Change

• ธุรกิจที่สามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้ ก็มีโอกาสทำเงินได้มหาศาล อย่างเช่น Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่ไตรมาส 2 ปี 2564 สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้สูงถึง 354 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ​​

• ธุรกิจที่ผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือธุรกิจผลิตน้ำยาแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถทำเงินได้มหาศาล ส่งผลให้ธีม Climate Change ถือเป็นธีมการลงทุนกระแสหลักและได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ​​

​​

​​


ปัจจุบันทางเลือกการลงทุนกองทุนรวมมีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากตัวเลือกการลงทุนเป็นรายประเทศ รายภูมิภาคแล้ว Thematic Fund ที่เน้นลงทุนเฉพาะธีม ก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ Theme ที่ช่วยเปลี่ยนแปลง และขับเคลื่อนโลกไปสู่อนาคต เหมาะสำหรับเสริมเข้าพอร์ตการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยง และสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุน ซึ่งหนึ่งในธีม ที่ได้รับความสนใจ และทำให้ผู้นำจากทั่วโลกต้องมาประชุมหาทางออกกันในงาน COP26 เมื่อปีที่แล้ว ก็คือธีมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ ซึ่งสร้างมหันตภัยทางธรรมชาติ และทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ​


แนวคิดตลาดคาร์บอน

ในระหว่างที่เกิดภาวะโลกร้อน ก็ได้เกิดแนวคิดช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง “ตลาดคาร์บอน” โดยหน่วยงานหรือบริษัทที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ สามารถนำก๊าซที่ลดลงมาแปลงเป็น”คาร์บอนเครดิต” เพื่อขายให้แก่บริษัทที่ต้องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินกำหนด ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก การหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซ การทำลาย หรือดักจับก๊าซเรือนกระจก เช่น การปลูกป่า หรือการพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน เพื่อนำคาร์บอนเครดิตไปขายในตลาด โดยแนวคิดดังกล่าวปรากฎขึ้นครั้งแรกในพิธีสารเกียวโตที่มีผลบังคับใช้ในปี 2548 โดยให้ประเทศพัฒนาแล้ว 37 ประเทศ ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดให้มีการออกกฎหมายระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี และเริ่มใช้มาตรการทางภาษีกับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกำหนด ซึ่งต่อในการประชุมอนุสัญญาฯที่โดฮามาก็ให้มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้



มูลค่าซื้อการขายของตลาดคาร์บอน

ในปี 2564 มูลค่าการซื้อขายใบอนุญาตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามที่กำหนด ในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคบังคับ สูงถึง 7.6 แสนล้านยูโร โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 164% โดยตลาด EU-ETS มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 6.83 แสนล้านยูโร หรือคิดเป็น 90% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด ขณะที่ตลาด WCI และ RGGI ในทวีปอเมริกาเหนือ มีมูลค่าซื้อขายรองลงมาที่ 4.9 หมื่นล้านยูโร ขยายตัวจากปีก่อน 6% นอกจากนี้ในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ ยังมีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งตลาดคาร์บอนก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากการที่หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงภัยพิบัตที่เกิดจากภาวะโลกร้อน และนำไปสู่การตรากฎหมายการปล่อยก๊าซเรือนจก จึงทำให้ความต้องการคาร์บอนเครดิตสูงขึ้นตาม ธุรกิจที่สามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้ ก็มีโอกาสทำเงินได้มหาศาล อย่างเช่น Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่ไตรมาส 2 ปี 2564 สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้สูงถึง 354 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



ทำไมธุรกิจต้องสนใจ?

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หลายภาคส่วนเกิดความตื่นตัวจนทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่าสูง ก็เกิดจากหลายประเทศได้ร่วมกันทำตามข้อตกลง เช่น ตรากฎหมายเก็บภาษีบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูง ให้สิทธิพิเศษกับบริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการเก็บภาษีศุลกากรด้านสิ่งแวดล้อม กับสินค้านำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยจะเริ่มเห็นกลุ่มประเทศ EU ใช้มาตรการดังกล่าวกับสินค้านำเข้าในปี 2566 ขณะที่สหรัฐฯอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการดังกล่าว ซึ่งแน่นอนแล้วว่าจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ของธุรกิจรูปแบบเดิมๆ ใช้พลังงานฟอสซิล ไม่ปรับเปลี่ยน จึงเสียเปรียบในการแข่งขัน ส่วนธุรกิจที่ลดการปล่อยก๊าซลงได้ จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากยิ่งขึ้นในอนาคต



ทำความรู้จัก K-CLIMATE

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากกฎเกณฑ์ นวัตกรรม การบริการ หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นธีมการลงทุนที่อยู่ในกระแสหลัก และได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ด้วยตัวเลขจำนวนเงินลงทุนที่ไหลเข้ากลุ่มกองทุนประเภทดังกล่าว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด จึงอาจเรียกได้ว่านี่คือหนึ่งในธีมการลงทุนแห่งอนาคต ซึ่งหากใครสนใจ และกำลังมองหาการลงทุนที่เกี่ยวกับธีมโลกร้อนอยู่ ก็มีกองทุนที่ตอบโจทย์อย่างกองทุน K-CLIMATE กองทุนที่คำนึงถึงปัญหา Climate Change ควบคู่กับการสร้างโอกาสการลงทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยมีกลยุทธ์การลงทุนผ่านกองทุนหลัก Lombard Odier Funds – Climate Transition, (USD), I Class A ซึ่งเน้นลงทุนในธุรกิจทั่วโลกที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มระบบการจัดการมลพิษ ตลอดจนสามารถปรับตัวเพื่อรองรับต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ มีการกระจายการลงทุน หลากหลายอุตสาหกรรม และหลายประเทศทั่วโลก แต่เน้นลงทุนในสหรัฐฯเป็นหลัก



ตัวอย่างธุรกิจที่ K-CLIMATE ลงทุน

Cummins บริษัทออกแบบและผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์พลังงานก๊าซธรรมชาติและไฮโดรเจน ประสบความสำเร็จในการผลิตรถไฟพลังงานไฮโดรเจนปราศจากมลพิษ 2 คันแรกของโลก โดยปี 2564 มีรายได้ 24,021 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

Steel Dynamics ผู้ผลิตเหล็กที่นำเหล็กเก่ามาผลิตใหม่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม 88% โดยปี 2564 มีรายได้ 18,408.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

NextEra Energy ผู้นำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลม แสงอาทิตย์ ไฮโดรเจนในสหรัฐฯ และแคนาดา โดยตั้งเป้ายกเลิกผลิตกระแสไฟฟ้าจากฟอสซิลภายในปี 2565 โดยปี 2564 มีรายได้ 17,069.00ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

Crown Holdings ผู้ผลิตกระป๋องเหล็กและอลูมิเนียมลดการใช้พลังงานและน้ำในการผลิต โดยตั้งเป้าการทิ้งขยะเป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยปี 2564 มีรายได้ 11,394.00 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

Carrier บริษัทพัฒนาน้ำยาแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยปี 2564 มีรายได้ 20,613ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



ผลการดำเนินงาน

กองทุนหลัก Lombard Odier Funds – Climate Transition, (USD), I Class A ของกองทุนรวม K-CLIMATE สามารถทำผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 จนถึง ณ วันที่ 21 มีนาคม 2565 ได้สูงถึง 79.63%



คำแนะนำ

ต้องยอมรับว่าผลตอบแทนของ Thematic Fund ไม่ได้ตอบโจทย์กับนักลงทุนทุกธีม แต่ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีอยู่ในพอร์ตการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนแบบเดิมๆ และสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต ดังนั้นการให้เวลาศึกษา ติดตามข่าวสาร คัดเลือกธีมการลงทุน รวมถึงให้เวลากับกองทุนได้ทำงานในระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ระยะสั้นจะมีความผันผวนเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ แต่ระยะยาวหากธีมดังกล่าวสามารถทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตได้ คุณภาพการเติบโตของธุรกิจและผลประกอบการ จะสะท้อนราคาที่ควรจะเป็นในอนาคตออกมา ในรูปของผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : KAsset ,KResearch ,SET ,JITTA , องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก


บทความโดย K WEALTH TRAINER มนัสวี เด็ดอนันต์กุล AFPT™
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

โอกาสทำเงินจากตลาดรถ EV
Semiconductor ชิปเล็กๆ สู่การขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่
ESG กองทุนรักษ์โลก ให้เงินงอกเงย

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ