K WEALTH / บทความ / Wealth Management / Semiconductor ชิปเล็กๆ สู่การขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่
03 ธันวาคม 2564
3 นาที

Semiconductor ชิปเล็กๆ สู่การขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

● Semiconductor วัสดุสำคัญที่ใช้กับผลิตภัณฑ์มากมาย ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมาราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ ก็เติบโตมาแล้วหลักสิบถึงหลักร้อยเปอร์เซ็นต์ 


● Semiconductor ที่ขาดแคลน คือ โอกาสการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถร่วมการเติบโตนี้ได้ง่ายๆ ผ่านกองทุนรวม

​“


          Semiconductor (เซมิคอนดักเตอร์) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ชิป คือ สารกึ่งตัวนำ ที่ใช้เป็นวัสดุในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอทีและอิเล็กทรอนิกส์อีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและยังคงมีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคต ในขณะที่ปัจจุบันชิปกลับกำลังขาดแคลน


ทำไม Semiconductor ถึงขาดแคลน​​​​​​​

​​​​​​​​​​​​

          ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือ Player มีน้อยราย เนื่องจาก ชิป เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ใช่ว่าใครจะเข้ามาผลิตหรือพัฒนาได้ง่ายๆ ในขณะที่ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีชิปเป็นส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วง COVID-19 ที่ผู้บริโภคมีความต้องการอุปกรณ์ไอทีสำหรับกิจกรรมที่บ้านไม่ว่าการดูหนังฟังเพลง หรือ Work From Home ประกอบกับเป็นช่วงที่ Cryptocurrency ได้ความนิยมมากขึ้น ประชาชนในบางประเทศก็หันมาขุด Cryptocurrency มากขึ้น ซึ่งก็ต้องมีการใช้อุปกรณ์ไอทีที่มีประสิทธิภาพเพียงพอด้วย 

          อีกทั้งชิปในอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความต่างกัน สายการผลิตชิปของสมาร์ทโฟนย่อมไม่สามารถผลิตชิปของรถยนต์ไฟฟ้าได้ โดยในช่วงต้นของ COVID-19 ที่ยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างกะทันหัน ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จึงลดกำลังการผลิตลงและลดคำสั่งซื้อชิปล่วงหน้าลง ส่งผลให้ผู้ผลิตชิปจำเป็นต้องเปลี่ยนสายการผลิตชิปให้อุปกรณ์ประเภทอื่นแทน เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ฯลฯ ที่กำลังการผลิตก็ยังอาจไม่เพียงพอกับความต้องการ และเมื่อยอดขายรถยนต์กลับมาเร็วกว่าคาดผู้ผลิตชิปก็ไม่สามารถเปลี่ยนสายผลิตกลับมาได้ทัน ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนชิปสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในวงกว้าง ​​​

โอกาสเติบโตไปกับ Semiconductor​​​​​​​

​​​​​​​​​​​​

          จากสถานการณ์ขาดแคลนชิป อุตสาหกรรมนี้จึงมีโอกาสเติบโตได้มาก ประกอบกับมี Player น้อยราย ทำให้รายได้และกำไรของ Player มีโอกาสเติบโตขึ้นได้ไม่ยากเลย ซึ่งเห็นได้จาก MSCI World Semiconductors and Semiconductor Equipment Index ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา (13 ธ.ค. 53 - 22 ต.ค. 64) เติบโตถึง 727% ซึ่งสูงกว่าดัชนีภาพรวมบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง NASDAQ ที่เติบโตเพียง 552% ในช่วงเวลาเดียวกัน 

          Key Player ในอุตสาหกรรมนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก โดยมีหลายบริษัทที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ย้อนหลังในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ณ 26 พ.ย. 64 ที่อยู่ในระดับที่สูงจนน่าประทับใจเลย ได้แก่

          1) บริษัทผู้ออกแบบชิป ที่เป็นผู้กำหนดสเปคชิปที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น 
               ● Apple ธุรกิจสมาร์ทโฟนที่หลายคนรู้จัก มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 34.5% 
               ● NVIDIA ทำเทคโนโลยีทางด้านกราฟิก มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 137.56% 
               ● Parade Technologies ที่รับงานออกแบบชิป มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 99.04%​ 

          (2) บริษัทรับสร้างผลิตชิป เช่น 
               ● TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) ผู้ผลิตชิประดับโลกจากไต้หวัน ที่ผลิตชิปให้กับ Apple มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 18.58% 
               ● Samsung Electronics ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกจากเกาหลี ที่มีการตั้งโรงงานผลิตชิปตั้งแต่ปี 2017 และมีแผนสร้างโรงงานเพิ่มเพื่อเริ่มผลิตในครึ่งหลังของปี 2024 มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 6.01% 
               ● Infineon Technologies AG บริษัทสัญชาติเยอรมัน มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 27.64% 

          (3) บริษัทผู้ผลิตและขายเครื่องผลิตชิป เช่น 
               ● ASML ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องจักรผลิตชิป มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 78.64% 
               ● Lasertec Corp ผู้ผลิตเครื่องจักรเพื่อทดสอบชิป มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 171.88% 

          หนึ่งในทางเลือกการลงทุนเพื่อให้เงินมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจ Semiconductor คือการลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในธีม Semiconductor และกองทุนที่มี Key Player อยู่ใน Top Holdings ของกองทุน โดยขอยกตัวอย่างกองทุนของ บลจ.กสิกรไทย ที่มี Top10 Holdings ในบริษัทดังกล่าว 3 กองทุน ได้แก่ ​​​


​กองทุน K-CHANGE-A(A)
​กองทุน K-EUROPE
​กองทุน K-ATECH
​สไตล์
​Active
​Active
​Active
​ระดับความเสี่ยงกองทุน
​6
​6
​6
​นโยบายการจ่ายเงินปันผล
​ไม่มี
​มี
​ไม่มี
​กองทุนหลัก
​Baillie Gifford Positive Change Fund - Class B accumulation (GBP)​
​Allianz Europe Equity Growth, Class AT-EUR
​JPMorgan Pacific Technology - Class C (acc) - USD
​รายละเอียดเพิ่มเติมกองทุนหลัก
​ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสังคมโดยรวม โดยมีการลงทุนกระจุกตัวประมาณ 25-50 หุ้น
​ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปไม่ต่ำกว่า 75% โดยเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่คาดว่ามีอัตราการเจริญเติบโตสูง
​ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี สื่อ และการสื่อสาร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ซึ่งอาจเน้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
​สัดส่วนการลงทุนใน บริษัท semiconductor ที่อยู่ใน 10 Top Holding ของกองทุน ณ 30 ก.ย. 64
​- 7.9% ASML
 - 6.3% TSMC

​- 8.6% ASML
- 4.7% Infineon Technologies AG



​- 5.5% TSMC
- 5.0% Lasertec Corp
- 4.8% Samsung
- 3.7% Parade Technologies



​ดัชนีชี้วัดกองทุน (Benchmark)
​MSCI ACWI Gross Total Return USD Index
​S&P Europe LargeMidCap Growth Net Total Return
​ไม่มี
​Front End Fee*
​1.50 %
​1.50 %
​1.50 %​
​Back-End Fee*
​ยกเว้น
​ยกเว้น
​ยกเว้น
*ข้อมูลค่าธรรมเนียม ณ 31 ต.ค. 64 จากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (fund fact sheet​)

          สำหรับใครที่ถือกองทุนดังกล่าวอยู่ หากประเมินว่า Semiconductor เป็นธุรกิจที่มีอนาคตไกล แนะนำให้ถือกองทุนดังกล่าวเพื่อคาดหวังผลตอบแทนจากแนวโน้มดังกล่าว แต่เพื่อเป็นการคุมความเสี่ยงเงินลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำให้มีสัดส่วนการลงทุนกองทุนดังกล่าวรวมกับกองทุนหุ้นอื่นๆ แล้ว อยู่ที่ 40%-55%ของเงินลงทุน และผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำแนะนำไม่เกิน 10%-20%ของเงินลงทุน ส่วนผู้ที่กำลังสนใจแต่ยังไม่เคยลงทุนกองทุนหุ้นมาก่อนแนะนำเริ่มต้นลงทุนในสัดส่วนที่ไม่เกิน 5%-10%ของเงินลงทุนที่มีก่อน แล้วหากผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ ค่อยพิจารณาทยอยเพิ่มเงินลงทุนภายหลัง

          หากต้องการลงทุนระยะยาวไปกับธุรกิจ Semiconductor พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย แนะนำลงทุนกองทุน K-CHANGE-SSF KCHANGERMF และ KEURMF ที่มีการลงทุนในกองทุนหลักเดียวกับกองทุน K-CHANGE-A(A) และ K-EUROPE ตามลำดับ ตามสิทธิทางภาษีและสัดส่วนตามที่ได้เล่าไป​ 

Disclamer : “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 
ขอบคุณข้อมูล KPB Game Changer Semiconductor: EP.2 รหัสลับขับเคลื่อนเทคโนโลยี ​​


บทความโดย K WEALTH GURU ราชันย์ ตันติจินดา (CFP®)
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

​กองทุนเปิดเค เอเชีย เทคโนโลยี หุ้นทุน

ดูเพิ่มเติม

​กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า

ดูเพิ่มเติม

​กองทุนเปิดเค ยูโรเปียน หุ้นทุน

ดูเพิ่มเติม

​เลือกลงทุนได้หลากหลาย ครบทั้งในและต่างประเทศ ผลตอบแทนระดับท็อป​​​

ดูเพิ่มเติม