K WEALTH / บทความ / Wealth Management / ESG กองทุนรักษ์โลก ให้เงินงอกเงย
01 ธันวาคม 2564
3 นาที

ESG กองทุนรักษ์โลก ให้เงินงอกเงย


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

• กระแสลงทุนบริษัทเน้น ESG ได้รับความนิยมในตลาดสหรัฐฯ ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 ด้วยเม็ดเงินลงทุน 39 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกองทุนเน้นหุ้นยั่งยืน ยังไม่รวมตราสารหนี้รักษ์โลก และหุ้นยั่งยืนโดยตรง 


• ผู้ผลักดันให้บริษัทใส่ใจสิ่งแวดล้อม คือ นโยบายภาครัฐ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้บริโภคอย่างเราๆที่สนับสนุนบริษัทเหล่านี้ รวมถึงนักลงทุนด้วย 


• ทางเลือกผู้ลงทุนใน Theme ESG ให้เงินงอกเงย มีทั้งให้กองทุนเฟ้นหาหุ้นรักษ์โลก ในรูปแบบกองทุนต่างประเทศ (FIF) / กองทุน ETF ในต่างประเทศ และลงทุนหุ้นรักษ์โลกเอง ผ่านหุ้นไทยในดัชนี SETHSI และหุ้นต่างประเทศ ที่เน้น ESG

​“


          เราคงเคยได้ยินการลงทุนในบริษัทรักษ์สิ่งแวดล้อม คำนึงถึงสังคม และมีบรรษัทภิบาลที่ดี หรือที่เรียกว่า ESG: Environmental Social และ Governance จากบทวิจัยในหุ้นเกี่ยวกับหุ้น ESG หลายประเทศ แสดงให้เห็นว่าการลงทุน Theme นี้ จะให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ดีกว่า หรือความผันผวนเฉลี่ยน้อยกว่า เรามาลองดูปัจจัยที่ทำให้เกิดกระแสลงทุนในบริษัทรักษ์โลกที่ให้เงินของเรางอกเงยดู

ใครบ้างเป็นแรงผลักดัน Theme ลงทุนรักษ์โลก​​​​​​​

​​​​​​​​​​​

          ต้องบอกว่าผู้ที่ช่วยให้เกิดการลงทุนใน Theme รักษ์โลกมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ นั่นคือ 

          1.Solution Provider หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการประหยัดพลังงานหรือใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ บริษัทผลิตชิป ที่จะทำให้ใช้พลังงานลดลง ซึ่งบริษัทที่เป็นผู้ผลิตสินค้าหรือบริการดังกล่าวยังมีจำนวนไม่มาก  
   
          2.Transition Candidate หรือกลุ่มผู้บริโภค ที่ช่วยส่งเสริมการใช้สินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการประหยัดพลังงาน คนกลุ่มนี้เป็นปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานทดแทน หรือใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งมีจำนวนมากกว่าประเภทแรก และเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องมาจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ไม่ได้เกิดจากคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ​​

ปัจจัยอะไรที่ทำให้กองทุนรักษ์โลกดีกว่ากองทุนอื่นๆ​​​

​​​​​​​​​​​

          ผลตอบแทนที่แตกต่างกันระหว่างบริษัทที่ใส่ใจกับไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม นั้น จะชัดเจนเมื่อมีการให้คุณประโยชน์กับบริษัทที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และให้(บทลง)โทษกับบริษัทที่ยังไม่ใส่ใจ จะทำให้เห็นความแตกต่างกันมากขึ้น และมากจากกำลังขับเคลื่อน 4 ด้าน นั่นคือ 

          1) ภาครัฐ (Government) จะออกนโยบายส่งเสริมให้บริษัทใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านการยกเว้นภาษี หรือเสียภาษีในอัตราที่ถูกกว่า ซึ่งจากการประชุม COP26 ที่มีประเทศร่วมพันธสัญญากว่า 200 ประเทศ รวมถึงประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ จีน ตกลงร่วมกันเรื่องการใช้พลังงานสะอาด และลดการปล่อยและเพิ่มการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เรียกกันว่า Net Zero 

          2) การพัฒนาด้านเทคโนโลยี (Technology) จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน หรือการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนถูกลงได้

          3) ผู้บริโภค (Consumer) หากใส่ใจ Theme รักษ์โลก และเน้นบริโภคสินค้าและบริการจากบริษัทที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จะเป็นแรงผลักดันที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ 

          4) นักลงทุน (Investor) ที่จะเน้นลงทุนในบริษัทที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเลือกที่จะไม่ลงทุนในบริษัทที่ไม่มี หรือมีความใส่ใจแต่ไม่มากพอ ทำให้ราคาหุ้นหรือผลประกอบการดีขึ้น 

          ซึ่งการประสานกันของ 4 กำลังขับเคลื่อนจะเป็นตัวทำให้เกิดความแตกต่าง ระหว่าง บริษัทที่ทำ กับ ไม่ทำ 

          จากงานวิจัยของ New York University (NYU)* ในช่วงเดือน ก.พ. 64 ที่รวบรวมมาจากผลงานวิจัยกว่า 1,000 ชิ้น ในช่วงปี 2015-2020 โดยสรุปมี 2 ประเด็นที่เกี่ยวกับผลประกอบการด้านการเงิน คือ 1. ร้อยละ 76 ของบริษัทที่หันมาใส่เรื่อง ESG จะมีผลประกอบการด้านการเงิน (Financial Performance) ที่ดีกว่าในระยะยาว และ 2. บริษัทที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ESG จะช่วยป้องกันปรับตัวลดลงของราคาหุ้น (Downsize Protection) โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า มีความเสี่ยงจากการปรับลดลงของราคาน้อยกว่า ในขณะที่ผลการดำเนินงานด้านการเงินดีกว่า และจะฟื้นตัวได้เร็วเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว 

          นอกจากนี้มีผลสำรวจของ Investors Business Daily: IBD** ที่เปิดเผยกระแสความนิยมลงทุนในบริษัทรักษ์โลก ESG ในสหรัฐฯ ที่มีเม็ดเงินลงทุน 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งไม่เพียงแต่นักลงทุนเท่านั้น ยังรวมไปถึงผู้จัดการทรัพย์สิน (Asset Manager) ที่ให้ทางเลือกนักลงทุนเพิ่มขึ้นผ่านการออกกองทุน ETF กว่า 36 กองทุนในสหรัฐฯ ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 ยิ่งตอกย้ำถึงความสนใจของนักลงทุนใน Theme รักษ์โลกนี้ และ 46% ของผู้ตอบแบบสำรวจ อยู่ในช่วงอายุ 25-46 ปี และคุ้นเคยกับการลงทุนใน Theme รักษ์โลกนี้ ​​

ทางเลือกลงทุนด้วยกองทุน/หุ้นรักษ์โลก เพื่อให้เงินงอกเงย​​​​​​​

​​​​​​​​​​​

          อ่านมาถึงตรงนี้ เห็นว่าการลงทุน Theme รักษ์โลก หรือ ESG มีความน่าสนใจ และมีทางเลือกลงทุน 2 แนวทาง ดังนี้ 

          1.ให้กองทุนไปเฟ้นหาบริษัท Theme รักษ์โลก ซึ่งในฐานะผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนต่างประเทศ (FIF) ในไทย เช่น K-CHANGE A(A), K-CLIMATE​ ซึ่งหาข้อมูลได้จาก Fund Fact Sheet​ หรือ Website ของ บลจ.กสิกรไทย หรือลงทุนตรงกองทุนต่างประเทศ (Direct Offshore) เช่น กองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของกองทุน K-CHANGEA(A) นั่นเอง โดยสามารถลงทุนผ่านบัญชี Offshore ได้เช่นกัน 

          2.เฟ้นหาหุ้น ESG เอง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ESG ในไทย ซึ่งหาดูรายชื่อบริษัท ESG ในไทยได้จากดัชนีหุ้นยั่งยืนของไทยThailand Sustainability Investment: SETTHSI ผ่านบัญชีซื้อขายหุ้นจากบริษัทหลักทรัพย์ หรือ หุ้น ESG ในต่างประเทศ เช่น หุ้นผู้ผลิตรถยนตไฟฟ้า หุ้นผู้ผลิตชิป ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศผ่านบัญชี Offshore ได้เช่นกัน

Disclamer : “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 

ที่มาของบทวิจัย: 

​ขอบคุณข้อมูลจาก : The Secret Sauce EP.466 การลงทุนสีเขียว ทิศใหม่ตลาดทุน โลกเขียว พอร์ตเขียว: https://bit.ly/3D8NpkM ​


บทความโดย K WEALTH GURU สุนิติ ถนัดวณิชย์ (CFP®)
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

​เปิดบัญชีหุ้น Offshore (KSOI) ซื้อกอง ETF หรือ หุ้นต่างประเทศโดยตรง​​

ดูเพิ่มเติม