Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​        โลกกำลังเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงอายุ โดยในปี พ.ศ. 2593 หรือ ในอีกไม่ถึง 30 ปีข้างหน้านี้ ทั่วโลกจะมีสัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 25% หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งโลก สำหรับประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2543 – 2544 จากประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และ กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society) หรือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ในอนาคตอันใกล้นี้




        จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับการระบาดของ Covid-19 ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยทั้งของตนเองและของส่วนรวมมากขึ้น ทำให้ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสุขภาพ (HealthTech) และ เทคโนโลยีการแพทย์ (MedTech) มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ก่อให้เกิด 4 เทรนด์ใหม่ “เทรนด์เทคโนโลยีดูแลสุขภาพ” โดยรายละเอียดมีดังนี้

    • Telehealth การดูแลสุขภาพ ให้คำปรึกษาทางไกล และ Telemedicine การแพทย์ทางไกล เพื่อลดปัญหาการเดินทาง
    • Wearable Medical Devices หรือ อุปกรณ์การแพทย์ที่สวมใส่ได้ เช่น วัดอัตราการเต้นหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด
    • การใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning ในการช่วยประมวลผลวิเคราะห์ทางการแพทย์ และดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
    • Personalized Medicine and Genomics การใช้เทคโนโลยีด้านจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์เพื่อการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล



และด้วยเทรนด์ดังกล่าว ทำให้ความต้องการใช้บริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนวัยแรงงาน การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลให้ค่าตอบแทนบุคคลากรทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ยารักษาโรคใหม่ ๆ มีต้นทุนที่สูง จึงส่งผลให้เงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลพุ่งสูงขึ้นทุกปีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดยในปัจจุบันเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลอยู่ในอัตราเฉลี่ยปีละ 5 - 8% หรือ จะขึ้นเป็น 2 เท่า ในทุกๆ 10 ปี ทั้งนี้นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่หนักอยู่พอสมควร ดังนั้นการวางแผนเกษียณอายุอย่างรอบคอบเพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมใน 2 ด้าน ได้แก่

    • การเตรียมความพร้อมด้านการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายพื้นฐาน การซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายเพื่อการผ่อนคลาย การชำระหนี้สิน และ เบี้ยประกันต่าง ๆ
    • การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกาย และ จิตใจ เช่น การเตรียมร่างกายให้แข็งแรงด้วยอาหาร และ การออกกำลังกาย, งานอดิเรกที่ชื่นชอบ และ การเตรียมใจรับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และ สภาพแวดล้อมรอบตัว



แน่นอนว่าการเตรียมความพร้อมทั้ง 2 ด้านนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย ประกอบกับสถานการณ์เงินเฟ้อทั้ง เงินเฟ้อทั่วไป และ เงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ทำให้การประมาณการเพื่อชีวิตหลังเกษียณทำได้ยากขึ้น ดังนั้น การแบ่งพอร์ตการลงทุน ควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยบริหารค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้ โดยรูปแบบการแบ่งพอร์ตสามารถเลือกทำได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น

การแบ่งพอร์ตการลงทุนและเลือกผลิตภัณฑ์ตามความเสี่ยงและช่วงเวลาที่ต้องการใช้เงิน
    • พอร์ตความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงต้นของการเกษียณ (เช่น ช่วงอายุ 60 - 65 ปี)
    • พอร์ตความเสี่ยงปานกลาง เช่น หุ้นกู้ กองทุนรวมผสม สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงกลางของการเกษียณ (เช่น อายุ 65 - 75 ปี)
    • พอร์ตความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงปลายของการเกษียณ (เช่น หลังอายุ 75 ปี เป็นต้นไป)
** ทั้งนี้ ให้ปรับลดความเสี่ยงลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพื่อรักษาเงินต้น

การแบ่งพอร์ตการลงทุนและเลือกผลิตภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์การใช้เงิน
    • ค่าใช้จ่ายพื้นฐานหลังเกษียณ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง
    • เลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีการจ่ายกระแสเงินสดสม่ำเสมอ ได้แก่ หุ้นกู้ที่มีการจ่ายดอกเบี้ย อสังหาริมทรัพย์ที่มีการจ่ายค่าเช่าสม่ำเสมอ หรือ แบบประกันบำนาญเป็นต้น
    • ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่บริหารได้ยากที่สุด เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลพุ่งสูงทุก ๆ ปี
    • แนะนำให้ โอนความเสี่ยงให้กับประกันสุขภาพ ควบคู่กับการสร้างพอร์ตการลงทุน โดย อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น หรือ อาจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันควบการลงทุน เพื่อนำไปชำระเบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่ไม่มีสวัสดิการมารองรับ

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง
K-GINCOME
กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอในทุกสภาวะตลาด (Income)

อ่านรายละเอียดกองทุน

ซื้อกองทุนง่าย ๆ ผ่าน K PLUS
​K-GINCOME-A(A)

​K-GINCOME-A(R) 

​K-GINCOME-SSF

​K-GINCOME-RMF


สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง
K-GHEALTH
สร้างพอร์ตการลงทุนให้เติบโตด้วยตอบรับสังคมผู้สูงอายุ
และ รับมือความผันผวนของภาวะตลาด ด้วยกองทุนรวม Health Care
ทำความรู้จักกองทุนสุขภาพ ได้ที่บทความ  : เจาะลึกลงทุนธุรกิจ Health Care ทางรอดสู้เศรษฐกิจถดถอย

อ่านรายละเอียด
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ ผ่าน K PLUS



ผลิตภัณฑ์ประกันแนะนำ
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย
ติดตามอ่านเพิ่มได้ในบทความ : เปรียบเทียบประกันเหมาจ่าย ดีจริง คุ้มจริง ต้องอันไหน


ประกันชีวิตควบการลงทุน Unit-Linked
ติดตามอ่านเพิ่มได้ในบทความ : เช็กเลย ประกันแบบไหนบ้าง ที่ให้ทั้งความคุ้มครอง และผลตอบแทน



ประกันสุขภาพคู่ประกันชีวิตควบการลงทุน
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ : เปิดบิลค่ารักษา เตรียมยังไงให้พอ



วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า

ที่มา :


กลับ

​​  โลกกำลังเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงอายุ โดยในปี พ.ศ. 2593 หรือ ในอีกไม่ถึง 30 ปีข้างหน้านี้ ประกอบกับการระบาดของ Covid-19 ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยทั้งของตนเองและของส่วนรวมมากขึ้น​ ทำให้ทิศทางของธุรกิจในอนาคตมีมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไป​