K WEALTH / บทความ / Wealth Management / สรุปครบจบที่นี่ ทุกเรื่องภาษีการลงทุน
26 มกราคม 2565
3 นาที

สรุปครบจบที่นี่ ทุกเรื่องภาษีการลงทุน


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

• เงินได้จากการลงทุน มีทั้งได้รับยกเว้น และเสียภาษี จะได้รับประโยชน์สูงสุด หากได้ลงทุนและได้กำไรตามระดับความเสี่ยง และเสียภาษีให้เหมาะสม จึงต้องเข้าใจหลักเกณฑ์การเสียภาษีให้ถูกต้อง รวมถึงภาษีคริปโทเคอร์เรนซี 

• การเลือกยื่นภาษีหรือปล่อยหัก ณ ที่จ่ายแล้วจบ (Final Tax) เป็นเทคนิคที่เลือกตอนยื่นภาษี ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการเสียภาษีที่ถูกลงได้ ดังนั้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้า และทำให้มีทางเลือกการยื่นภาษีได้ (สำหรับบางประเภทเงินได้) 

• สำหรับช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 65 มีสิทธินำค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายกองทุน และหุ้น เป็นค่าลดหย่อนจากมาตรการช้อปดีมีคืน หากเลยกำหนดดังกล่าว ยังมีเงินค่าซื้อในกองทุนลดหย่อนภาษี (SSF RMF) ที่เป็นทั้งค่าลดหย่อน และการลงทุนไปพร้อมๆกัน

​​“


          ในช่วงต้นปี เป็นช่วงของการยื่นแบบภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา และกระแสคริปโทเคอร์เรนซี ได้รับความนิยมจากการลงทุนอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทำให้กรมสรรพากร ออกมาให้ข้อมูลถึงผู้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี ให้เตรียมตัวยื่นภาษีด้วย อย่าว่าแต่เงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซีที่มีหลายรายการ เงินได้จากการลงทุนอื่นๆ ก็มีหลายประเภทเช่นกัน และความถี่ในการยื่นภาษีอย่างน้อยปีละครั้ง ทำให้ต้องทบทวนก่อนยื่นภาษีให้ครบถ้วน เรามาดูกันว่าภาษีการลงทุนมีอะไรกันบ้าง

เงินได้จากการลงทุนมีอะไรบ้าง​​​​​

          ลักษณะเป็นการสร้างรายได้จากเงินลงทุน ซึ่งจะเป็นเงินได้ประเภท ดอกเบี้ย กำไรจากส่วนต่างราคา หรือเงินปันผล เราเริ่มกันที่เงินได้จากที่ถูกกล่าวถึงในช่วงนี้ นั่นคือ คริปโทเคอร์เรนซี
 
ประเภทเงินได้
​เงินได้รับยกเว้นภาษี
​ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
​กลุ่มเงินได้จากคริปโทฯ​
​1. กำไรจากการเทรดคริปโท​เคอร์เรนซี
ไม่ได้รับยกเว้น*
​15%* (ไม่ Final Tax)
2. มูลค่าเหรียญ ที่ได้รับจากการ Stake เหรียญ
​ไม่ได้รับยกเว้น*​
​15%* (ไม่ Final Tax)
3. มูลค่าเหรียญที่ได้รับจากการขุด​
​ไม่ได้รับยกเว้น*​​
​15%* (ไม่ Final Tax)
​​กลุ่มเงินได้ากดอกเบี้ย​
​4. ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
​20,000 บาทแรก
​15%(Final Tax)
​​5. ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ พันธบัตรฯ หุ้นกู้เอกชน
ไม่รับยกเว้น
​15%(Final Tax)
​กลุ่มเงินได้จากเงินปันผลกองทุนรวม/หุ้น
6. เงินปันผลกองทุนรวมทั่วไป
​ไม่ได้รับยกเว้น10% (Final Tax)
7.เงินปันผลกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ได้รับยกเว้น 10 ปี นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
ไม่หัก ณ ที่จ่าย
8. เงินปันผลหุ้นรายตัว
ไม่ได้รับยกเว้น
10% (Final Tax)
กลุ่มส่วนต่างกำไรกองทุนรวม/หุ้น
9. ส่วนต่างกำไรกองทุนรวมทั่วไป
ได้รับยกเว้น
ไม่หัก ณ ที่จ่าย
10.ส่วนต่างกำไรหุ้นรายตัว
ได้รับยกเว้​**
ไม่หัก ณ ที่จ่าย

​**กรมสรรมพากรกำลังศึกษาแนวการจัดเก็บภาษีกำไรจากหุ้นรายตัว ด้วยมูลค่าซื
ขายรายเดือน​


​​

คำแนะนำในการจัดการภาษีเกี่ยวกับการลงทุน​​​​​

          การจัดการภาษีการลงทุน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.จัดการภาษีระหว่างปี กับ 2.ภาษีถูกหักไปแล้ว จัดการอย่างไรได้บ้าง มีรายละเอียดดังนี้ 

          1.จัดการภาษีระหว่างปี ต้องทำอย่างไรบ้าง 
          ด้วยเงินลงทุนเท่ากัน จะจัดการภาษีอย่างไรได้บ้าง คงต้องมาเข้าใจวิธีเสียภาษีของแต่ละประเภทเงินได้ พร้อมข้อแนะนำในการจัดการภาษี ดังนี้ 
          กลุ่มเงินได้จากคริปโทฯ (ข้อ 1-3) ระหว่างที่ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องแนวปฏิบัติในการยื่นภาษี ขอให้นักลงทุน ทบทวนบัญชีซื้อขาย (เทรด) การ Stake เหรียญ และบัญชีต้นทุนในการขุดเหรียญ เพื่อเตรียมข้อมูลไว้ก่อนการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ในปีถัดไป 
          เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ (ข้อ 4) สำหรับผู้ที่มีเงินฝากมากในระดับเกิน 1.0 ล้านบาทขึ้นไป ควรฝากเงินไม่เกิน 1,330,000 บาท (อัตราดอกเบี้ย 1.5%ต่อปี ระยะเวลาฝาก 1 ปี) ทำให้ดอกเบี้ยรับไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนเกินกว่า 1,330,000 บาท ให้ไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น หรือ กองทุนตราสารหนี้ที่ผลตอบแทนไม่เสียภาษี 
          เงินได้จากเงินปันผลกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (IFF) (ข้อ 7) และกลุ่มเงินได้จากส่วนต่างกำไรในกองทุนรวม/หุ้นรายตัว (ข้อ 9-10) ได้รับยกเว้นเงินได้ก็จริง แต่ควรพิจารณาความเสี่ยงจากการลงทุนควบคู่กับการได้รับยกเว้นภาษีด้วย 
          นอกจากการกระจายการลงทุนเพื่อให้เสียภาษีน้อยที่สุดแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากกองทุนลดหย่อนภาษี (SSF RMF) ที่จะช่วยเป็นทั้งค่าลดหย่อนภาษี และการลงทุนไปพร้อมๆกัน หากทำตามเงื่อนไขจะได้ประโยชน์สูงสุด 
           พิเศษในช่วงวันที่ 1 ม.ค.- 15 ก.พ. 65 เป็นช่วงระยะเวลาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามมาตรการช้อปดีมีคืน ที่นำค่าซื้อสินค้าและบริการที่(ส่วนใหญ่)เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท Tips!!! ตรวจสอบการลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถใช้สิทธิจากค่าธรรมเนียมการขาย (Front End Fee), ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back End Fee) รวมถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์(หุ้นรายตัว) ด้วย และให้เตรียมขอใบกำกับภาษีเพื่อยื่นภาษี ในช่วงต้นปี 66 ด้วย ยกตัวอย่าง กองทุน K-CHANGE มีค่าธรรมเนียมซื้อ 1.5% ส่งคำสั่งซื้อและได้ราคาหน่วยลงทุนในช่วงเวลา 1 ม.ค.-15 ก.พ. 65 จำนวนเงินลงทุนรวม 2.0 ล้านบาท สามารถนำค่าธรรมเนียมซื้อ จำนวน 30,000 บาท มาใช้ลดหย่อนภาษีตามมาตรการช้อปดีมีคืนได้ 

          2.ภาษีถูกหักไปแล้ว จัดการอย่างไรได้บ้าง 
          เป็นเทคนิคยื่นภาษี เพื่อจัดการภาษีถูกหักไปแล้ว มีอะไรกันบ้าง 
          เทคนิคการยื่นภาษีจากเงินได้ที่มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบ Final Tax 
          สำหรับเงินได้ตามข้อ 4-6 จะมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบ Final Tax คือ เงินได้ประเภทเหล่านี้ ถูกหัก ณ ที่จ่ายไป(ล่วงหน้า) ในอัตรา 10% หรือ 15% เราในฐานะผู้มีเงินได้ยังมีสิทธิเลือกเสียภาษีได้ 2 แนวทาง คือ 1.ปล่อยให้หัก ณ ที่จ่าย (ไม่ต้องนำมายื่น) หรือ 2. นำเงินได้นั้นๆมารวมคำนวณภาษีในแบบ ภ.ง.ด. ปลายปีอีกครั้ง คำแนะนำ คือ สำรวจฐานภาษีสุดท้ายของตนเอง เทียบกับ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าน้อยกว่า ให้นำมายื่นใหม่ในแบบ ภ.ง.ด. แต่ถ้ามากกว่า ให้ปล่อยหัก ณ ที่จ่ายแล้วจบไป 

ยกตัวอย่าง ดอกเบี้ยเงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ (อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15%) และมีเงินได้จากดอกเบี้ยประเภทเดียว 
กรณีเงินได้ < 560,000 บาท ควรนำเงินได้มารวมยื่นภาษีใหม่ จะทำให้ได้เงินคืน
กรณีเงินได้ > 560,000 บาท ควรปล่อยให้หัก ณ ที่จ่าย 15% 

          เทคนิคการยื่นภาษีจากเงินได้ที่มีสิทธิขอเครดิตภาษีเงินปันผล 
          เครดิตภาษีเงินปันผล คือ วิธีการคำนวณเงินได้ใหม่ เพื่อไม่ให้เงินได้ก้อนเดียวกัน เสียภาษีซ้ำซ้อนทั้งภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา จะทำให้ผู้มีเงินได้จากเงินปันผลหุ้น มีสิทธิจะนำเงินปันผลมารวมเป็นเงินได้เพื่อประเมินเงินได้ใหม่ในแบบ ภ.ง.ด. จะมีเฉพาะเงินได้ตามข้อ 8. เท่านั้น คำแนะนำ คือ สำรวจเงินปันผลที่ได้รับมาส่วนใหญ่ถูกจ่ายจากภาษีนิติบุคคลในอัตรา < อัตราภาษีบุคคลธรรมดา ควรปล่อยให้หัก ณ ที่จ่ายจบไป ในทางตรงข้าม ก็ควรนำมาเครดิตภาษีเงินปันผล หรือง่ายกว่านั้น ให้ลองคำนวณในระบบการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ของสรรพากร ว่าระหว่างการขอเครดิตภาษีเงินปันผล กับ ปล่อยให้หัก ณ ที่จ่าย 10% วิธีใดทำให้เราได้ประโยชน์ 
          อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงหลักในการประเมินเบื้องต้น หากมีหลายประเภทเงินได้ และหลายอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทดลองคำนวณดูอีกทีว่าวิธีไหนที่ได้ประโยชน์ (ปล่อยให้หักแล้วจบ หรือ นำมารวมคำนวณภาษีใหม่) ก็ใช้วิธีนั้น แต่มีจุดสำคัญ คือ ถ้านำดอกเบี้ยเงินฝาก ต้องนำมาทุกธนาคาร ปล่อยให้หัก ณ ที่จ่ายก็ต้องปล่อยทุกธนาคาร เช่นเดียวกับ กลุ่มเงินปันผลหุ้นและกองทุน (เป็นเงินได้ประเภทเดียวกัน ตั้งแต่ 20 ส.ค. 62) 
          พอเห็นกันแล้ว ว่าจะจัดการภาษีการลงทุนมีเทคนิคอย่างไรกันบ้าง แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย นั่นคือ เอกสารประกอบการประเมินหรือยื่นเงินได้ แบ่งเป็น 
          1.เอกสารที่ต้องไปติดต่อขอทุกครั้ง จะไม่ถูกส่งมาอัตโนมัติ เช่น เอกสารแสดงรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก 
          2.เอกสารที่ผู้จ่ายเงินได้จะส่งมาให้เสมอเมื่อมีเงินได้ เช่น เอกสารแสดงรายได้เงินปันผลกองทุน และ/หรือ หุ้น 
          กรณีเอกสารหาย ปัจจุบันจะมีช่องทางขอเอกสารทดแทน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (กรณีหุ้น) หรือ บลจ. (กรณีกองทุนรวม) 

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มาตรการช้อปดีมีคืน ค่าธรรมเนียมซื้อขายกองทุนลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 65
​​



บทความโดย K WEALTH GURU สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
&#160;

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!