K WEALTH / บทความ / Wealth Management / LTF ครบ (กำหนด) แล้ว ทำยังไงต่อดี
07 กุมภาพันธ์ 2565
3 นาที

LTF ครบ (กำหนด) แล้ว ทำยังไงต่อดี


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

● ปี 2565 เป็นปีแรกที่ครบกำหนดตามเงื่อนไขสำหรับผู้ที่ซื้อกองทุน LTF เมื่อปี 2559 โดยมีทางเลือกที่สามารถทำได้คือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน การขายหน่วยลงทุน หรือถือต่อ แนวทางในการเลือกคือ ดูว่าเรายังเสียภาษีหรือไม่ อายุเท่าไหร่ และรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเลือกได้แล้วหลังจากนั้นค่อยมาเลือกกองทุนปลายทาง 


● ยกตัวอย่าง หากนักลงทุนยังมีรายได้และต้องเสียภาษี ถ้าอายุน้อยกว่า 45 ปี แนะนำให้ลงทุนใน SSF ถ้าอายุมากกว่า 45 ปี แนะนำให้ลงทุนใน RMF เท่านั้น โดยสามารถเลือกตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

​​“


          หลังจากที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่หลายคนคุ้นเคย ได้เปลี่ยนเงื่อนไขถือครองจาก 5 ปี มาเป็น 7 ปีปฏิทิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และในปี พ.ศ. 2565 นี้เองถือเป็นปีแรกที่ครบตามเงื่อนไข ทางเลือกใดจะเหมาะสมที่สุดสำหรับนักลงทุน อย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าจะอ่านบทความนี้จบ

ทางเลือกเมื่อ LTF ครบกำหนด

          คำถามสำคัญที่นักลงทุนควรตอบตัวเองให้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทำยังไงกับกองทุน LTF ที่ครบกำหนดคือ ผลตอบแทนของกองทุน LTF ที่ลงทุนอยู่นั้นเป็นอย่างไร สถานะทางการเงิน และเป้าหมายการเงินตอนลงทุนในอดีตกับตอนนี้เปลี่ยนไปหรือไม่ จากนั้นมาดูทางเลือกเพื่อประกอบการตัดสินใจไปพร้อมๆกัน 

          โยกเงิน : สามารถทำได้ 2 กรณี คือ 
          1) เปลี่ยนจาก LTF เป็นกองทุนอื่น : ข้อดีคือเป็นการปรับสัดส่วนการลงทุน โดยหากนักลงทุนยังต้องเสียภาษีแนะนำให้ลงทุนใน SSF หรือ RMF แต่ถ้าไม่ได้ต้องการประโยชน์ทางภาษีแล้วอยากลงทุนก็เลือกให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งต้องไม่ลืมว่า LTF เป็นกองหุ้น ก็ถือโอกาสดูหน่อยว่าพอร์ตลงทุนตอนนี้ควรเพิ่มหุ้นเข้าไปอีก หรือควรไปลงอย่างอื่น ทั้งนี้การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนใน บลจ. เดิมส่วนใหญ่จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ในขณะเดียวกันการสับเปลี่ยนไปยัง บลจ. อื่นอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 

          2) ขาย LTF เอาเงินไปทำอย่างอื่น : เป็นการโยกเงินออกจากกองทุน LTF เพื่อไปทำตามวัตถุประสงค์ของตนเองในขณะนั้น เช่น เก็บสำรองเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือ สำรองไว้เป็นทุนการศึกษา ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีเป้าหมายใช้เงินชัดหรือยังไม่ชัด แต่ถ้ายังไม่รีบใช้ในวันนี้พรุ่งนี้ แนะนำให้เอาเงินไปพักในกองทุนรวมตลาดเงิน เช่น K-CASH ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำแต่มีสภาพคล่องสูง 

          ถือต่อ 
          เหมาะกับคนที่ไม่เสียภาษี และขาดทุนอยู่ โดยอยากรอเพื่อดูแนวโน้มของตลาดหุ้น เพราะ LTF ลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นไทยเป็นหลัก ดังนั้นหากนักลงทุนมองว่านโยบายของกองทุนที่ถืออยู่ยังน่าสนใจ มีแนวโน้มจะสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในอนาคต ประกอบกับบทวิเคราะห์ตลาดหุ้นไทยที่นักวิเคราะห์มองว่าโดยรวมยังอยู่ในทิศทางบวกเพราะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็สามารถถือต่อได้ อีกข้อดีของการถือต่อคือหากกองทุน LTF นั้นมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล ก็จะยังคงได้รับประโยชน์จากเงินปันผลไปเรื่อยๆ 

แล้วจะเลือกยังไง 
อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆคนคงมีในใจแล้วว่าจะทำยังไงต่อกับกองทุน LTF ที่ครบกำหนด ทีนี้มาดูกันต่อถึงวิธีการเลือกประเภทกองทุนเพื่อให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของแต่ละบุคดล ดังนี้…… 

          ● หากยังมีรายได้ต้องเสียภาษีต่อ 
           - อายุน้อยกว่า 45 ปี แนะนำให้ลงทุนในกองทุน SSF จะได้ประโยชน์สูงสุด โดยสามารถเลือกตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น รับความเสี่ยงได้ต่ำแนะนำเลือกกองทุน K-FIXEDPLUS-SSF อยากได้รับผลตอบแทนบ้างแต่ไม่ต้องเสี่ยงมาก แนะนำเลือกกองทุน K-GINCOME-SSF และหากอยากได้ผลตอบแทนสูงและพร้อมรับความเสี่ยงสูงแนะนำเลือกกองทุน K-CHANGE-SSF 
          - อายุมากกว่า 45 ปี แนะนำให้ลงทุนในกองทุน RMF เท่านั้น เพื่อเตรียมเกษียณพร้อมได้เงินทอนภาษี โดยทั่วไปมีโอกาสถือลงทุนสั้นกว่า SSF และสามารถเลือกตามระดับความเสี่ยง เช่น รับความเสี่ยงได้ต่ำแนะนำเลือกกองทุน KSFRMF รับความเสี่ยงได้แนกลางแนะนำเลือกกองทุน KGARMF และหากรับความเสี่ยงได้สูงแนะนำเลือกกองทุน KCHANGERMF 

           ● หากไม่มีรายได้ต้องเสียภาษีต่อ
           หลังจากได้ประโยชน์ทางภาษีมาแล้ว ถึงเวลาได้ประโยชน์จากการลงทุนต่อ สถานการณ์ช่วงนี้ก็ไม่แน่นอนแทนที่จะเอาเงินออกมาใช้ ควรสำรองเอาไว้ใช้เพื่อตอนเกษียณ เพื่อลูก หรือ เพื่อเป้าหมายระยะยาวๆ ดีกว่า แนะนำลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งสามารถเลือกตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น รับความเสี่ยงได้ต่ำแนะนำเลือกกองทุนตราสารหนี้ K-FIXED รับความเสี่ยงได้บ้างแนะนำเลือกกองทุน K-GINCOME และหากรับความเสี่ยงสูงได้แนะนำเลือกกองทุน K-STAR 

          ทั้งนี้ไม่ว่านักลงทุนจะตัดสินใจด้วยทางเลือกไหน ก็ต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุน LTF ที่ถืออยู่นั้นครบกำหนดตามเงื่อนไขมีอยู่จำนวนกี่หน่วย โดยจะต้องไม่ทำรายการเกินจำนวนหน่วยที่ครบกำหนด ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายผิดเงื่อนไขได้ ซึ่งสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากแอปพลิเคชั่น K-My Funds K PLUS หรือ สอบถามได้จาก บลจ. และ ในการเลือกลงทุนไม่ว่าจะเป็น SSF หรือ RMF ต้องดูระยะเวลาที่ถือครองด้วยว่าสามารถทำตามเงื่อนไขนั้นได้ 

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 

หมายเหตุ ขั้นตอนการโอนย้ายกองทุน Tax saving >> https://www.kasikornasset.com/th/Pages/services.html#tax-saving

บทความโดย K WEALTH GURU พธพร รัตนสิโรจน์กุล
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

คัดมาแล้วว่าเด็ดกับSSF RMFประหยัดภาษี

ดูเพิ่มเติม

กองทุนแนะนำจากหลักทรัพย์กสิกรไทย

ดูเพิ่มเติม