วางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี มีแต่ได้กับได้

วางแผนภาษีไม่ต้องรอปลายปีแล้วนะ เคล็ดลับวางแผนตั้งแต่ต้นปี ถัวเฉลี่ยทั้งปี หน่วยการลงทุนอาจ “ถูกกว่าที่คิด”

• สอบถามทางฝ่ายบุคคลของบริษัทว่าสามารถทำเรื่องบันทึกค่าลดหย่อนตั้งแต่ต้นปีได้หรือไม่ (ล.ย.01) เพราะถ้าหากสามารถบันทึกค่าลดหย่อนได้ตั้งแต่ต้นปี เมื่อเงินเดือนออก ก็จะได้รับเงินเดือนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย


• สำหรับผู้มีรายได้ประเภท 5-8 ที่มักต้องสูญเสียเงินระหว่างปีโดยไม่จำเป็น เพราะโดยปกติคนกลุ่มนี้ในแต่ละปีจะมีการยื่นภาษี 2 รอบ ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์เงินเดือนทั่วไป


• การเริ่มทยอยลงทุน หรือ DCA ในกองทุน SSF ตั้งแต่ต้นปี นอกจากช่วยให้มั่นใจว่าจะไม่พลาดใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ยังช่วยให้เงินมีโอกาสได้รับผลตอบแทนระหว่างปี แทนที่จะไปรอลงทุนสิ้นปีแค่ครั้งเดียว

วางแผนภาษีต้นปี คือการทำอะไรบ้าง?

หัก ณ ที่จ่ายให้น้อยที่สุด

สำหรับคนที่อยากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่พอดี จะได้ไม่เสียเวลาขอคืนภาษี เช่น มนุษย์เงินเดือน ที่ HR หักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือน (เช็กได้จากสลิปเงินเดือน) ควรสำรวจตัวเองว่ามีค่าลดหย่อนส่วนตัวหรือครอบครัวใดบ้างสามารถนำมาลดหย่อนได้ เพื่อจะได้ไม่เผลอลืมใช้สิทธิ โดยเฉพาะสิทธิที่ยังไม่คุ้นเคย นอกจากนี้มนุษย์เงินเดือนสามารถสอบถามทางฝ่ายบุคคลของบริษัทว่าสามารถทำเรื่องบันทึกค่าลดหย่อนตั้งแต่ต้นปีได้หรือไม่ (ล.ย.01) เพราะถ้าหากสามารถบันทึกค่าลดหย่อนได้ตั้งแต่ต้นปี เมื่อเงินเดือนออก ก็จะได้รับเงินเดือนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถูกหักภาษีล่วงหน้าน้อยลง

มี LTF หรือประกันครบกำหนด ต้องวางแผนต่อ

สำหรับคนที่มีกองทุน หรือประกันครบกำหนด แต่อยากลดหย่อนภาษีต่อด้วยเงินก้อนเดิม ไม่ว่าจะเป็น LTF หรือประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ที่ครบกำหนด สามารถเริ่มต้นลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ต้นปีผ่านกองทุนรวม SSF/RMF ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำเงินเดิมมาลดหย่อนภาษีต่อแล้ว การเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันนี้ เงินก็ทำงานตั้งแต่วันนี้ ยิ่งมีเวลาให้เงินทำงานมากเท่าใด พลังของผลตอบแทนทบต้นจะแสดงอานุภาพเพิ่มพูนความมั่งคั่ง ให้เรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากเงินก้อนเดียวกัน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย เช่น เริ่มทยอยลงทุน หรือ DCA ในกองทุน SSF ตั้งแต่ต้นปี นอกจากช่วยให้มั่นใจว่าจะไม่พลาดใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ยังช่วยให้เงินมีโอกาสได้รับผลตอบแทนระหว่างปี แทนที่จะไปรอลงทุนสิ้นปีแค่ครั้งเดียว รวมทั้งการทยอยลงทุน หรือ DCA กองทุน SSF ทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง และถือจนครบกำหนด 10 ปีเต็ม แบบวันชนวันตามเงื่อนไข (เช่น 1 ก.พ. 65 ครบกำหนด 1 ก.พ.75) ก็ทำให้มีผู้ลงทุนมีรายได้จาก SSF ครบกำหนดทุกเดือน แต่สำหรับคนที่มีเงินพร้อมสำหรับการวางแผนลงทุน SSF ตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่าจะเลือกจับจังหวะลงทุน หรือ DCA สามารถนำเงินทั้งหมดไปลงทุนกองทุน SSF ความเสี่ยงต่ำตั้งแต่ต้นปี แล้วทยอยจับจังหวะการลงทุน หรือ DCA สับเปลี่ยนไปกองทุนความเสี่ยงสูง ก็สามารถทำให้ SSF ครบกำหนดได้ไวขึ้นเกือบ 1 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนปลายปี


วางแผนเพื่อยื่นภาษีกลางปีให้ได้ประโยชน์สูงสุด

สำหรับผู้มีรายได้ประเภท 5-8 ที่มักต้องสูญเสียเงินระหว่างปีโดยไม่จำเป็น เพราะโดยปกติคนกลุ่มนี้ในแต่ละปีจะมีการยื่นภาษี 2 รอบ ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์เงินเดือนทั่วไป โดยต้องนำเงินได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี โดยคนส่วนใหญ่มักเลือกยื่นเฉพาะค่าลดหย่อนทั่วไป ซึ่งใช้สิทธิได้แค่ 50% ของสิทธิลดหย่อนเต็มปี ในขณะที่ตัวช่วยอย่างกองทุนลดหย่อนภาษี หรือประกัน ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้ตามจริงไม่เกินสิทธิสูงสุด จะช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายตอนครึ่งปีลง

จัดการเงินเพื่อรับประโยชน์ตั้งแต่ต้นปี พร้อมได้ประโยชน์ภาษี

สำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพตัวเอง การซื้อประกันสุขภาพแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้พร้อมรับมือกับค่ารักษาพยาาลได้เร็วขึ้น และอย่าลืมว่าหลังจากซื้อประกันสุขภาพแล้วยังมีระยะเวลารอคอยอีกประมาณ 30-120 วัน ก่อนที่ความคุ้มครองจะทำงาน การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ต้นปีนอกจากนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้มั่นใจว่าจะพร้อมรับมือกับค่ารักษาพยาบาลได้เร็วขึ้นสำหรับคำแนะนำในการเลือกกองทุน SSF RMF อิงตามระดับความเสี่ยง และการทำประกันสุขภาพ มีรายละเอียดดังนี้