ดัชนีที่เกี่ยวข้อง
• Dow Jones ปิดที่ 41,393.78 จุด +2.60% (9-13 ก.ย.)
• S&P 500 ปิดที่ 5,626.02 จุด +4.02% (9-13 ก.ย.)
• Nasdaq ปิดที่ 17,683.98 จุด +5.95% (9-13 ก.ย.)
ดัชนี NASDAQ 100 และสัญญาณเชิงบวก
ดัชนี NASDAQ 100 ซึ่งประกอบไปด้วยหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ เช่น Apple, Microsoft, Amazon, และ Tesla ได้รับผลบวกอย่างมากจากการที่นักลงทุนมองว่า Fed อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ ท่ามกลางข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เริ่มส่งสัญญาณถึงการชะลอตัว
ในสัปดาห์ที่แล้ว ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 230,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 227,000 ราย และสูงกว่าครั้งก่อนที่อยู่ที่ระดับ 228,000 ซึ่งสะท้อนถึงตลาดแรงงานที่เริ่มเผชิญกับภาวะการจ้างงานที่อ่อนแอลง
ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อในฝั่งการผลิต ก็ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม 2024 เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ขณะเดียวกัน ราคาพลังงานลดลง 0.9% และราคาสินค้าทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีสินค้าหลัก (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2% ซึ่งบ่งชี้ว่าค่าใช้จ่ายการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นในบางส่วน เช่น สินค้าในหมวดเครื่องจักรและบริการเช่าห้องพักที่มีราคาสูงขึ้นถึง 4.8%
และเมื่อเปรียบเทียบรายปี PPI เพิ่มขึ้นเพียง 1.7% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อในภาคการผลิตกำลังลดลงอย่างชัดเจน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้น 2.13% ปัจจัยนี้มีนัยสำคัญต่อทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากแรงกดดันด้านราคาเริ่มผ่อนคลาย สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สร้างความหวังว่า Fed จะมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินในเร็วๆ นี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ให้ชะลอตัวเกินไป
การคาดการณ์ลดดอกเบี้ยของ Fed
นักลงทุนเริ่มมองเห็นโอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยลง 0.25-0.5% ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 18 กันยายน 2024 นี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการชะลอตัวของตลาดแรงงานและแรงกดดันเงินเฟ้อที่เริ่มเบาบางลง การลดดอกเบี้ยจะช่วยส่งเสริมให้ต้นทุนในการกู้ยืมของธุรกิจและผู้บริโภคลดลง ซึ่งจะกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้หุ้นเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงซึ่งต้องพึ่งพาการเติบโตในระยะยาวได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ Fed ยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้าน ไม่เพียงแต่ข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจโลก เช่น ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในยุโรปและเอเชียที่เริ่มชะลอตัวเช่นกัน
แนวโน้มในอนาคตของตลาดหุ้นและเศรษฐกิจสหรัฐฯ
การที่ดัชนี NASDAQ 100 เพิ่มขึ้นถึง 5.95% ในสัปดาห์เดียวแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและการคาดหวังว่าธนาคารกลางจะมีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้นในนโยบายการเงิน ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญสำหรับหุ้นเทคโนโลยีเนื่องจากบริษัทในกลุ่มนี้ต้องพึ่งพาการเติบโตระยะยาวที่อาจต้องการเงินทุนจำนวนมาก อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนในเทคโนโลยี AI และพลังงานทางเลือก ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่นักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด
มุมมองการลงทุน
K WEALTH มองว่าแม้ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่เริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัว อีกทั้งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากนโยบายเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจนและยังไม่เห็นเสถียรภาพทางการเมืองว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาในช่วงก่อนหน้า ได้สะท้อนความคาดหวังเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยและกระแส AI ไปแล้ว ทำให้ในระยะถัดไปมี upside ค่อนข้างจำกัด K WEALTH จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ยังคงแนะนำให้เลือกลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive อย่างเช่น กลุ่ม Healthcare และ Infrastructure ที่ยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนจากการเลือกตั้งและเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
คำแนะนำผู้ที่ถือกองทุนหุ้นสหร้ฐฯ
o ผู้ที่ลงทุนกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ได้แก่ K-USA, K-USXNDQ, K-US500Xแนะนำถือต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำขายทำกำไรบางส่วน
o สำหรับผู้ที่ยังไม่มีกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำรอประเมินสถานการณ์
คำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
o หากรับความเสี่ยงได้บ้าง เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงทิศทางดอกเบี้ยขาลงที่ส่งผลดีกับทั้งตลาดหุ้นและตราสารหนี้ ขอแนะนำกองทุนผสม ได้แก่
กองทุน K-WPBALANCED** (ระดับความเสี่ยง 5 จาก 8 ระดับ) กองทุนกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ สามารถทยอยสะสมเป็น Core Port ได้ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำถึงปานกลาง
กองทุน K-WPSPEEDUP** (ระดับความเสี่ยง 5 จาก 8 ระดับ) กองทุนกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ สามารถทยอยสะสมเป็น Core Port ได้ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง
o หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
• หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
o กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
o กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
*กองทุน K-GHEALTH มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด