K WEALTH / บทความ / Market Update / ประเด็นร้อน : กนง. ยังคงดอกเบี้ยที่ 2.5% หลังรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
11 เมษายน 2567
2 นาที

ประเด็นร้อน : กนง. ยังคงดอกเบี้ยที่ 2.5% หลังรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ


​​​​​​​​​​​​​​​​“

• กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังจากรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทไม่ผันผวน หุ้นไทยยังคงปรับตัวขึ้นได้


• เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปีก่อน แต่เป็นอัตราที่ต่ำกว่าที่ กนง. ได้เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้



• ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นไทย เช่น K-STAR K-SET50 K-VALUE ฯลฯ หากถือในสัดส่วนที่ไม่มาก ยังคงสามารถถือต่อได้ แต่หากมีกำไรก็สามารถพิจารณาขายทำกำไร เพื่อนำเงินไปลงทุนกองทุนหุ้นอื่น ตาม K WEALTH Fund Recommend

10 เม.ย. 67 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ 29 พ.ย. 66 ดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ SET Index มีการปรับตัวขึ้น 0.5%เทียบกับวันก่อนหน้า โดยเป็นการขึ้นต่อเนื่องจากวันที่ 9 เม.ย. 67 ที่ขึ้นมาแล้ว 1.86% หลังคณะรัฐมนตรีมีมติออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายมาตการ



กนง. มีมติคงดอกเบี้ย

ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงอยู่ที่ 2.50%ต่อปี ซึ่งแม้ภาคเอกชนอาจมองว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยในอดีตหลัง พ.ย. 56 เป็นต้นมาหรือกว่า 10 ปี ส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคธุรกิจที่มีแหล่งเงินทุนจากการใช้สินเชื่อหรือออกหุ้นกู้ แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปีก่อน ซึ่งมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐที่น่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 67 กนง. จึงยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม แม้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 มาอยู่ที่ 2.6% จากเดือน พ.ย. 66 ที่ประมาณการไว้ที่ 3.2% ก็ตาม​


โดยกรรมการ 5 จาก 7 คน มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน อีกทั้งยังมองว่าแม้การลดดอกเบี้ยจะมีข้อดี เช่น ลดต้นทุนการเงินของภาคธุรกิจ หรือส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวเชิงบวกได้ แต่ก็ยังส่งผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย


สำหรับอัตราเงินเฟ้อไทยปี 67 ซึ่งเป็นตัววัดที่สะท้อนค่าครองชีพ จากราคาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่แพงขึ้นนั้น กนง. มีการ ปรับลดประมาณการเงินเฟ้อดังกล่าวลงจาก 2.0% มาอยู่ที่ 0.6% โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่า ทิศทางนโยบายการเงินของ กนง. ขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงินเป็นหลัก โดยยังคงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการทางการคลังที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยมองว่า กนง. ยังมีโอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. และ ส.ค. 67 อยู่



ผลกระทบ จากการคงดอกเบี้ย

​ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารและการออกหุ้นกู้ยังคงใกล้เคียงเดิม จึงไม่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำธุรกิจ อีกทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือนยังคงขยายตัวเพียงแต่ขยายในอัตราที่ลดลง ประกอบกับเมื่อ 9 เม.ย. ครม. มีมติออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายมาตรการ เช่น ลดค่าโอนและจดจำนองสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการปลูกสร้างบ้าน สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เป็นต้น ตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นวันที่ 10 เม.ย. จึงปรับขึ้นเล็กน้อย แม้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยก็ตาม


ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารและการออกหุ้นกู้ยังคงใกล้เคียงเดิม จึงไม่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำธุรกิจ อีกทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือนยังคงขยายตัวเพียงแต่ขยายในอัตราที่ลดลง ประกอบกับเมื่อ 9 เม.ย. ครม. มีมติออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายมาตรการ เช่น ลดค่าโอนและจดจำนองสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการปลูกสร้างบ้าน สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เป็นต้น ตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นวันที่ 10 เม.ย. จึงปรับขึ้นเล็กน้อย แม้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยก็ตาม


สำหรับค่าเงินบาทไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก หลังรู้ผลการประชุม กนง. เนื่องจากเงินบาทได้มีการแข็งค่าขึ้นมาต่อเนื่องในวันก่อนหน้าหลัง ครม.ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายไทยเทียบกับต่างประเทศ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท โดยภาคเอกชนคาดว่า กนง. จะรอทิศทางดอกเบี้ยของ FED ก่อนตัดสินใจ เนื่องจากโดยปกติหากมีการลดดอกเบี้ยลงเงินทุนจะย้ายออกไปสู่ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า


​ยกตัวอย่างเช่น ณ ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.5% ในขณะที่ของยุโรปอยู่ที่ 4.5% และสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.5% ซึ่งทำให้ที่ผ่านมาเงินทุนอาจมีการเคลื่อนย้ายออกจากประเทศไทยไปกลุ่มประเทศอื่นที่ให้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูงกว่า ส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศเหล่านั้น อย่างไรก็ตามการที่ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและต่างประเทศยังคงเดิม ค่าเงินจึงไม่ผันผวนมากนัก หลังการประชุม กนง. ครั้งนี้



K WEALTH กับมุมมองการลงทุนหุ้นไทย

K WEALTH ยังมีมุมมองเป็นกลาง โดยระยะสั้นตลาดหุ้นไทยรับรู้ข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการกระตุ้นในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ นโยบายดิจิตอลวอลเล็ต และการคงอัตราดอกเบี้ยของ กนง. แล้ว โดยแนะนำว่ายังต้องติดตามตัวเลขการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว ซึ่งยังไม่สูงเท่าช่วงก่อน COVID-19 และผลจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ ที่ต้องใช้เวลาถึงจะเห็นผล ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ซบเซาซึ่งเห็นได้จากการปรับลดประมาณการ GDP ของธนาคารโลก (World Bank) และการปรับลดมุมมองคำแนะนำภาคธนาคารไทยของ Citigroup


สำหรับผู้ที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นไทย เช่น K-STAR K-SET50 K-VALUE 

• กรณีถือในสัดส่วนที่น้อย เช่น ไม่ถึง 30%ของเงินลงทุน ยังคงสามารถถือต่อได้ แต่หากมีกำไรก็สามารถพิจารณาขายทำกำไรและนำเงินที่ได้จากการขายคืน ไปลงทุนกองทุนหุ้นกลุ่มอื่นที่มีโอกาสเติบโตได้สูงกว่ากองทุนหุ้นไทย 

• กรณีถือในสัดส่วนที่สูง เช่น มากกว่า 30%ของเงินลงทุน หากมีกำไรหรือขาดทุนไม่มากนัก สามารถพิจารณาขายคืนและนำเงินไปลงทุนกองทุนหุ้นกลุ่มอื่นแทน แต่หากขาดทุนเกิน 10% แนะนำรอช่วงที่ตลาดหุ้นหรือราคากองทุนปรับตัวขึ้น เพื่อหาจังหวะทยอยขายคืนได้ 

• กรณีต้องการนำเงินมาลงทุนในกองทุนหุ้นไทย K WEALTH แนะนำให้นำเงินไปลงทุนกองทุนอื่นที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตได้สูงกว่า เช่น กองทุน K-GHEALTH กองทุน K-HIT-A(A) กองทุน K-JPX-A(A) เป็นต้น หรือกองทุน K-WPULTIMATE ที่เงินลงทุนส่วนใหญ่ประมาณ 85% มีการลงทุนในหุ้นหลากหลายประเทศ ช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัวแค่บางประเทศได้


สำหรับกองทุนแนะนำอื่นๆ ของ K WEALTH นอกจากกองทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนสามารถพิจารณาได้จาก กองทุนแนะนำประจำเดือน เม.ย. K WEALTH Fund Recommend (คลิกทีนี่ ​)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก KResearch, KBank Markets Watch 

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” ​


บทความโดย K WEALTH Trainer ราชันย์ ตันติจินดา CFP®

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!