K WEALTH / บทความ / Wealth Management / ลงทุนแบบ DCA ยังไงให้รอดทุกสภาวะตลาด
20 กุมภาพันธ์ 2567
4 นาที

ลงทุนแบบ DCA ยังไงให้รอดทุกสภาวะตลาด


​​​​​​​​​​​​​​​​​​“

• การลงทุนแบบ DCA ในกองทุนผสมทุกเดือนช่วยกระจายเวลาการลงทุน ถัวเฉลี่ยต้นทุน มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว และยังสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ


• การกระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์ช่วยลดความผันผวนและคว้าโอกาสได้รับผลตอบที่ดีในทุกสภาวะตลาด ซึ่งสามารถทำได้ผ่านกองทุนผสม อย่างกองทุน K-PLAN2, K-PLAN3, WP-LIGHT, WP-BALANCED, WP-ULTIMATE




หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเสี่ยงกว่า” แม้ว่าการลงทุนในปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัวและตลาดมีความไม่แน่นอนสูง แต่การลงทุนก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เงินงอกเงย แล้วเราควรลงทุนอย่างไรถึงจะมีโอกาสรอดภายใต้ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน บทความนี้มีคำตอบ



ปีที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครรู้มาก่อน

​ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย และหลายเหตุการณ์ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น เช่น การปิดธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ของสหรัฐฯ วิกฤติอสังหาฯ ในจีน สงครามอิสราเอล-ฮามาส การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุน สินทรัพย์ลงทุน และนักลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์แต่ละประเภทไม่เหมือนกันทั้งในด้านบวกและลบ แต่ละสินทรัพย์จึงปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เท่ากันในแต่ละปี เช่น เมื่อเกิดสงครามระหว่างประเทศขึ้นได้ส่งผลกระทบในด้านลบต่อตลาดหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง ในขณะที่ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยกลับปรับตัวสูงขึ้น สินทรัพย์แต่ละประเภทจึงเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน



ทางที่ดีคือกระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์

เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น หรือสินทรัพย์ใดจะขึ้นหรือลงเมื่อไร ทางที่ดีคือ กระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์ ทั้งตราสารหนี้ หุ้น อสังหาฯ ทองคำ หรือน้ำมัน ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนแบบกระจุกตัวในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง ช่วยลดความผันผวนและยังสามารถคว้าโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในทุกสภาวะตลาด ​



ที่มา: Novel Investor​


จากตารางผลตอบแทนของสินทรัพย์ตั้งแต่ปี 2009-2023 จะเห็นว่าแต่ละสินทรัพย์ซึ่งแสดงด้วยสีที่แตกต่างกันให้ผลตอบแทนไม่เท่ากันในแต่ละปี บางปีสามารถทำผลตอบแทนได้สูงมาก แต่บางปีกลับทำผลตอบแทนได้น้อยถึงขั้นติดลบ ซึ่งไม่มีสินทรัพย์ใดเลยที่สามารถทำผลตอบแทนได้ดีต่อเนื่องกันทุกปี ดังนั้น การกระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์แบบสินทรัพย์ AA (Asset Allocation Portfolio) จึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดี



วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคนไม่มีเวลาคือ ลงทุนผ่านกองทุนผสม

การลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์สามารถทำได้ผ่านกองทุนผสมเพราะเป็นกองทุนที่ตอบโจทย์เรื่องการกระจายการลงทุนเป็นอย่างดี โดยมีการกระจายการลงทุนทั้งในหุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือกต่างๆ อย่างอสังหาฯ ทองคำ น้ำมัน และยังมีผู้จัดการกองทุนคอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เหมาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลเรื่องการลงทุนหรือไม่มีเวลาติดตามตลาดและสถานการณ์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ สำหรับกองทุนผสมแนะนำในช่วงนี้ ได้แก่

เน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก ซึ่งเป็นกองทุนผสมแบบกำหนดสัดส่วน ​การลงทุนในหุ้น ได้แก่ 


- กองทุน K-PLAN2 ความเสี่ยงระดับ 5 ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30% ที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝาก 


- กองทุน K-PLAN3 ​ ความเสี่ยงระดับ 5 ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 55% ที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝาก 


ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนผสมที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ได้แก่ 


- กองทุน WP-LIGHT ​ ความเสี่ยงระดับ 5 เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 60-80% ผ่านกองทุน K-SF-A เป็นหลัก ที่เหลือลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือก 


- กองทุน WP-BALANCED ​ ความเสี่ยงระดับ 5 ลงทุนในตราสารหนี้ 30-50% ผ่านกองทุน K-SF-A และลงทุนในหุ้น 40-60% ผ่านกองทุนหุ้นไทยและต่างประเทศ เช่น กองทุน K-US500X-A(A), K-SET50, K-EUX, K-JPX-A(A) ที่เหลือลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก 


- กองทุน WP-ULTIMATE ​ ความเสี่ยงระดับ 6 เน้นลงทุนในหุ้น 80-100% ผ่านกองทุนหุ้นไทยและต่างประเทศ เช่น กองทุน K-US500X-A(A), K-EUX, K-INDX, K-ASIAX, K-JPX-A(A) ที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือก



จะดีขึ้นอีกถ้าทยอยลงทุนกองทุนผสมแบบ DCA ทุกเดือน

DCA (Dollar Cost Averaging) เป็นการลงทุนสม่ำเสมอด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือน โดยไม่สนใจว่าราคาของสินทรัพย์ในเวลานั้นเป็นเท่าไร ช่วยตัดเรื่องอารมณ์ความรู้สึกในการลงทุนออกไป ช่วยกระจายเวลาการลงทุน ช่วยถัวเฉลี่ยต้นทุน มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว และยังสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมออีกด้วย


ตัวอย่าง การลงทุนแบบ DCA ในกองทุน WP-ULTIMATE ปี 2566


​วันที่ลงทุน
​​​ลงทุน DCA เดือนละ 
​มูลค่าหน่วยลงทุน หน่วยละ
​จำนวนหน่วยที่ได้รับ
​04/01/2566
​10,000 บาท
​8.4043 บาท
​1,189.8671 หน่วย​
01/02/2566
​10,000 บาท
​8.6718 บาท
​1,153.1631 หน่วย
01/03/2566
​10,000 บาท
​8.5086 บาท
​1,175.2815 หน่วย
​03/04/2566
​10,000 บาท
​8.5546 บาท
​1,168.9617 หน่วย
​28/04/2566
​10,000 บาท
​8.5736 บาท
​1,168.9617 หน่วย
​01/06/2566
​10,000 บาท
​8.5204 บาท
​1,173.6538 หน่วย
​03/07/2566
​10,000 บาท
​8.8130 บาท
​1,134.6874 หน่วย
​02/08/2566
​10,000 บาท
​8.8575 บาท
​1,128.9867 หน่วย
​05/09/2566
​10,000 บาท
​8.8069 บาท
​1,135.4733 หน่วย
​28/09/2566
​10,000 บาท
​8.4707 บาท
​1,157.6754 หน่วย
​02/11/2566
​10,000 บาท
​8.4707 บาท
​1,180.5400 หน่วย
​01/12/2566
​10,000 บาท
​8.7108 บาท
​1,148.0002 หน่วย


จากตัวอย่างจะเห็นว่า หากนำเงิน 10,000 บาท มาลงทุนแบบ DCA ในกองทุน WP-ULTIMATE ทุกเดือนในปี 2566 จำนวนเงินลงทุนรวม 120,000 บาท ได้หน่วยลงทุนทั้งสิ้น 13,912.6614 หน่วย ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 8.6252 บาทต่อหน่วย โดยปัจจุบัน ณ 7 ก.พ. 67 มูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.0873 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมาเป็น 126,428 บาท ได้กำไร 6,428 บาท หรือคิดเป็น 5.36% ซึ่งผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าการลงทุนด้วยเงินก้อน 120,000 บาทเพียงครั้งเดียวในช่วงกลางปีหรือปลายปี 2566 และถือยาว (Buy & Hold)


ตัวอย่าง การลงทุนแบบ Buy & Hold ในกองทุน WP-ULTIMATE ในช่วงเวลาที่ต่างกันของปี 2566


​วันที่ลงทุน
​ ลงทุนครั้งเดียว 
มูลค่าหน่วยลงทุน หน่วยละ
​มูลค่าหน่วยลงทุน หน่วยละ​
​04/01/2566
​120,000 บาท
​8.4043 บาท
​14,278.4051 หน่วย
​03/07/2566
​120,000 บาท
​8.8130 บาท 
​13,616.2487 หน่วย
​01/12/2566
​120,000 บาท
​8.7108 บาท​
​13,776.0022 หน่วย

จากตัวอย่างจะเห็นว่า หากนำเงินก้อนจำนวน 120,000 บาท มาลงทุนเพียงครั้งเดียวในวันที่ 3 ก.ค. 66 หรือวันที่ 1 ธ.ค. 66 จะได้ต้นทุนที่สูงกว่าต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนแบบ DCA และได้ผลตอบแทนน้อยกว่า โดยปัจจุบัน ณ 7 ก.พ. 67 มูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.0873 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าเงินลงทุนในวันที่ 3 ก.ค. 66 เพิ่มขึ้นมาเป็น 123,735 บาท ได้กำไร 3,735 บาท หรือคิดเป็น 3.11% ส่วนมูลค่าเงินลงทุนในวันที่ 1 ธ.ค. 66 เพิ่มขึ้นมาเป็น 125,186 บาท ได้กำไร 5,186 บาท หรือคิดเป็น 4.32% ทั้งนี้ หากนำเงินก้อนจำนวน 120,000 บาท มาลงทุนเพียงครั้งเดียวในวันที่ 4 ม.ค. 66 จะได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนแบบ DCA และได้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยปัจจุบัน ณ 7 ก.พ. 67 มูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.0873 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าเงินลงทุนในวันที่ 4 ม.ค. 66 เพิ่มขึ้นมาเป็น 129,752 บาท ได้กำไร 9,752 บาท หรือคิดเป็น 8.13%


ในช่วงตลาดขาขึ้นการลงทุนแบบ DCA จะช่วยถัวเฉลี่ยต้นทุน แต่อาจให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าการลงทุนด้วยเงินก้อนเพียงครั้งเดียวที่ซื้อในจังหวะที่ดี ในทางกลับกัน ช่วงตลาดขาลง การลงทุนแบบ DCA อาจจะขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนด้วยเงินก้อนเพียงครั้งเดียว เพราะไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าหน่วยลงทุนในอนาคตจะเป็นเท่าไร ซื้อตอนไหนจะได้ราคาเท่าไร และคงไม่มีใครสามารถจับจังหวะการลงทุนได้ถูกต้องทุกครั้ง การทยอยลงทุนแบบ DCA ในกองทุนผสมทุกเดือนจึงเป็นวิธีที่ดี


โปรโมชันพิเศษ

รับเครดิตเงินคืน สูงสุด 1,000 บาท เมื่อลงทุนรายเดือนแบบ DCA ในกลุ่มกองทุนผสมที่ร่วมรายการได้แก่ กองทุน K-PLAN2, K-PLAN3, RKBC, WP-LIGHT, WP-BALANCED, WP-SPARK, WP-SPEEDUP, WP-ULTIMATE, K-GINCOME-A(A), K-GINCOME-A(R) ขั้นต่ำเดือนละ 5,000 บาท ติดต่อกันครบ 3 เดือน ในช่วงระหว่างวันที่ 2 ม.ค. - 31 มี.ค. 67 ดูรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่ โปรโมชัน DCA กองทุน ​ 


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 

• บลจ.กสิกรไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, Novel Investor


​.​

บทความโดย K WEALTH Trainer สุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ CFP®

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!