หากใครได้ติดตามละครหลังข่าวที่กำลังออนแอร์อยู่ในขณะนี้คงจะได้ดูละครเรื่อง “สืบลับหมอระบาด” ซึ่งเป็นละครแนวสืบสวนสอบสวนการแพทย์ โดยมีณเดช คูกิมิยะ คุณหมอระบาดที่คอยเฝ้าระวังป้องกัน หาเหตุ และหาทางระงับภัยจากโรคระบาดต่างๆ ได้ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในวงกว้าง และยังมีคุณหมอรักษาโรคมะเร็งที่ทำวิจัยเพื่อหายามารักษามะเร็งแบบครอบจักรวาล ถึงแม้จะเป็นเพียงพล็อตเรื่องที่สร้างขึ้นมาให้สมจริง แต่การรักษาโรคมะเร็งเป็นเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสนใจ ไม่ว่าจะคอยติดตามข่าวสาร หรือเฝ้าดูเทคโนโลยีการรักษาผ่านละครก็ตาม เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย แล้วเราจะมีวิธีป้องกัน รับมือหรือจัดการกับโรคร้ายแรงนี้ได้อย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้
สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็ง
จากข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทยปี 2565 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่มีจำนวน 140,000 คน/ปี หรือประมาณ 400 คน/วัน ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่ตรวจพบโรคมะเร็ง เนื่องจากปัจจุบันมีอัตราการเกิดมะเร็งในคนอายุน้อยเพิ่มขึ้น โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่
1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
2. มะเร็งปอด
3. มะเร็งเต้านม
4. มะเร็งลำไส้และทวารหนัก
5. มะเร็งปากมดลูก
ค่ารักษาโรคมะเร็ง
คราวนี้ลองมาดูค่ารักษาโรคมะเร็งกันบ้าง หลายคนทราบดีว่าโรคมะเร็งเป็นโรคที่ใช้เวลาในการรักษา ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดจะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน และปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาโรคมะเร็งอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่แตกต่างกันไป สำหรับวิธีรักษาโรคมะเร็งที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่
- ยาเคมีบําบัด (Chemotherapy)
เป็นการรักษาด้วยกลุ่มสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งและทำลายเซลล์ที่เจริญเติบโตหรือแบ่งตัวอย่างรวดเร็วผิดปกติ ซึ่งยาเคมีบำบัดจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายรูปแบบ ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไปได้และตายในที่สุด โดยวิธีนี้สามารถรักษาโรคมะเร็งบางชนิดให้หายขาดได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลูกอัณฑะ
การรักษาด้วยวิธียาเคมีบำบัดมีค่ารักษาอยู่ที่ประมาณ
92,000-144,400 บาท*
- การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy)
เป็นการรักษาโรคมะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยให้ยาหรือสารไปยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง การรักษาจึงแม่นยำ ตรงจุด และมีผลข้างเคียงน้อย วิธีนี้เหมาะกับการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม
การรักษาด้วยวิธีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงมีค่ารักษาอยู่ที่ประมาณ 2.7 - 4.6 ล้านบาท*
- ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
เป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือวิธีการกระตุ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ภูมิคุ้มกันสามารถมองเห็นเซลล์มะเร็งว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในร่างกายและสามารถควบคุม กำจัดหรือทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การรักษาวิธีนี้เหมาะกับโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะลุกลาม มะเร็งไตที่ดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น มะเร็งศีรษะและลำคอที่ดื้อต่อเคมีบำบัด
การรักษาด้วยวิธียาภูมิคุ้มกันบำบัดมีค่ารักษาอยู่ที่ประมาณ
3 – 15 ล้านบาท* ซึ่งสูงกว่าวิธีอื่นๆ ค่อนข้างมาก
หากกังวลเรื่องโรคร้ายแรงต้องทำอย่างไร
สำหรับคนที่กังวลโรคร้ายแรงซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง การมีความคุ้มครองโรคร้ายแรงไว้ก็ช่วยให้เราอุ่นใจมากขึ้น โดยแบบประกันโรคร้ายแรงที่พบในปัจจุบันมีลักษณะดังนี้
- คุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรง หรือ คุ้มครองเฉพาะโรค
หากพูดถึงโรคที่คุ้มครอง แบบประกันโรคร้ายแรงในปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบที่ให้ความคุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรง เช่น คุ้มครอง 35 โรคร้ายแรง 47 โรคร้ายแรง 62 โรคร้ายแรง 70 โรคร้ายแรง หรือ 81 โรคร้ายแรง ซึ่งค่อนข้างครอบคลุมโรคร้ายแรงทั้งหมด หากกังวลโรคไหนก็ดูในลิสต์ที่คุ้มครองเลย และแบบที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความกังวลของผู้ทำประกัน
- คุ้มครองทุกระยะ หรือ คุ้มครองบางระยะ
สำหรับระยะของโรคร้ายแรงจะแบ่งออกเป็นระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรง ซึ่งแต่ละโรคจะนิยามคำว่าระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรงที่แตกต่างกัน เช่น โรคมะเร็ง ระยะเริ่มต้นคือระยะไม่ลุกลาม ส่วนระยะรุนแรงคือระยะลุกลาม สำหรับโรคไต ระยะเริ่มต้นคือการผ่าตัดไตหนึ่งข้าง ส่วนระยะรุนแรงคือไตวายเรื้อรัง แบบประกันในปัจจุบันจึงมีให้เลือกทั้งแบบที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงทุกระยะ หรือคุ้มครองบางระยะ เช่น คุ้มครองเฉพาะระยะรุนแรงเท่านั้น
- ตรวจเจอรับเงินก้อน หรือ จ่ายเป็นวงเงินค่ารักษา
เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง แบบประกันโรคร้ายแรงในปัจจุบันจะมีแบบที่จ่ายผลประโยชน์เป็นเงินก้อนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ คือให้ผู้ทำประกันนำเงินส่วนนี้ไปรักษาตัวเอง เช่น ทำประกันที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงแผน 5 ล้านบาท หากตรวจพบโรคมะเร็งระยะลุกลาม บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยขน์ให้จำนวน 5 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีแบบที่จ่ายเป็นวงเงินค่ารักษาตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำประกันที่ให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งแผน 5 ล้านบาท เมื่อตรวจพบโรคมะเร็งไม่ว่าระยะไหน บริษัทฯ จะจ่ายค่ารักษาให้ตามจริงภายใต้วงเงินความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
- ตรวจเจอ จ่ายแล้วจบ หรือ จ่ายต่อในกลุ่มโรคอื่นที่พบ
สำหรับแบบประกันที่จ่ายผลประโยชน์เป็นเงินก้อนยังแบ่งออกเป็นกรณีที่ตรวจเจอโรคร้ายแรง บริษัทฯ จ่ายเงินก้อนแล้วจบหรือความคุ้มครองสิ้นสุดลง กับกรณีที่บริษัทฯ จ่ายเงินก้อนแล้วยังไม่จบ หากในเวลาต่อมาตรวจพบว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงในกลุ่มโรคอื่นอีก บริษัทฯ ก็จะจ่ายเงินก้อนให้ด้วย เช่น ทำประกันที่ให้ความคุ้มครอง 35 โรคร้ายแรง แผน 1 ล้านบาท เมื่อตรวจพบโรคไตวายเรื้อรัง บริษัทฯ จะจ่ายเงินก้อนให้ 1 ล้านบาท ในเวลาต่อมา ตรวจพบโรคมะเร็งระยะลุกลาม บริษัทฯ จะจ่ายเงินก้อนให้อีก 1 ล้านบาท รวมผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งสิ้น 2 ล้านบาท
- หากไม่เคลม มีเงินคืน หรือ ไม่มีเงินคืน
สาเหตุที่หลายคนยังไม่ตัดสินใจทำประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงเนื่องจากมองว่าเป็นการจ่ายเบี้ยทิ้งกรณีที่เราทำประกันไว้ แต่ไม่ได้เจ็บป่วย ก็ไม่ได้เคลมประกัน ปัจจุบันจึงมีแบบประกันโรคร้ายแรงที่ตอบโจทย์ความกังวลในเรื่องนี้ โดยหากไม่ป่วยเป็นโรคร้าย ไม่ได้เคลมประกันก็จะมีเงินคืนให้ โดยมีทั้งแบบที่มีเงินคืนให้บางส่วนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ทุกๆ 5 ปี หรือแบบที่มีเงินคืนให้เท่ากับทุนประกันที่ทำไว้เมื่อครบกำหนดสัญญา
คำแนะนำในการเลือกประกันโรคร้ายแรง
สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันโรคร้ายแรงสักฉบับติดตัวไว้ แนะนำให้เลือกแบบประกันที่มีลักษณะตรงตาม 3 ข้อดังนี้
1. แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองในทุกระยะของโรค
ไม่ว่าจะตรวจพบโรคร้ายแรงระยะไหนก็ตามจะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่ ถ้าตรวจพบจะเจอโรคร้ายแรงระยะไหน ดังนั้น หากเลือกแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองในทุกระยะของโรคจะช่วยให้เราอุ่นใจ หมดกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายทุกระยะ
2. แบบประกันที่ครอบคลุมวิธีการรักษาสมัยใหม่
การรักษาสมัยใหม่เป็นวิธีการรักษาที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมากเพราะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีโอกาสหายป่วยสูง ผลข้างเคียงน้อย และผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แม้จะแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงก็ตาม ยิ่งมีความคุ้มครองส่วนนี้ ยิ่งมีโอกาสได้รับการรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะมีได้ในแต่ละช่วงเวลา ถือเป็นการเปิดทางเลือกในการรักษาได้อย่างไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
3. แผนประกันที่ให้วงเงินความคุ้มครองประมาณ 1 - 3 ล้านบาท
แนะนำให้เลือกแผนประกันที่ให้วงเงินความคุ้มครองอยู่ที่ประมาณ 1-3 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับวิธีการรักษาโรคสมัยใหม่ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะใครๆ ก็อยากได้รับการรักษาที่ดีที่สุด เพื่อให้ตัวเองกลับมาแข็งแรงได้เร็วที่สุดนั่นเอง
หากจะให้แนะนำแบบประกันที่ตอบโจทย์ทั้ง 3 ข้อดังกล่าวเป็นตัวอย่างเพื่อให้ทุกคนได้ใช้ประกอบการเปรียบเทียบและตัดสินใจคือ ความคุ้มครอง “แคร์ พลัส (Care Plus)” ที่ดูแลค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังทุกระยะ ทั้งค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุด 10 ล้านบาทต่อปี และครอบคลุมการรักษาสมัยใหม่ เช่น การรักษาแบบเคมีบำบัด แบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การปลูกถ่าย Stem Cell ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) การปลูกถ่ายไต การล้างไตแบบประสิทธิภาพสูง และการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยค่าเบี้ยสำหรับคนอายุ 40 ปี เพศหญิงอยู่ที่ประมาณ 5,405 บาท เพื่อให้ได้วงเงินค่ารักษาโรคมะเร็ง 5 ล้านบาท และไตวายเรื้อรัง 5 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี หรือจะเลือกเป็นประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ให้วงเงินความคุ้มครองสูงตั้งแต่ 20-100 ล้านบาทต่อปี และครอบคลุมวิธีการรักษาสมัยใหม่ เช่น การรักษามะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เคมีบำบัด การวินิจฉัยโรคแบบ MRI และ CT Scan โดยไม่ได้จำกัดแค่การรักษาโรคร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่ง ถือเป็นการจัดการค่าใช้จ่ายสำหรับทุกโรคไปเลย อย่าง “สัญญาเพิ่มเติม อีลิท เฮลท์ พลัส” ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ แบบประกันที่แนะนำทั้ง 2 แบบ เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่จะต้องซื้อคู่กับสัญญาหลัก โดยแนะนำให้ซื้อคู่กับสัญญาหลักที่ให้ความคุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี เช่น ประกันตลอดชีพ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองสุขภาพหรือโรคร้ายแรงไปนานๆ
คำเตือน : โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
• เมืองไทยประกันชีวิต, กรมการแพทย์, กรุงเทพธุรกิจ, The Coverage, ลงทุนแมน