K WEALTH / บทความ / Product Review / จัดพอร์ตลงทุนแบบระยะสั้น-ยาว ยืนหยัดสู้ได้ทุกสภาวะตลาด
15 กุมภาพันธ์ 2566
4 นาที

จัดพอร์ตลงทุนแบบระยะสั้น-ยาว ยืนหยัดสู้ได้ทุกสภาวะตลาด


​​​​​​​​

"


• Core-Satellite Port เป็นเทคนิคในการจัดพอร์ต ที่จะแบ่งเป็นการลงทุนระยะสั้น (6-12 เดือน) เรียกว่า Satellite Port และการลงทุนระยะยาว (ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) เรียกว่า Core Port


• ​2 กลยุทธ์ในการจัดพอร์ต โดยเฉพาะ Core Port คือ 1.จัดพอร์ตแบบใช้กองทุน ซึ่งจะแบ่งเป็นเชิงรับ (Passive Style) และเชิงรุก (Active Style) และ 2.จัดพอร์ตแบบลงทุนในหุ้นโดยตรง และอาจใช้กองทุน ETF เข้ามาช่วยกระจายความเสี่ยง ซึ่งทั้ง 2 กลยุทธ์ จะมีปัจจัยเลือกลงทุนในพอร์ตที่แตกต่างกัน เช่น ผลตอบแทนที่ต้องการชนะตลาด ความยืดหยุ่นของพอร์ต ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และความยาก-ง่ายในการติดตามพอร์ต  


• 2 ตัวช่วยในการจัดพอร์ต มีทั้งกองทุนผสม ซึ่งผู้ลงทุนต้องดูนโยบายการลงทุนและสัดส่วนให้สอดคล้องกับพอร์ตของตนเอง กับ พอร์ตที่อ้างอิงตามเป้าหมายและความเสี่ยง อย่าง Wealth Plus หรือ K-FIT ที่จะช่วยให้การจัดพอร์ตและลงมือทำได้ไม่ยาก


"


สินทรัพย์ทางการเงินในปี 2565 มีความผันผวนสูง และผลตอบแทน 1 ปี มีเพียงเงินสด ที่มีผลตอบแทนเป็นบวกเล็กน้อยที่ 1.6% ดังนั้น การกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนอย่างการจัดพอร์ต จะช่วยให้ลดความเสี่ยงทางด้านราคา หนึ่งในวิธีการจัดพอร์ต นั่นคือ Core-Satellite Portfolio จะมีวิธีการจัดพอร์ตอย่างไร บทความนี้จะสรุปมาให้แล้ว


เกิดอะไรขึ้น กับสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆในช่วงปี 2008-2022 (15 ปี) 

 

 
 
รูป1: เปรียบเทียบผลตอบแทนรายปีปฏิทินตามประเภทสินทรัพย์ (Asset Class) ตั้งแต่ปี 2008-2022   

จากรูปที่ 1 เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนรายปีปฏิทินตั้งแต่ ปี 2008-2022 โดยเฉพาะปี 2022 จะพบว่า เป็นปีที่ทุกประเภทสินทรัพย์มีผลตอบแทนติดลบ มีเพียงเงินสดที่มีผลตอบแทนเป็นบวกเล็กน้อย แต่เมื่อมีการจัดสรรเงินลงทุน หรือ ที่เรียกว่า Asset Allocation (AA) ช่องสีเทา ว่าจะมีผลตอบแทนอยู่ในระดับกลางๆ ในแต่ละปีปฎิทิน สำหรับช่องขวาสุด เป็น Total Return ที่หากมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท เริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ปี 2008 ในหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (S&P 500 Index) จะได้ผลตอบแทนรวมอยู่ที่ 254.6% ดังนั้น วิธีการจัดพอร์ตการลงทุน จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในภาวะการลงทุนที่มีความผันผวนสูง 


การจัดพอร์ตแบบระยะสั้น-ยา​ว (Core-Satellite Portfolio) 


จัดพอร์ตแบบ Core-Satellite Port เป็นการแบ่งประเภทการลงทุนเป็นระยะสั้น 6-12 เดือนข้างหน้า เรียกว่าลงทุนใน Satellite Portfolio (ส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนระหว่าง 10%-30% ของพอร์ต) และการลงทุนระยะยาว 1 ปีขึ้นไป เรียกว่าลงทุนใน Core Portfolio (มีสัดส่วนระหว่าง 70%-90% ของพอร์ต) ยกตัวอย่าง(การจัดพอร์ตในต่างประเทศ)**เช่น 
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงต่ำ จะใช้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินฝากและตราสารหนี้ สัดส่วน 80% ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็น Core Port และ ใช้การผสมของหุ้นใหญ่ทั้งแบบ Active และ Passive สัดส่วน 20% เป็น Satellite Port

 
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะใช้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (20%) เงินฝากและตราสารหนี้ (20%) หุ้นใหญ่ (20%) และหุ้นเล็ก (20%) เป็น Core Port ส่วนอีก 20% เป็นส่วนที่เหลือ เช่น กองทุน REITs ทองคำ กองทุนหุ้นต่างประเทศ 

 
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง 80% ลงทุนในกองทุนหุ้นแบบ Active เป็น Core Port และ อีก 20% เป็นกลุ่มหุ้นที่เหลือ เช่น หุ้นต่างประเทศ กองทุนหุ้นรายอุตสาหกรรม เป็นต้น




2 กลยุทธ์สำหรับการจัดพอร์ตแบบ Core Portfolio 


1.จัดพอร์ตแบบใช้กองทุน สามารถจัดพอร์ตด้วยการลงทุนผ่านกองทุน 2 รูปแบบ คือ

1.1 จัดพอร์ตเชิงตั้งรับ (Passive Fund) ซึ่งรูปแบบนี้จะมีข้อดี คือ 
- ค่าธรรมเนียมซื้อขายจะถูก(เทียบกับวิธีลงทุนแบบอื่น)
- การเข้าถึงทำได้ง่าย เนื่องจากมีตัวช่วยในการลงทุนแบบดัชนี เช่น กองทุนรวมดัชนี กองทุนรวมกลุ่มอุตสาหกรรม  
- มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ง่าย โดยอ้างอิงกับดัชนี หรือกลุ่มอุตสาหกรรมในการลงทุน จะมีแหล่งข้อมูลที่นักลงทุนตรวจสอบได้ 

มีข้อควรระวังเมื่อเลือกกลยุทธ์นี้ คือ
- โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจะใกล้เคียงกับตลาด ไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูง ชนะตลาด
- ความยืดหยุ่นในพอร์ตจะมีน้อย เนื่องจากจะอ้างอิงสัดส่วนตามดัชนี หรือกลุ่มอุตสาหกรรม 
- เสียโอกาสจากหุ้นเล็กที่เข้าตลาดใหม่ เนื่องจากหุ้นเล็กเหล่านั้น อาจจะเป็นหุ้นที่เติบโตดี แต่ยังมีสัดส่วนไม่สูงมากพอเพื่อดึงผลตอบแทนของดัชนี ทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสได้ผลตอบแทนจากหุ้นเล็กเหล่านั้นด้วย

1.2 จัดพอร์ตเชิงรุก (Active Fund) ซึ่งรูปแบบนี้จะมีข้อดี คือ 
- มีโอกาสที่ได้ผลตอบแทนที่แตกต่างจากตลาด (ทั้งสูงกว่าและต่ำกว่า) 
- มีความยืดหยุ่นสูง กล่าวคือ จะปรับสัดส่วนกองทุนได้สูงกว่า (เทียบกับกองทุนที่อ้างอิงดัชนี หรือ กลุ่มอุตสาหกรรม) 

อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่ต้องแลกหรือข้อควรระวัง คือ 
- ค่าธรรมเนียมซื้อขายจะสูง เนื่องจากกองทุนแบบเชิงรุก จะต้องให้ผู้จัดการกองทุนทำการบ้านในการเลือกสินทรัพย์การลงทุนที่น่าสนใจ และปรับเปลี่ยนออกเมื่อความน่าสนใจลดลง

- มีโอกาสทำผลงานได้ต่ำกว่ามาตรฐาน (Underperform) การเลือกกองทุนเชิงรุก ไม่ได้ยืนยันว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีเสมอไป อาจจะมีช่วงที่ติดลบ หรือ บวกน้อยกว่าดัชนีก็ได้
3.ความโปร่งใส จะน้อยลง เนื่องจากไม่มีตัวกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสินทรัพย์ลงทุนของผู้จัดการกองทุน

2.จัดพอร์ตด้วยการเลือกหุ้นโดยตรง โดยสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุน Exchange Traded Fund ที่จะลงทุนในดัชนีหุ้นต่างประเทศผสมด้วยก็ได้ โดยจะมองการเลือกหุ้นโดยตรงเป็นการลงทุนเชิงรุก ในขณะเลือกลงทุนผ่าน ETF เป็นการลงทุนเชิงรับซึ่งจะมีข้อดี 
- ปรับสัดส่วนได้เอง เนื่องจากกำหนดสัดส่วนการลงทุนโดยตรงได้ 
- ควบคุมค่าธรรมเนียมซื้อขายได้ ใช้ประโยชน์จากการเลือกผ่านกองทุนรวมเชิงรับ (Passive Fund) สำหรับสินทรัพย์ที่เงินลงทุนไม่สูง 
- มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เนื่องจากกองทุนอ้างอิงดัชนีที่เลือก ต้องถูกอ้างอิงตามน้ำหนักการลงทุนในดัชนี 

ข้อควรระวังสำหรับกลยุทธ์นี้ คือ​ 


- เงินลงทุนขั้นต่ำ จะเริ่มต้นแตกต่างกัน หากเลือกลงทุนในหุ้นรายตัวโดยตรง ก็จำเป็นต้องลงทุนขั้นต่ำในระดับหลักหมื่น หรือแสน เพื่อให้มีสัดส่วนมากเพียงพอและเข้าหลักเกณฑ์ในการซื้อหุ้นรายตัว 

- มีสินทรัพย์ประเภทหุ้นเ​ท่านั้น ที่ลงทุนโดยตรงได้ สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน จะใช้กลยุทธ์นี้ได้ยากขึ้น เนื่องจากดัชนีอ้างอิง หรือกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้และอ้างอิงดัชนี เป็นต้น​


เริ่มต้นลงทุนจะจัดสรรเงินลงทุนเข้า-ออกอย่างไร


การเริ่มต้นลงทุนจัดสรรเงินลงทุนเข้า-ออก จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบในการนำเงินลงทุนเข้า-ออก

1.เป็นการลงทุนเป็นพอร์ตผ่านกองทุนผสม หรือ Fund of Funds เช่น การลงทุนผ่าน Wealth Plus หรือ กองทุน K-FIT จะเข้าลงทุนหรือขายออกมา จะกระจายสัดส่วนตามนโยบายการลงทุนของกองทุนผสม หรือ Fund of Funds ได้เลย

2.เป็นการลงทุนเป็นพอร์ตผ่านกองทุนตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป ให้เริ่มเข้าลงทุนหรือขาย 

• กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการซื้อ-ขาย แต่จะต้องกลับมาปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมอีกครั้ง 

 กองทุนที่มีความเสี่ยงเท่ากัน สามารถเลือกได้จาก ค่าธรรมเนียมซื้อขายถูกก่อน หรือ กองทุนที่มีแนวโน้มดีน้อยที่สุดและมีกำไรมากที่สุดก่อน จะช่วยให้เลือกขายกองทุนที่มีแนวโน้มแย่แต่กำไรดีออกมาก่อนได้ เป็นต้น


ตัวช่วยจัด Core Port


จากหลักการจัดพอร์ตด้วยแนวคิด Core-Satellite Port นักลงทุนจะเห็นว่า มีหลายเทคนิคในการเลือกจัดพอร์ต ดังนั้น หากต้องการจัดพอร์ตด้วยแนวคิดนี้ ยังมีตัวช่วยในการจัดพอร์ตที่แนะนำ ดังนี้

1. เลือกตาม Core Port  ที่บลจ.หรือสถาบันการเงินแนะนำ โดยอ้างอิงสัดส่วนที่แนะนำ ตัวอย่างเช่น core port ของ Wealth Plus ที่จะเลือกสัดส่วนตามระดับความเสี่ยง หรือ กองทุน K-FIT ที่จะแนะนำตามระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนคาดหวัง เป็นขนาด S M L XL ซึ่งสามารถดูรายละเอียดทาง website ได้ แล้วเราก็เลือกของเองตามสัดส่วน หรือจะเลือกตามก็ได้ 

2.ซื้อเป็นกองทุนที่เหมาะกับการเป็น Core Port ​ ไปเลย ไม่ว่าจะเป็นแบบ กองผสม หรือ fund of fund แบบ multi asset ซึ่งทั้ง 2 แบบ ก็มีผู้จัดการกองทุนช่วย จัดการเหมือนกัน

มาถึงตรงนี้ หลายๆคนที่มองว่าการจัดพอร์ตเป็นเรื่องยากแล้ว แต่จะหาเครื่องมือในการจัดพอร์ตให้บรรลุเป้าหมาย ถือว่าเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก ถึงแม้วิธีจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite Port จะเป็นหนึ่งในวิธีการจัดพอร์ต แต่เมื่อศึกษาในรายละเอียดแล้ว ยังมีกลยุทธ์จัดการพอร์ตอยู่อีกหลายแบบ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การลงมือทำ และอยู่กับพอร์ตให้ได้อย่างมีความสุข ดังนั้น เครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการจัดพอร์ต จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักลงทุนได้เริ่มลงมือทำจริง และยังมีผู้จัดการกองทุนดูแลให้ในระยะยาวอีกด้วย


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



บทความโดย K WEALTH TRAINER สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!