2 เหตุผลที่คนยุคนี้ต้องมีประกันสุขภาพ

เปิดเหตุผล ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ทำไมถึงควรมีความคุ้มครองสุขภาพ และเหมาะกับใครบ้าง



"


• คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นจากความกังวลโรคโควิด-19 เห็นได้จากจำนวนกรมธรรม์การประกันภัยสุขภาพที่โตขึ้นทุกปี โดยเฉพาะการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากปี 62 มาปี 63 ซึ่งเป็นปีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย

• ประกันสุขภาพจะทำให้เราไม่ถูกซ้ำด้วยการเป็นหนี้จากค่ารักษาในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และยังช่วยให้เราและคนที่เรารักได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงิน


"


เมื่อพูดถึงโควิด หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นโรคประจำถิ่นโรคหนึ่งคล้ายๆ กับการเป็นหวัดธรรมดาที่เป็นแล้วก็สามารถหายได้ และรู้สึกเคยชินเพราะเรารู้จักและใช้ชีวิตอยู่กับโรคนี้มาไม่ต่ำกว่า 3 ปีแล้ว แต่หากติดโควิดแล้วไปรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกสิทธิก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย ซึ่งค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและโรงพยาบาลที่เข้ารักษา เช่น หากอาการไม่รุนแรง เป็นผู้ป่วยสีเขียว และเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท แต่หากเป็นผู้ป่วยสีเหลืองหรือสีแดง ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ประมาณ 92,000 บาท และ 375,000 บาท ตามลำดับ หากต้องควักกระเป๋าจ่ายค่ารักษาหลักหมื่น หลักแสนในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้คงไม่ดีแน่ แล้วจะมีวิธีป้องกันอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้

สถานการณ์กลับมาปกติ


ทุกวันนี้จะเห็นว่าเรากลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติ ทำงานที่บ้านน้อยลง การจราจรหนาแน่นขึ้น มีการเดินทางไปมาหาสู่กันมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยมากขึ้น หลังจากที่จีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 โดยเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 และตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 66 เป็นต้นไป ทางการจีนได้อนุญาตให้กรุ๊ปทัวร์เดินทางพานักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวไทยได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวไทยในปี 66 ราว 4.65 ล้านคน และคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปี 66 รวมอยู่ที่ราว 25.5 ล้านคนในส่วนของคนไทยเองก็มีการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นเช่นกันหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตของคนไทย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น

เมื่อโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคนี้ต่อไป โอกาสที่เราจะเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บป่วยที่ปกติไม่เคยเป็นหรือด้วยโรคที่มีความรุนแรงและต้องการการรักษาที่ดี ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายและเกิดได้กับทุกคน

สถิติการทำประกันปี 62-64


คราวนี้ลองมาดูสถิติการทำประกันของคนไทยจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กันบ้างว่าตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดโควิดและหลังเกิดโควิดมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ประกันชีวิต


ในส่วนของประกันชีวิต ปี 62-64 ที่ผ่านมา จะพบว่า ในปี 63 ซึ่งเป็นปีแรกที่เกิดโควิด-19 มีผลอย่างมากที่ทำให้เกิดความกังวลกับชีวิตและคนที่อยู่ข้างหลัง ด้วยจำนวนกรรมธรรม์เติบโตถึง 8% และขยับลดลงในปีถัดมา ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความคลี่คลายของสถานการณ์โควิด หรือแม้แต่ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจทำประกันเพิ่มขึ้น



ประกันวินาศภัย


ในส่วนของประกันวินาศภัย หากพิจารณาเฉพาะการประกันภัยสุขภาพในปี 62-64 จะเห็นว่าจำนวนกรมธรรม์การประกันภัยสุขภาพโตขึ้นทุกปี โดยเฉพาะการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากปี 62 มาปี 63 ซึ่งเป็นปีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในบ้านเรา โดยโตถึง 616% สะท้อนความต้องการการได้รับการดูแลและรักษาพยาบาลที่สะดวก รวดเร็ว รวมถึงความกังวลใจต่อค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อต้องเลือกการรักษาพยาบาลนอกเหนือไปจากสวัสดิการทั้งของรัฐหรือสวัสดิการที่เคยมีอยู่เดิมได้อย่างชัดเจน




ทำไมถึงต้องทำประกันสุขภาพทันที


ทำไมถึงต้องทำประกันสุขภาพทันที และเหมาะกับใคร

- ประกันสุขภาพจะทำให้เราไม่ถูกซ้ำด้วยการเป็นหนี้จากค่ารักษาในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน


หากมีเงินเก็บไม่มาก รายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีสวัสดิการไม่เพียงพอ แต่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง หรือมีคนต้องดูแล แล้วยังต้องมาจ่ายค่ารักษาเมื่อเจ็บป่วยอีกก็มีโอกาสเป็นหนี้ได้เลยเช่นกัน ดังนั้น นี่คือโอกาสที่จะทำให้เราไม่โดนซ้ำด้วยการเป็นหนี้จากค่ารักษาปัจจุบัน โดยการกันเงินไว้จำนวนหนึ่งเพื่อทำประกันสุขภาพ เพราะเทียบกับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วต้องมาเป็นหนี้ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทำประกันสุขภาพไว้ดีกว่า ประกันสุขภาพจึงเหมาะกับ

ที่มีเงินเก็บไม่มาก เช่น ไม่มีเงินก้อนหรือเงินสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

คนที่มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น ประกอบอาชีพอิสระ เป็นฟรีแลนซ์

คนที่ไม่มีสวัสดิการการรักษาพยาบาลหรือมีไม่เพียงพอ ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่ารักษาหรือจ่ายส่วนต่างที่เกิดขึ้น

- ประกันสุขภาพช่วยให้เราและคนที่เรารักได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงิน


การได้รับการรักษาที่รวดเร็วทันที โดยไม่ต้องมานั่งตัดสินใจในนาทีวิกฤตว่าจะไปรักษาในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดดีไหมเพราะกลัวเงินไม่พอจ่ายค่ารักษา การมีประกันสุขภาพไว้ทำให้เราตัดสินใจได้เร็วขึ้นและทันท่วงทีในการดูแลตัวเองและคนที่เรารัก เช่น พ่อแม่ ลูก เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ประกันสุขภาพจึงเหมาะกับ

คนที่ต้องการการรักษาที่รวดเร็วทันที

ดังนั้น อย่าคิดเยอะ กันไว้ดีกว่าแก้ เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันนี้ รีบทำประกันสุขภาพเอาไว้เลย

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันสุขภาพ


ความเข้าใจผิด

ยังแข็งแรงอยู่ ไม่ต้องทำประกันสุขภาพหรอก


ตอนนี้ยังอายุน้อย แข็งแรงดีจึงยังไม่ทำประกันสุขภาพ แต่คิดจะทำตอนเจ็บป่วย มีโรคเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อวันนั้นมาถึง บริษัทประกันอาจไม่รับประกัน หรือมีเงื่อนไขในการรับประกันสุขภาพได้ เช่น ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน เพิ่มเบี้ยประกัน เป็นต้น

ค่าเบี้ยแพง ไม่คุ้ม


คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยหรือนอนโรงพยาบาลบ่อยๆ เพื่อเคลมประกันสุขภาพให้คุ้มกับค่าเบี้ยที่จ่ายไปในแต่ละปี แต่หากเจ็บป่วยขึ้นมา เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ค่าเบี้ยมักจะถูกกว่าค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง เช่น หากป่วยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและนอนโรงพยาบาล 2 คืน ค่ารักษาโรคนี้อยู่ที่ 59,000 บาท ซึ่งสูงกว่าค่าเบี้ยประกันสัญญาเพิ่มเติม Elite Health Plus สำหรับคนอายุ 30 ปี ซึ่งค่าเบี้ยปีแรกอยู่ที่ 26,460 บาท* ถึง 2 เท่า

เก็บเงินจ่ายค่ารักษาเองได้


สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองมีเงินเก็บมากพอและสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองได้เมื่อเจ็บป่วย โดยที่ไม่เดือดร้อนใคร ก็สามารถทำได้ แต่หากมีเงินเก็บไม่มากพอแล้วโชคร้ายเกิดเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักล้านอย่างโรคร้ายแรง ก็มีความเสี่ยงที่อาจต้องไปกู้ยืมจนเป็นหนี้ได้ง่ายๆ เช่นกันเกิด แก่ เจ็บ(ป่วย) ตาย เป็นสิ่งที่เราทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยที่มีโอกาสเกิดขึ้นในชีวิตเราและคนที่เรารักหลายครั้ง ดังนั้น การดูแลตัวเองและวางแผนสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำทันที เพื่อปกป้องเงินในกระเป๋าไว้จากเหตุฉุกเฉินที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน*เบี้ยประกันสำหรับเพศชายและหญิง อายุ 30 ปี กลุ่มอาชีพ 1-2 แผน 20 ล้าน พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย

คำเตือน : โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, เมืองไทยประกันชีวิต, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, สปริงนิวส์