K WEALTH / บทความ / Product Review / เจ็บป่วยขั้นวิกฤต รับสิทธิรักษาแค่ไหน
14 มีนาคม 2565
4 นาที

เจ็บป่วยขั้นวิกฤต รับสิทธิรักษาแค่ไหน


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

● 88% ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลอีกต่อไป และยังคงรักษาฟรีเมื่อรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามสิทธิของตน 

● ผู้ที่ต้องการรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกสิทธิ อย่าลืมเตรียมเงินไว้ให้พอเพราะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ที่อาจเป็นจำนวนถึงหลักแสนบาท 

● ประกันสุขภาพสักฉบับ ด้วยค่าเบี้ยปีละ 5,418 - 22,770 บาท ช่วยให้อุ่นใจกับวงเงินค่ารักษาพยาบาลครั้งละ 5 ล้านบาทได้ รองรับค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล

​​“


          UCEP และ UCEP Plus คำฮิตติดเทรนด์ช่วงนี้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อสิทธิและแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. 65 เป็นต้นไป หลายคนทั้งสงสัยและกังวลว่าจะเป็นอย่างไร หากตนเองเป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อโควิด-19

UCEP และ UCEP Plus คืออะไร?​​​​​
          UCEP หรือ Universal Coverage for Eme​rgency Patients คือ สิทธิการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไม่ว่าจากสาเหตุใด สามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ทุกแห่งที่ใกล้ที่สุด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จนกว่าจะพ้นวิกฤตและสามารถย้ายสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศไทยใช้มาหลายปีตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 แล้ว ส่วน UCEP Plus ที่เริ่มใช้ 16 มี.ค. 65 คือ แนวทางการดูแลรักษาที่มีรายละเอียดและความชัดเจนมากขึ้น สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยกำหนดให้กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง (เสี่ยงอาการรุนแรง) และกลุ่มผู้ป่วยสีแดง (อาการรุนแรง) เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่สามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ส่วนกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว (อาการไม่รุนแรง) สามารถเลือกรักษาฟรีหากเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลตามสิทธิของแต่ละคน เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ เช่นเดียวกับการเจ็บป่วยทั่วไป อย่างไข้หวัด หรืออาการท้องเสีย ฯลฯ ที่หากอาการไม่รุนแรงมาก เราก็ไปใช้โรงพยาบาลตามสิทธินั้นๆ ได้

ทำไม? ต้อง UCEP Plus​​​​​          
          ช่วงมี.ค. 63 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการระบาดโควิด-19 ในปร​ะเทศไทย ผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ณ ตอนนั้นถูกกำหนดให้เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเพราะถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ต้องเร่งควบคุม สามารถติดต่อโรงพยาบาลรัฐและเอกชนได้ทุกแห่งเพื่อเข้ารับการรักษา แต่ผ่านมา 2 ปี ผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้น ข้อมูล ณ วันที่ 10 มี.ค. 65 มีผู้ติดเชื้อใหม่ 22,984 ราย มียอดสะสมตั้งแต่ต้นปี 888,422 ราย ส่วนโรงพยาบาลเองต้องรองรับผู้ติดเชื้อดังกล่าวอย่างเท่าเทียม ควบคู่ไปกับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอื่น เช่น หัวใจวาย ประสบอุบัติเหตุรถชน ฯลฯ ที่ต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดไม่น้อยไปกว่าผู้ติดเชื้อโควิด-19 

          ​ขณะที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง และยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สังเกตจากที่ผ่านมาผู้ติดเชื้อหลายคน เพียงแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) กักตัวในชุมชน (Community Isolation) รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม (Field hospital) หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ก็รักษาให้หายได้ โดยแทบไม่ต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์หรือพยาบาลโดยตรง ซึ่งจากข้อมูลปี 63-64 กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวมีมากถึง 88% ส่วนกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงมีเพียง 11% และ 1% ตามลำดับ นี่อาจเป็น 1 ในสาเหตุ ที่ภาครัฐถอดโควิด-19 ออกจากโรคฉุกเฉิน เพื่อให้บริการทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยและบาดเจ็บได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสมกับระดับความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ก็ตาม

ติดเชื้อโควิด-19 ตอนนี้ ดูแลรักษาตัวอย่างไร?​​​​​          
         การเจ็บป่วยมีหลายระดับ ปกติหากเป็นหวัด มีไข้ ท้องเสีย ฯลฯ หากต้องการรักษาฟรี หลายคนสามารถเลือกที่จะเดินทางไปรักษาตัวกับโรงพยาบาลตามสิทธิของตน เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรงหากแพทย์วินิจฉัยแล้วเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว สามารถรับยาและกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากต้องการรักษาตัวกับโรงพยาบาลนอกสิทธิ ก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หรือหากถือประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ตามวงเงินและเงื่อนไขของแต่ละแบบประกันได้ 

          ส่วนผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เสี่ยงมีอาการรุนแรง (กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง) หรือที่มีอาการรุนแรง (กลุ่มผู้ป่วยสีแดง) ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากได้รับการรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งในและนอกโรงพยาบาลตามสิทธิแล้ว หากถือประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยใน (IPD) ก็สามารถแจ้งโรงพยาบาลถึงสิทธิประกันสุขภาพที่มีอยู่ ช่วยให้ผู้ป่วยหรือญาติตัดสินใจในการรับบริการทางการแพทย์บางอย่างได้ง่ายและคลายความกังวลใจที่อาจมีประเด็นทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องได้ นอกเหนือจากการรักษาทั่วไป เช่น การนอนห้องเดี่ยวไม่ต้องนอนห้องรวม เป็นต้น 

          กรณีผู้ติดเชื้อไม่มีประกันสุขภาพหรือสวัสดิการอื่น และต้องการรับการรักษาที่นอกเหนือไปจากสิทธิ UCEP Plus จำเป็นต้องเตรียมเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง เช่น โรงพยาบาลเอกชนสำหรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 92,752 บาทต่อราย และสำหรับกลุ่มผู้ป่วยสีแดงค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 375,428 บาทต่อราย ซึ่งถือเป็นยอดเงินที่ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่ยังมีเงินเก็บไม่มาก 

          สำหรับใครที่ยังกังวลกับค่าใช้จ่ายกรณีติดเชื้อโควิด-19 และต้องการรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกสิทธิ โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่มีค่าใช้จ่ายเกือบแสนไปถึงหลายแสนบาท แนะนำว่าควรพิจารณาประกันสุขภาพ​ที่มีวงเงินคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว อย่างประกันชีวิตและสุขภาพ Delight Health ที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุด 5 ล้านบาทต่อครั้ง และยังคุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชน อีกทั้งมี 3 แผนให้เลือก ไม่ว่าจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายตั้งแต่บาทแรก หรือเฉพาะส่วนที่เกิน 30,000 บาท หรือ 100,000 บาท เช่น ผู้หญิง อายุ 40 ปี ค่าเบี้ยรายปี ปีแรกอยู่ที่ 5,418 - 22,770 บาท อยู่ที่ว่า ณ วันนี้ เราให้ความสำคัญหรือพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายจากโรคภัยต่างๆ มากแค่ไหน? ​



บทความโดย K WEALTH GURU ราชันย์ ตันติจินดา CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ พลัส

ดูเพิ่มเติม

ประกันชีวิตและสุขภาพ Delight Health

ดูเพิ่มเติม