K WEALTH / บทความ / Wealth Management / เมื่อ เอเชียผงาด ลงทุนอย่างไรให้ไม่ตกเทรนด์
26 เมษายน 2565
4 นาที

เมื่อ เอเชียผงาด ลงทุนอย่างไรให้ไม่ตกเทรนด์


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

• มาตรการ QE อัดฉีดสภาพคล่องเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ในอีกทางก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดีดตัวกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ซึ่งตามมาด้วย Valuation ที่แพง โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ ที่มี Valuationที่แพงกว่าหลายภูมิภาค 

• ราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต้นทุนภาคการผลิต การบริการ การขนส่ง ในยุโรปให้สูงขึ้น กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการบริโภคภายในประเทศให้ลดลง 

​• ปีนี้เศรษฐกิจเอเชียเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และยุโรปก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาต่างๆ ที่กดดันเอเชียไม่ว่าจะเป็นห่วงโซ่อุปทาน การควบคุมกำกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีน การใช้มาตรการควบคุมโควิดที่เข้มงวด มีแนวโน้มคลี่คลายลง

​​“


         หลายคนที่คลิ๊กเข้ามาอ่านบทความนี้คงมีคำถามกันไม่น้อยว่า ทำไมเอเชียถึงเป็นภูมิภาคที่น่าลงทุนในปัจจุบัน ทั้งๆที่หลายคนอาจติดภาพว่า ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ เป็นประเทศกำลังพัฒนา ไม่เหมือนฝั่งยุโรป สหรัฐฯ ที่เป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว น่าจะมีอะไรที่ดีกว่า น่าลงทุนกว่าหรือเปล่า วันนี้เราจะชวนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน

ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯในปัจจุบัน​​​​​          ​
         หากใครติดตามข่าวสารการลงทุนกันมาสักพัก จะพอทราบ สองเรื่อง คือหนึ่ง ช่วงที่เกิดการระบาดของCOVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลก ล้มไม่เป็นท่า จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงธนาคารกลางทั่วโลกมีความจำเป็นต้องประกาศลดอัตราดอกเบี้ย และใช้มาตรการ QE อัดฉีดสภาพคล่องเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ในอีกทางก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดีดตัวกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ซึ่งตามมาด้วย Valuation ที่แพง โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ ที่มี Valuationที่แพงกว่าหลายภูมิภาค รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯเริ่ม กลับลำหัวเรือ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยตลาดคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 8-9ครั้งในปีนี้ และจะมีการทำมาตรการ QT ดูดสภาพคล่องกลับในอนาคต เพื่อสกัดเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนเกินไป ถึงแม้ว่าตลาดฝั่งสหรัฐจะรับรู้เรื่องนี้ไปมากแล้ว แต่การขึ้นดอกเบี้ยก็ส่งผลกระทบต่อกำไรของธุรกิจโดยตรง รวมถึงหากควบคุมเงินเฟ้อที่สูงไม่ได้ ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ 

          เรื่องที่ สอง ถือเป็นเหตุการณ์ที่นักลงทุนทั่วโลกไม่คาดคิด เมื่อวลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ประกาศสงครามบุกยูเครน เหตุการณ์นี้ซ้ำเติมเศรษฐกิจของยุโรปที่ค่อยๆฟื้นจากCOVID-19 โดยตรง เพราะเมื่อเกิดสงคราม ราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต้นทุนภาคการผลิต การบริการ การขนส่ง ในยุโรปให้สูงขึ้น กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการบริโภคภายในประเทศให้ลดลง และเริ่มเห็นการปรับลดคาดการณ์ GDP ยุโรปปีนี้ลง นอกจากนี้ หากรัสเซียประกาศไม่ส่งออกน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่ถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญให้กับยุโรป ซึ่งยังไม่รวมถึงสถานการณ์สงคราม ที่มีโอกาสขยายวงกว้างเข้าสู่ยุโรปในอนาคต รวมถึงท่าทีของธนาคารกลางยุโรป ที่พร้อมจะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งตลาดหุ้นยังไม่ Priced-in เรื่องนี้มากนักเหตุการณ์เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้นักวิเคราะห์ทั่วโลกมองว่ายุโรปมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอีกครั้ง

ในช่วงเวลานี้ เอเชีย จึงมีความโดดเด่น​​​​​          ​
         ปีนี้เศรษฐกิจเอเชียเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และยุโรปก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาต่างๆ ที่กดดันเอเชียไม่ว่าจะเป็นห่วงโซ่อุปทาน การควบคุมกำกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีน การใช้มาตรการควบคุมโควิดที่เข้มงวด มีแนวโน้มคลี่คลายลง และลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงหลายประเทศที่อยู่ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม ก็ยังมีกระสุนเม็ดเงินพร้อมสำหรับการใช้นโยบายการคลัง รวมถึงนโยบายการเงินที่มีท่าทีผ่อนคลาย ไม่รีบร้อนปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลโดยตรงให้เศรษฐกิจยังมีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Valuation ตลาดหุ้นฝั่งเอเชีย ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ​

ความเป็นเอเชียที่โดดเด่น           ​
         ซึ่งหากเราสังเกตจะพบว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย กำลังดำเนินรอยตามความมั่งคั่ง เส้นทางเดียวกันกับที่ประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตกเคยเดินมาในอดีต ผลก็คือตัวเลขอัตราการเติบโตของ GDP ย้อนหลัง 10 ปีของเอเชียอยู่ในระดับสูง บางช่วงเวลาอย่างจีน เติบโตด้วยตัวเลขสองหลัก ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน มีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 1-3 นี่ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เอเชียมีความน่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจเอเชียดังนี้ 

1.วัยแรงงานเยอะ ค่าแรงถูก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเข้าสู่เอเชีย เพราะอุตสาหกรรมจะขับเคลื่อนได้ ต้องอาศัยวัยแรงงานจำนวนมาก ประกอบกับค่าแรงที่ถูก เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วัยแรงงานมีจำกัด ค่าแรงแพง เอเชียจึงมีความน่าสนใจ และมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตมากขึ้น 

2.ประชากรมีจำนวนมาก นอกจากจะเป็นแรงงานช่วยขับเคลื่อนภาคการผลิตแล้ว เมื่อประชากรมีรายได้ก็เป็นผู้บริโภคไปด้วยพร้อมกัน ซึ่งยิ่งมีประชากรที่มีกำลังซื้อมากขึ้นเท่าใด อัตราการบริโภคที่มีจำนวนมหาศาลตามจำนวนประชากรที่สูง ก็จะผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด 

3.ฐานการผลิตสำคัญของโลก ด้วยข้อได้เปรียบในด้านการผลิตที่มีต้นทุนถูก ส่งผลให้เอเชียกลายเป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออกไปในหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป หรือสินค้าไอทีของแบรนด์ดังที่คนทั้งโลกรู้จัก ต่างก็มีฐานการผลิตอยู่ที่เอเชีย นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ก็ยังไหลเข้าเอเชียอย่างต่อเนื่อง 

4.ธุรกิจเทคโนโลยีที่พร้อมผลักดันเศรษฐกิจ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเอเชียมีแต่ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ ผลิตแล้วก็ขาย เศรษฐกิจคงโตได้อีกไม่นาน แต่ในความเป็นจริงเอเชียมีธุรกิจเทคโนโลยีเจ้าดังมากมาย ที่พร้อมจะขับเคลื่อน และแข่งขันกับประเทศพัฒนาแล้ว ผลักดันเศรษฐกิจเติบโตได้อีกมาก ​​​​



จุดด้อยของเอเชีย​​​​​          ​
         แม้ปัจจุบันเอเชียจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของ COVID-19 การดำเนินนโยบายรับมือโรคระบาด รวมถึงคุมเข้มบริษัทเอกชนใหญ่ๆ ที่เข้มงวดจนกระทบต่อเศรษฐกิจ ปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมทั้งการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากประเทศฝั่งเอเชีย กระทบทั้งตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้นโดยตรง 
          นอกจากนี้ก็ต้องยอมรับว่าเอเชียก็มีจุดด้อยด้วยเช่นกัน ในหลายประเทศก็มีระบบการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความรู้ความชำนาญ สร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาส ปัญหาคอรัปชั่น การบริหารประเทศที่ผิดพลาด ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ รวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียยังก้าวข้ามการเป็นผู้รับจ้างผลิต และส่งออก ไปเป็นประเทศที่คิดค้นนวัตกรรม สร้างเทคโนโลยีเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อเพิ่มมูลค่ายังไม่ได้ กลายเป็นประเทศติดกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชีย ​​​​​

คำแนะนำสำหรับผู้สนใจลงทุนรายประเทศในเอเชีย​​​​​          ​
         สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง และสามารถลงทุนระยะยาวมากกว่า 5 ปีได้ แนะนำลงทุนในจีนและเวียดนาม เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศมีเศรษฐกิจที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ทั้งการเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก มีจำนวนประชากรที่เป็นวัยแรงงานในอัตราที่สูง รวมถึงจีนมีธุรกิจเทคโนโลยีที่พร้อมผลักดันเศรษฐกิจได้อีกมาก 
          หากสนใจลงทุนหุ้นจีน แนะนำกองทุน K-CHINA กองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีนที่จดทะเบียนทั่วโลก มีคุณภาพดี เติบโตสูง เน้นหุ้นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ เช่นกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มอุปโภคบริโภค และสุขภาพ โดยกองทุนK-CHINA มีให้เลือกทั้งแบบจ่ายปันผล และไม่จ่ายปันผล 
          หากสนใจลงทุนหุ้นเวียดนาม แนะนำกองทุน K-VIETNAM เน้นลงทุนหุ้นรายตัว70-80%ของพอร์ตการลงทุน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของเวียดนาม ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ส่วนอีก20-30% เป็นการลงทุนในกองทุนประเภท Active และ Passive ที่ลงทุนในประเทศเวียดนาม 
          แต่หากต้องการพักเงินเพื่อรอจังหวะการเข้าซื้อ แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ตามระยะเวลาที่ต้องการพักเงิน หรือใช้เงิน เช่น หากต้องการพักเงินในกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือนขึ้นไป ขอแนะนำกองทุน K-SFPLUS ทั้งนี้ควรพิจารณาระดับความเสี่ยงของกองทุน และสินทรัพย์การลงทุนให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ 

ขอบคุณข้อมูลจาก : KAsset



บทความโดย K WEALTH GURU มนัสวี เด็ดอนันต์กุล
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!