Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

วางพอร์ตให้มั่น

วางพอร์ตให้มั่น

​​เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง หรือหดตัวจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งในครั้งนี้ธนาคารกลางและภาครัฐฯทั่วโลกได้ให้ความสำคัญที่จะแก้ไขไม่ให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะหดตัว โดยใช้นโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ หรือแม้กระทั่งการใช้ความเป็นชาตินิยมกระตุ้นกระแสการกีดกันทางการค้า แม้การใช้เครื่องมือเหล่านี้อาจมีผลที่จะทำให้เศรษฐกิจไม่ทรุดหนักในระยะสั้น แต่ในระยะกลางถึงยาวโลกคงต้องรับมือกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสภาวะแวดล้อม 3 ด้าน (3D) ที่กำลังมีผลอย่างมากต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย ซึ่ง 3D นั้นคือ


1. Debt ปริมาณการถือครองตราสารหนี้ของธนาคารกลางทั่วโลกจากการทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2008 และจากจุดนี้ไปและความต้องการหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นของนักลงทุนส่งผลให้ปริมาณหนี้ในโลกทั้งภาครัฐฯและเอกชนทั้งหมดพุ่งสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเพิ่มปริมาณเงินและหนี้สินของทั้งระบบได้ช่วยให้เศรษฐกิจโลกใน 10 ปีที่ผ่านมาฟื้นจากวิกฤตการเงินในปี 2008-2009 อย่างต่อเนื่อง แต่การเสพติดการกระตุ้นแบบนี้อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อในอนาคตที่อาจสูงขึ้นอย่างมาก และการถอนการอัดฉีดลักษณะนี้เป็นไปได้ยากทั้งในมุมของการพยุงเศรษฐกิจมหภาคให้เติบโตอย่างต่อเนื่องหรือเสถียรภาพทางการเมืองในการหยุดกระตุ้นเศรษฐกิจ

2. Demographics ต้องยอมรับว่าโลกเราหลาย ๆ ประเทศเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย แรงงานใหม่มีน้อยลง ตัวผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการใช้แรงงานเพื่อเพิ่มผลผลิตเริ่มเป็นไปได้ยาก การใช้จ่ายจากผู้สูงวัยก็น้อยลง ธุรกรรมทางเศรษฐกิจก็น้อยลงตาม ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ แต่การฝึกกระตุ้นเศรษฐกิจที่แผ่วลงเพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอาจทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกมาก

3. Disruption เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Shopping online ที่ตัดพ่อค้าคนกลางออกไป เป็นการซื้อขายโดยตรงกับผู้ซื้อ ต้นทุนในการจัดวางหน้าร้านหรือโฆษณาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สามารถที่จะแสดงสินค้า หรือโปรโมทสินค้าผ่านทาง Social online ได้อย่างง่ายดายเช่น Facebook, Instagram เป็นต้น อีกทั้งการขนส่งในสมัยนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคสามารถที่จะเปรียบเทียบราคาสินค้าได้หลากหลายง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว การผลิตที่มีประสิทธิผลมากขึ้นจากการใช้หุ่นยนต์ การบริหารที่ใช้ดาต้า การวิเคราะห์ และ AI ในการช่วยตัดสินใจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัย


จะเห็นได้นะครับว่ามีความเสี่ยงหลายอย่างซ่อนอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นการลงทุนท่ามกลางความไม่แน่นอน ควรที่จะลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ กองทุน K-GLAM ที่ทาง KAsset กำลังเสนอขายอยู่มีการกระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ โดยกำหนดความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์ก่อน แล้วค่อยหาสัดส่วนการลงทุนว่าควรจะลงทุนเท่าใดเพื่อที่จะให้ค่าความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์มีสัดส่วนตามที่ได้กำหนดไว้ ต่างจากการลงทุนหลายสินทรัพย์แบบดั้งเดิมที่ใช้สัดส่วนการลงทุนเป็นตัวตั้ง การลงทุนลักษณะนี้ช่วยในการปรับความเสี่ยงให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของนักลงทุนหรือการคาดเดาว่าสถานการณ์ใดในโลกจะเกิดเมื่อใด K-GLAM จึงเป็นทางเลือกที่น่าลงทุนมากในเวลาที่ความเสี่ยงยากที่จะคาดเดาสูงขึ้นเรื่อยๆ


หมายเหตุ:

K Global Risk Allocation Fund Not for Retail Investors (K-GLAM-UI)

ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 8+

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยง FX ตามดุลยพินิจ

 

หมายเหตุ

• โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า/เงื่อนไขผลตอบแทน/ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

• ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจ ก่อนตัดสินใจลงทุน


ประจำวันที่ 30 สิงหาคม 2562

กลับ
PRIVATE BANKING