Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

ฝีมือผู้จัดการกองทุน กับการกระจายความเสี่ยง

ฝีมือผู้จัดการกองทุน กับการกระจายความเสี่ยง

การลงทุนคือการมองไปข้างหน้า มีหลายๆบทวิเคราะห์ที่ลงความเห็นว่าผลตอบแทนโดยรวมของหุ้นและตราสารหนี้โลกในอีก 3-5 ปีคงจะไม่สูงมาก แต่ด้านความเสี่ยงของสินทรัพย์ในโลกนั้นน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การกระจายความเสี่ยงระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ยังคงให้ผลดีและเป็นกลยุทธ์มาตรฐานที่ควรจะมีในพอร์ต แต่ก็ต้องยอมรับว่าในช่วงหลังโอกาสที่ราคาหุ้นและตราสารหนี้จะลดลงพร้อมกันมีมากขึ้น ผมก็มองอย่างนั้นเช่นกันว่าผลตอบแทนจะต่ำลงและความเสี่ยงจะสูงขึ้น


ทางออกของบรรยากาศการลงทุนเช่นนี้คงต้องเน้นลงทุนในสิ่งที่นักลงทุนมีความมั่นใจระยะยาว เสริมการกระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่มีความผันผวนที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่มีในพอร์ต วันนี้การพูดถึงการกระจายความเสี่ยงอาจไม่ได้เป็นเพียงการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียว การกระจายความเสี่ยงไปยังกลยุทธ์ที่หลากหลาย ที่ไม่ได้ผันผวนในลักษณะเดียวกันกับสินทรัพย์  และนำผลตอบแทนที่เป็นบวกของหลายๆส่วนมารวมกันและมีความผันผวนที่แตกต่างกันจะเพิ่มความเสถียรให้กับพอร์ตการลงทุนมากขึ้น


ผมขอยกตัวอย่าง เวลาลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศโดยปกติจะมีความเสี่ยงในสามด้านด้วยกัน 1. อัตราแลกเปลี่ยน  2. อัตราดอกเบี้ย 3. โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ ทั้งสามด้านเป็นความเสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนได้ การซื้อตราสารหนี้ตรงๆหรือผ่านกองทุนรวม คือวิธีที่จะลงทุนในสินทรัพย์ แต่การลงทุนในกลยุทธ์ ก็คือการจัดการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งสามนี้ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีความเสี่ยงนี้เลยก็ได้ เช่นการซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปี และการขายพันธบัตรรัฐบาลไทย 2 ปี กลยุทธ์ดังกล่าวดึงความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยไทยจะขึ้นลงออกไป เหลือไว้แค่ส่วนต่างระหว่าง 2 ปีและ 10 ปี ซึ่งโดยปกติผลตอบแทนจะเป็นบวกแค่ต่ำมาก เนื่องจากเป็นส่วนต่างเท่านั้น ดังนั้นการลงทุนแบบกลยุทธ์จึงอาศัยอัตราทด เข้ามาเพิ่มผลตอบแทน ที่เดิมส่วนต่างผลตอบแทนอาจเป็นแค่ 0.4% หากทด 8 เท่าอาจได้ถึง 3.2% เลยทีเดียว


การลงทุนลักษณะนี้ จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะวางกลยุทธ์ กระจายความเสี่ยงของแต่ละกลยุทธ์ และ ควบคุมความเสี่ยงโดยรวม ดังนั้นพอร์ตลักษณะนี้จะพึ่งพิงความสามารถของผู้จัดการกองทุนเป็นหลักและ พึ่งพิงการขึ้นลงของสินทรัพย์เป็นรอง จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้จัดการกองทุนที่ชำนาญมากๆ โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมของผู้จัดการกองทุนหลักจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่ทำได้ อีกไม่นาน KBank Private Banking จะนำเสนอกองเหล่านี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและช่วยให้การกระจายความเสี่ยงในพอร์ตดีขึ้นด้วย 


ประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562


กลับ
PRIVATE BANKING