Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

ผลกระทบของสงครามและการลงทุน

ผลกระทบของสงครามและการลงทุน

เริ่มต้นปี 2020 การพักรบระหว่างสงครามการค้าดูเหมือนว่าจะดีขึ้นแต่ความกังวลว่าจะเกิดสงครามอีกครั้งในตะวันออกกลางระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ นักลงทุนหันกลับไปซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตร หรือ ทอง ที่ปรับตัวขึ้นแรงในช่วงเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันทางอิหร่านได้มีการโจมตีฐานทัพสหรัฐฯในอิรักเป็นการตอบโต้ ตลาดหุ้นก็ปรับตัวลงแรงอีกครั้งหนึ่ง แต่เหตุการณ์สหรัฐฯ-อิหร่าน ในครั้งนี้มีการปรับลงค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันในครั้งก่อน ๆ ดังเช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย 1991, การรุกรานอิรักในปี 2003 และเหตุการณ์ 911 ปี 2001 ดัชนี S&P 500 ปรับลง 16.2%, 5.1% และ 11.6% ในวันเริ่มสงคราม แต่หากดูกันยาวๆหลังจากสงครามเริ่มไป 3 เดือน ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 6.4%, 20.4% และ 18.4% ตามลำดับ


แม้ว่าสงครามจะนำมาซึ่งความไม่แน่นอนแต่ก็นำมาซึ่งโอกาสในการลงทุนเช่นกัน สงครามเป็นเหตุการณ์ที่นักลงทุนไม่ต้องการและดูโหดร้าย แต่ในมุมมองของเศรษฐกิจแล้ว สงครามมีผลทางด้านบวกต่อเศรษฐกิจในหลายมิติด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน เศรษฐกิจเติบโตขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น อีกทั้งหลังจากสงครามจบลง จำเป็นต้องมีการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายด้วย พูดง่าย ๆ คือการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังนั่นเองและมีประสิทธิภาพกว่านโยบายการเงินด้วยซ้ำ ดังเช่น ที่เคยเกิดกับประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ตัวเลขเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว และขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว


ในหลายๆครั้งหุ้นที่ดีก็ถูกเทขายเมื่อเกิดสงครามด้วยเช่นกัน ทุกวันนี้กลุ่มธุรกิจที่อยู่ในตลาดหุ้นมีภาพที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหลากหลาย และหลายหลักทรัพย์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แถมยังอาจได้ประโยชน์ด้วยซ้ำ เช่น Alphabet (Google) หรือ Facebook อาจมีการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้นเพื่อติดตามข่าวสงครามแต่ความผันผวนในตลาดก็กระทบหุ้นทั้งสองด้วยเช่นกัน ความผันผวนถือเป็นโอกาสดีที่จะลงทุนในตราสารที่อาจถูกกระทบไปด้วยแต่ยังมีอนาคตที่มั่นคง

ทาง Kasikorn Private Banking Group ได้เน้นกลยุทธ์การลงทุน กระจายลงทุนในทุกสินทรัพย์เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง และต้องมีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนตามสภาวะหรือความผันผวนของตลาดอยู่ตลอดเวลา ดังเช่นกองทุนเปิดเค โกลบอล ริสก์ แอลโลเคชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (K-GLAM-UI) หรือ กลยุทธ์การลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในสภาวะตลาดหลายๆแบบดังเช่น กองทุนเปิดเค มัลติ-สตราทีจี บอนด์ (K-MBOND) ที่เป็นการลงทุนทางเลือก เน้นลงทุนผ่านตราสารหนี้ และสกุลเงิน ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยมหภาค สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทนและบริหารจัดการความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี


ประจำวันที่ 20 มกราคม 2563


กลับ
PRIVATE BANKING