Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เศรษฐกิจโลกโตช้าๆ อย่างเปราะบางภายใต้กฎใหม่

เศรษฐกิจโลกโตช้าๆ อย่างเปราะบางภายใต้กฎใหม่

กว่า 50 ปีที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายผ่านธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกมีแนวทางการบริหารจัดการที่ชัดเจน คือเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวหรือหดตัว ธนาคารกลางจะเพิ่มเงินในระบบทำการลดดอกเบี้ยเพื่อให้มีการกู้ยืมเงินไปดำเนินธุรกิจ หรือใช้จ่าย ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเติบโตเร็วเกินไป ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางก็จะดึงเงินออกจากระบบโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย วัฏจักรทางเศรษฐกิจเป็นแบบนี้มาหลายสิบปี แต่แนวทางดำเนินนโยบายดังกล่าวได้เริ่มเปลี่ยนไปอย่างมีนัย ในช่วง 10 ปีให้หลัง ความเชื่อมโยงระหว่างอัตราการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ เริ่มมีสัมพันธ์กันน้อยลง จะเห็นได้จากในปัจจุบันอัตราการว่างงานในสหรัฐฯอยู่ที่ 3.5% ต่ำสุดในรอบ 50 ปี แต่อัตราเงินเฟ้ออยู่เพียงแค่ 1.4% เท่านั้น


มีนักเศรษฐศาสตร์เริ่มพูดถึงมากขึ้นว่าเศรษฐกิจโลกที่กำลังเป็นคล้ายๆกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าไปทุกที สังคมผู้สูงอายุ ประสิทธิภาพของกำลังการผลิตที่สูงขี้น ปัจจัยการผลิตอื่นๆ เมื่อรวมกับผลของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่สหรัฐฯได้เริ่มนำมาใช้นับตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งขณะนั้นคาดว่าจะเป็นมาตรการชั่วคราว แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าจะเป็นมาตรการถาวรไปเสียแล้ว และธนาคารกลางต่างๆหันมาใช้มาตรการทางการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ทุกเมื่อถ้าอัตราเงินเฟ้อยังคงไม่สูงขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ถดถอยกำลังป็นมาตรการ “ปรกติ" ซึ่งต่างจากนโยบายในอดีตมาก


ด้านมาตรการทางการคลังกำลังเป็นที่จับตามองของนักลงทุนโลกในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ที่มีปริมาณการกู้ยืมภาครัฐต่อจีดีพีที่สูงมากอยู่แล้ว (เกิน 100 %) หากดอกเบี้ยขยับสูงขึ้นและยังกู้ยืมเพิ่มขึ้นอีกอาจส่งผลลบกับทางเศรษฐกิจได้ แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่สามารถขยายมาตรการทางการคลังได้ เช่น เยอรมนี ไทย เป็นต้น


การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลระยะยาวทำให้เศรษฐกิจโตอย่างช้าๆ ดอกเบี้ยคงอยู่ในระดับต่ำ เงินเฟ้อก็ต่ำ สิ่งที่ตามมากับการที่ภาครัฐฯขยายมาตรการการคลังในขณะที่มาตรการทางการเงินก็กำลัง “ฟุ้ง" และเศรษฐกิจยังไม่ได้ทรุดอย่างมีนัย เพิ่มความเปราะบางในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสที่เงินเฟ้อสูงจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะและเกิดการขยายซึ่งจะมาจากการขอเพิ่มค่าแรง และหดตัวซึ่งจะมาจากนโยบายทางการเงินเพื่อคุมเงินเฟ้อในระยะสั้น


วันนี้เราอยู่ในยุคที่ธนาคารกลางจะออกมาบอกว่าจะกระตุ้นจนกว่าเงินเฟ้อถึงหรือเกินเป้าเล็กน้อย ต้องยอมรับว่ามาตรการต่างๆ ที่ธนาคารกลางและภาครัฐทั่วโลกกำลังทำอยู่นั้นน่าที่จะประคองให้เศรษฐกิจโลกโตได้ช้าๆ มีดอกเบี้ยต่ำๆ มีเงินเฟ้อต่ำๆ แต่มีความเปราะบางที่จะเกิดเงินเฟ้อระยะสั้นๆมากขึ้น ในสถานการณ์ที่ดอกเบี้ยและเศรษฐกิจจะโตอย่างช้าๆ กลยุทธ์ลงทุนที่น่าจะมีผลดีในอีกหลายๆปีคือการหาตราสารหนี้ที่มีดอกเบี้ยที่สูงขึ้น Carry trade เพราะการที่ปริมาณเงินยังท่วมท้นและดอกเบี้ยกำลังลงเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ในโลกจะยังไม่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำได้โดยการเพิ่มความเสี่ยงในเครดิตของตราสารหนี้ให้สูงขึ้น ซึ่งสมควรมากับการกระจายความเสี่ยงด้านเครดิตด้วย


ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562


กลับ
PRIVATE BANKING