อาการไข้หวัดใหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา มีอาการแตกต่างกันอย่างไร? อาการไข้หวัดใหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา มีอาการแตกต่างกันอย่างไร?

อาการไข้หวัดใหญ่ VS ไข้หวัดธรรมดา ต่างอย่างไร?

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน โรคยอดฮิตประจำฤดูคงหนีไม่พ้น โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคที่หลายคนคิดว่าไม่รุนแรง เพราะสามารถหายเองได้ แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นมาทำความรู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ให้มากขึ้น อาการไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร? มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร? เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับหน้าฝนกันดีกว่า

ทำความเข้าใจอาการไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดธรรมดา

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และไข้หวัดธรรมดา (Common Cold) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเกิดหายใจ ทำให้ลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกัน จนทำให้ผู้ป่วยแยกโรคได้เองค่อนข้างยาก หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ อย่างไรก็ตามทั้งสองโรคมีอาการเฉพาะที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ดังต่อไปนี้

ไข้หวัดใหญ่อาการเป็นอย่างไร?

อาการของไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร ไข้หวัดใหญ่ วิธีรักษา

โรคไข้หวัดใหญ่ อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉันพลันและรุนแรงว่าไข้หวัดธรรมดา โดยแบ่งอาการออกเป็น 2 ระดับคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่ และอาการที่ร้ายแรง ควรรีบพบแพทย์

อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูง อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
  • หนาวสั่น และเหงื่อออก
  • ปวดเมื่อยตามตัว และอ่อนเพลีย
  • เจ็บคอและไอแห้ง โดยอาการไอจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา
  • มีน้ำมูกและจาม
  • ปวดตา
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจมีอาการท้องเสียและอาเจียนร่วมด้วย

อาการที่ร้ายแรงของไข้หวัดใหญ่

  • หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
  • ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจถี่
  • มีอาการชัก
  • โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว
  • ไอเยอะ มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียว

ไข้หวัดธรรมดาอาการเป็นอย่างไร?

อาการของไข้หวัดธรรมดาป็นอย่างไร ไข้หวัด วิธีรักษา

โรคไข้หวัดธรรมดา จะมีอาการป่วยไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับอาการไข้หวัดใหญ่ สามารถหายเองได้ใน 3-4 วัน แต่สำหรับอาการน้ำมูกไหลอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์ พบบ่อยทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยแบ่งอาการออกเป็น 2 ระดับคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดธรรมดา และอาการที่ร้ายแรง ควรรีบพบแพทย์

อาการทั่วไปของไข้หวัดธรรมดา

  • ไข้ต่ำ ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส หรือไม่มีไข้
  • มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียเล็กน้อย
  • น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจไม่สะดวก
  • ไอ จาม เจ็บคอ
  • เจ็บหน้าอก แต่ไม่รุนแรง
  • ระคายเคืองตา หรือมีตาแดง

อาการที่ร้ายแรงของไข้หวัดธรรมดา

หากมีอาการไข้หวัดธรรมดาดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • น้ำมูกหรือเสลดมีสีเหลือง หรือเขียว ซึ่งเกิดจากการอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย
  • เจ็บหน้าอกรุนแรง เหนื่อย หอบ หมดสติ โดยมักเกิดในผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำตัว

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B คืออะไร?

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B คืออะไร อาการเป็นอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่จะแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์ A (Influenza A) สายพันธุ์ B (Influenza B) และสายพันธุ์ C (Influenza C) โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B (Influenza B) คือสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุด โดยอาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A จะมีความรุนแรงมากที่สุด และสามารถระบาดได้ทั่วโลก ส่วนสายพันธุ์ B จะระบาดระดับภูมิภาค โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็น จึงมักระบาดในช่วงฤดูฝนและหนาว แต่อาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B จะรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ A

ใครมีความเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่บ้าง?

คนที่มีความเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ และมีอาการรุนแรง
  • หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสถียรของภูมิคุ้มกันไม่แน่นอน มีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่กว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า รวมถึงคุณแม่หลังคลอด 2 สัปดาห์
  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มเสื่อมถอยตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสติดเชื้อและมีอาการที่รุนแรง
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคไต ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้จะมีโอกาสติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ง่าย
  • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ป่วยน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน BMI ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานหนัก เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • ผู้พิการทางสมอง การดูแลป้องกันตนเองอาจทำได้ไม่ดีเท่าคนทั่วไป ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วยตัวเอง

หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ เช่น รับประทานยาลดไข้เมื่อมีไข้ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว รับประทานยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะเมื่อมีน้ำมูก ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่รุนแรง แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างใกล้ชิด

  • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนและหลังรับประทานอาหาร
  • ไม่ใช้มือสัมผัสตา จมูก และปาก
  • ทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสบ่อย
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  • หากมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในบ้าน ควรแยกของใช้ให้ชัดเจน
  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค

วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่

หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ เช่น รับประทานยาลดไข้เมื่อมีไข้ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว รับประทานยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะเมื่อมีน้ำมูก ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่รุนแรง แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างใกล้ชิด

วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ ด้วยตัวเอง

อาการไข้หวัดใหญ่มีทั้งอาการทั่วไปที่สามารถหายเองได้ และอาการรุนแรงที่ต้องรีบพบแพทย์ ดังนั้นกันไว้ย่อมดีกว่าแก้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีป้องกันโรคที่เราแนะนำไปข้างต้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความอุ่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพเพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาล เพราะในการป่วยแต่ละครั้งเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อย พบแพทย์แล้วกลับบ้านได้เลย หรือมีอาการรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล แต่การมีประกันสุขภาพ คุณจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ทั้งผู้ป่วยนอก OPD และผู้ป่วยใน IPD ตามแผนที่เลือก ช่วยบริหารความเสี่ยงด้านการเงินในยามที่เจ็บป่วย ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนักอึ้ง อุ่นใจกว่าที่เคย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

รับคำอธิบายพร้อมปรึกษาแบบประกันที่ เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

แชทกับผู้เชี่ยวชาญผ่าน Line KBank Live แชทกับผู้เชี่ยวชาญผ่าน Line KBank Live คุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่าน Kbank Call Center
แตะเพื่อปิด
มีคำถาม? แชทกับ KBank Liveclose
icon_line