ไอเป็นเลือด เสลด เสมหะมีเลือดปน สัญญาณโรคร้ายที่ต้องระวัง ไอเป็นเลือด เสลด เสมหะมีเลือดปน สัญญาณโรคร้ายที่ต้องระวัง

ไอเป็นเลือด สัญญาณโรคร้ายที่ต้องระวัง

คนส่วนใหญ่มักหวั่นวิตกเมื่อพบว่ามีอาการ “ไอเป็นเลือด” เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติที่รุนแรงจนเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้ ในบทความนี้จึงจะพาไปรู้จักอาการไอเป็นเลือดให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถสังเกตลักษณะอาการไอของตนเอง และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

อาการไอเป็นเลือด คืออะไร?

ไอเป็นเลือด (Haemoptysis) คือ อาการไอที่พบเลือดปนออกมากับน้ำลาย เสมหะหรือเสลด เกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจหรือปอดผิดปกติ โดยเลือดอาจออกมาจากช่องคอ ช่องท้อง หรือปอด ซึ่งแพทย์ต้องทำการตรวจวินิจฉัยต่อไปว่าส่วนใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออก

ไอเป็นเลือดมีแบบไหนบ้าง?

ไอเป็นเลือด เสลด เสมหะมีเลือดปน มีแบบไหนบ้าง? ไอเป็นเลือดเกิดจาก ไอเป็นเลือดเกิดจากอะไร

เมื่อมีอาการไอเป็นเลือด ต้องดูว่าเป็นเลือดอย่างเดียวไม่มีเสมหะปน หรือมีเสมหะปนอยู่ด้วย เพราะอาการไอเป็นเลือดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ไอเป็นเลือดสด และไอติดเลือด ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • ไอเป็นเลือดสด กรณีที่มีเลือดสดออกมาประมาณครึ่งฝ่ามือขึ้นไป เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องพบแพทย์ด่วน เพราะมีหลายจุดในร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของเลือดออก ซึ่งหากมีอาการรุนแรงขึ้นอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • ไอติดเลือดหรือเสมหะมีเลือดปน โดยมากเกิดจากการไอแรงจนเส้นเลือดฝอยที่คอแตก ทำให้เสมหะหรือเสลดเป็นเลือด โดยเสมหะมีเลือดปนอาจมีสีชมพู หรือสีน้ำตาลคล้ำคล้ายกากกาแฟ ซึ่งไม่มีอันตรายแทรกซ้อน แต่หากเป็นบ่อยครั้งแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอย่างละเอียด เพราะอาจเกิดจากเลือดออกภายในร่างกายได้

สาเหตุของไอเป็นเลือด

ไอเป็นเลือดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  • ไอแรง ๆ หรือไอเรื้อรังจนทำให้เส้นเลือดฝอยที่คอแตก
  • สูดเอาฝุ่น ควัน หรือมลพิษทางอากาศที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเข้าไป อาจส่งผลให้เส้นเลือดฝอยบริเวณจมูกแตกได้
  • เนื้อเยื่ออักเสบ ทำให้เลือดออกและเป็นสาเหตุให้เกิดการไอเป็นเลือด
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin Dabigatran และ Rivaroxaban
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในจมูก ทำให้ทางเดินหายใจและปอดเสียหายได้
  • หลอดลมพองตัวผิดปกติ

การรักษาโรคไอเป็นเลือด

การรักษาโรคไอเป็นเลือด เสลด เสมหะมีเลือดปน? ไอเป็นเลือดวิธีแก้

การวินิจฉัยอาการไอเป็นเลือด

เมื่อมาพบแพทย์ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติอาการ ลักษณะเลือดที่ออกมา ประวัติสุขภาพ ประวัติการการใช้ยา รวมทั้งประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวว่ามีใครป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับลิ่มเลือดหรือไม่ นอกจากนี้อาจมีการตรวจเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ เช่น

  • ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อดูหลอดเลือดแดง หัวใจ ปอดและกะบังลม
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง
  • ส่องกล้องทางเดินหายใจ เพื่อหาช่องทางที่เลือดออกมา
  • เก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อ
  • ตัดชิ้นเนื้อปอดส่งตรวจห้องปฏิบัติการ

การวินิจฉัยอาการไอเป็นเลือดจะทำให้ทราบสาเหตุว่าเลือดออกมาจากส่วนใด และสามารถทำการวางแผนการรักษาต่อไปอย่างตรงจุด

วิธีแก้ไขเมื่อไอเป็นเลือด

วิธีแก้ไขเมื่อไอเป็นเลือดจะแตกต่างกันไปตามอาการและสาเหตุที่เกิด โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับอาการรายบุคคล ดังนี้

  • ไอเป็นเลือดปริมาณไม่มาก (Nonmassive hemoptysis) แพทย์จะรักษาด้วยยาที่ตอบสนองต่อสาเหตุอย่างเหมาะสม เช่น ยาแก้ไอ ยาปฏิชีวนะ และให้นอนพัก เพื่อรออาการดีขึ้น
  • ไอเป็นเลือดปริมาณมาก (Massive hemoptysis) กรณีผู้ป่วยหมดสติ แพทย์จะช่วยให้ฟื้นคืนสติด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อรักษาค่าออกซิเจนในเลือด จากนั้นจะหาตำแหน่งที่เลือดออก และควบคุมการไหลเวียนเลือด เช่น สอดสายสวนเพื่ออุดหลอดเลือด ใช้ยายับยั้งการสลายลิ่มเลือด หรือการผ่าตัดรักษา เป็นต้น

วิธีป้องกันอาการไอเป็นเลือด

  • ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควัน หรือสารเคมีอันตราย
  • หากมีอาการไอเรื้อรัง ไอรุนแรงจนเสมหะมีเลือดปน แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาโดยเร็ว

แม้การไอเป็นเลือดส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง เป็นเพียงการไอรุนแรงจนเส้นเลือดฝอยแตกเท่านั้น แต่ในผู้ป่วยบางรายก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอดโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนมานักต่อนัก ดังนั้นเมื่อพบอาการไอเป็นเลือดจนน่าผิดสังเกต หรือเสมหะมีเลือดปนบ่อยครั้ง ให้รีบมาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมทั้งป้องกันตัวเองด้วยการดูแลสุขภาพร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง

วิธีป้องกันอาการไอเป็นเลือด เสลด เสมหะมีเลือดปน

นอกจากจะดูแลตัวเองให้สุขภาพดีแล้ว การวางแผนเรื่องสุขภาพก่อนเจ็บป่วยด้วยการทำประกันโรคร้ายแรงก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อประกันตั้งแต่ที่เรายังสุขภาพดี จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลเมื่อเป็นโรคร้ายแรง อันจะนำพาเราไปสู่การใช้ชีวิตอย่างสบายใจมากขึ้น

ประกันแบบไหนที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ

เริ่มค้นหา

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top