"
• หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวที่ชัดเจนขึ้น ทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกในระยะข้างหน้า โดยสะท้อนจาก Fed Fund Futures ที่จัดทำโดย CME Group ชี้ว่านักลงทุนมองว่ามีความเป็นไปได้ถึง 99.8% ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือน ธ.ค. ที่จะถึงนี้
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลงทันที โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดจากระดับ 4.64% มาที่ 4.47% (ณ วันที่ 20 พ.ย. 2023) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตราสารหนี้ต่างประเทศ
"
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนตุลาคม ต่ำกว่าคาดการณ์
เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อ หรือ CPI เดือน ต.ค. ออกมาที่ 3.2% (YoY) ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.3% (YoY) และ 0.0% (MoM) ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 0.1% (MoM) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน หรือ Core CPI ออกมาที่ 4.0% (YoY) ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 4.1% (YoY) และ 0.2% (MoM) ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 0.3% (MoM)
ตลาดคาด Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้
หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวที่ชัดเจนขึ้น จากช่วงต้นปีอยู่ที่ระดับ 5-6% (YoY) มาที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3.2% (YoY) ทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกในระยะข้างหน้า โดยสะท้อนจาก Fed Fund Futures ที่จัดทำโดย CME Group ชี้ว่านักลงทุนมองว่ามีความเป็นไปได้ถึง 99.8% ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือน ธ.ค. ที่จะถึงนี้
ตลาดการเงินปรับตัวขึ้นรับข่าวเชิงบวกทันที
ภายหลังสำนักงานสถิติสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนี CPI อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลงทันที ส่งผลให้ราคาตราสารหนี้สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดจากระดับ 4.64% มาที่ 4.47% (ณ วันที่ 20 พ.ย. 2023) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตราสารหนี้ต่างประเทศ
การลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วยลดแรงกดดันต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วัน ระหว่างวันที่ 14-17 พ.ย. รวม 2.32% นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเนื่องไปยังตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัวขึ้นตามเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมไปถึงสินทรัพย์การลงทุนประเภท REITs
มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ
การที่ดัชนี CPI ชะลอตัวลงในเดือนที่ผ่านมา ช่วยลดความผันผวนของตลาดการลงทุนในระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามท่าทีของ Fed ในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้ รวมถึงมุมมองอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการ Fed ที่จะเปิดเผยผ่าน Dot plot ซึ่งหากยังไม่มีท่าทีผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างชัดเจน อาจทำให้ตลาดกลับมาผันผวนได้อีก
แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับลดลงแล้วก็ตาม แต่ในระยะข้างหน้ายังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องติดตาม คือ ระดับมูลค่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังค่อนข้างสูง จึงมี Upside ไม่มาก ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วและแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนอาจเติบโตน้อยลง
K WEALTH จึงยังมีมุมมองเป็นกลาง (Neutral) ต่อการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ
• สำหรับนักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำให้ถือลงทุนต่อ
• ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำให้ติดตามสถานการณ์และรอโอกาสการลงทุน
K WEALTH แนะนำให้กระจายการลงทุนผ่านหุ้นทั่วโลก โดยมุ่งเน้นการลงทุนแบบ Selective ผ่านธีมการลงทุนที่มีโอกาสเติบโตสูงกว่าเศรษฐกิจ และ Defensive เพื่อรับกับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น K-HIT, K-GHEALTH
มุมมองการลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลง ทำให้ราคาตราสารปรับตัวขึ้น ส่งผลดีต่อการลงทุนกองทุนตราสารหนี้โลก โดย K WEALTH มีมุมมองเชิงบวก (Positive) ต่อการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ เช่น K-GB
• สำหรับนักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ แนะนำให้ถือลงทุนต่อหรือทยอยสะสมเพิ่ม
• สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ แนะนำให้ทยอยลงทุน
คำแนะนำการลงทุน
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ลงทุนในบริษัท Healthcare เป็นกลุ่ม Defensive ที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-HIT ซึ่งมีการกระจายการลงทุนไปในหลากหลายธีมทั่วโลกที่มีโอกาสเติบโตสูงกว่าเศรษฐกิจในระยะยาว
o ต้องการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เน้นการลงทุนสินทรัพย์ประเทศไทย และรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น แต่ยังลงทุนระยะยาวได้
o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o แต่หากต้องการลงทุนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น
และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินรอจังหวะการลงทุนในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”