เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร? เข้าใจสาเหตุพร้อมผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

เงินเฟ้อ หรือ Inflation เป็นคำศัพท์ที่เมื่อฟังข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการลงทุน หรือฟังนักวิเคราะห์การลงทุนเล่า ก็เป็นคำยอดฮิตที่มักถูกพูดถึง เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง วันนี้ KWEALTH มาอธิบายให้หมดเปลือกเกี่ยวกับคำว่า “เงินเฟ้อ” แล้วสถานการณ์เงินเฟ้อ ณ ขณะนี้ ควรท

กดฟัง
หยุด
เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร? ทำไมถึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการลงทุน


• เงินเฟ้อคือการดูว่าราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้น แพงกว่าเดิม มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับปีก่อน


• เงินเฟ้อทำให้กำไรของธุรกิจลดลง เพราะราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น และถ้าเป็นธุรกิจที่ขึ้นราคาสินค้าได้ยาก ก็จะยิ่งกระทบกำไรบริษัท ทำให้ช่วงเกิดเงินเฟ้อสูง นักลงทุนไม่ค่อยชอบ ตลาดหุ้นจึงปรับตัวขึ้นได้ยาก


• สำหรับหลายคนที่ไม่มีเวลามานั่งติดตามตลาดการลงทุน อยากมีมืออาชีพมาคอยดูแลพอร์ตการลงทุนให้เติบโต แนะนำ กองทุนผสม



เงินเฟ้อ หรือ Inflation เป็นคำศัพท์ที่เมื่อฟังข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการลงทุน หรือฟังนักวิเคราะห์การลงทุนเล่า ก็เป็นคำยอดฮิตที่มักถูกพูดถึง เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง วันนี้ KWEALTH มาอธิบายให้หมดเปลือกเกี่ยวกับคำว่า “เงินเฟ้อ” แล้วสถานการณ์เงินเฟ้อ ณ ขณะนี้ ควรที่จะลงทุนอย่างไร



เงินเฟ้อคืออะไร
what-is-inflation.jpg

ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน เงินเฟ้อคือการดูว่าราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้น แพงกว่าเดิม มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่ถูกนำมาคำนวณเงินเฟ้อของไทย ก็จะเป็นสินค้าและบริการที่เราใช้จ่ายอยู่เป็นประจำ เช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมแอลกอฮอล์) น้ำหนักในการคำนวณเงินเฟ้ออยู่ที่ 42% ค่าเดินทาง 23% ค่าที่อยู่อาศัย 22% ความบันเทิง และการศึกษา 4% อื่นๆ อีก 9% แล้วจึงคำนวณออกมาเป็นตัวเลขเงินเฟ้อ



สาเหตุของเงินเฟ้อ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ หรือแปลง่ายๆ ว่าสินค้าและบริการแพงขึ้นนั้น สาเหตุที่ทำให้สินค้าแพงขึ้นแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่

  1. เงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิต (Cost-Push Inflation)

    เมื่อต้นทุนในการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน วัตถุดิบ หรือค่าแรง ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อรักษาระดับกำไร


    ตัวอย่าง: เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มตาม ร้านค้าจึงจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าเพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น


    คำแนะนำสำหรับเงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิต

    • ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันและวัตถุดิบหลักอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาสินค้า
    • วางแผนการใช้จ่ายให้รอบคอบมากขึ้นในช่วงที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น

  2. เงินเฟ้อจากอุปสงค์ส่วนเกิน (Demand-Pull Inflation)

    เกิดขึ้นเมื่อความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในตลาด ทำให้ผู้ขายสามารถตั้งราคาสูงขึ้นได้


    ตัวอย่าง: ในช่วงการระบาดของโควิด-19 หน้ากากอนามัยเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่กำลังการผลิตไม่เพียงพอ ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    คำแนะนำสำหรับเงินเฟ้อจากอุปสงค์ส่วนเกิน

    • พยายามหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าเกินความจำเป็นในช่วงที่สินค้านั้นเป็นที่ต้องการสูง
    • เปรียบเทียบราคาสินค้าจากหลายแหล่งก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย

  3. เงินเฟ้อจากนโยบายการเงิน (Monetary Inflation)

    เกิดขึ้นเมื่อธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือการพิมพ์เงินเพิ่ม ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น จนนำไปสู่การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าและบริการ


    คำแนะนำสำหรับเงินเฟ้อจากนโยบายการเงิน

    • ติดตามนโยบายการเงินและประกาศสำคัญจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
    • พิจารณาทางเลือกในการลงทุนที่มีศักยภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ หรือทองคำ



ผลกระทบเงินเฟ้อ
causes-of-inflation.jpg

เงินเฟ้อไม่ใช่แค่เรื่องตัวเลขในข่าวเศรษฐกิจ แต่ส่งผลจริงต่อชีวิตประจำวันของเรา ทั้งในฐานะผู้บริโภค ผู้ผลิต และนักลงทุน ลองมาดูกันว่ามุมมองแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร และเราจะรับมือกับมันได้อย่างไร

  1. มุมผู้บริโภค: เงินในกระเป๋าซื้อได้น้อยลง

    เงินเฟ้อทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่า "กำลังซื้อ" ของเราอ่อนแอลง ยกตัวอย่างง่ายๆ:

    ก๋วยเตี๋ยวเมื่อ 15 ปีก่อนราคา 20 บาท ปัจจุบันราคา 50 บาท

    แผนรับมือ
    • วางแผนงบประมาณล่วงหน้า และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    • หาช่องทางหารายได้เสริม เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
    • พิจารณาซื้อสินค้าจากแบรนด์ทางเลือก หรือซื้อในช่วงโปรโมชันราคาพิเศษ

  2. มุมผู้ผลิต: ต้นทุนสูงขึ้น กำไรลดลง

    ผู้ผลิตต้องเผชิญกับราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น เช่น ค่าขนส่ง พลังงาน และวัตถุดิบดิบ หากไม่สามารถปรับราคาขายได้เท่าทัน ก็จะทำให้กำไรหดตัว

    กลยุทธ์สำหรับธุรกิจ
    • หาทางลดต้นทุน เช่น ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ หรือเปลี่ยน supplier
    • วางแผนราคาล่วงหน้า โดยใช้การทำ contract purchase
    • ปรับสินค้า/บริการให้เพิ่มคุณค่า เพื่อรองรับการปรับราคาขึ้น

  3. มุมของนักลงทุน: ความผันผวนในตลาดการเงิน

    เมื่อต้นทุนธุรกิจสูงขึ้นและกำไรลดลง หุ้นของบริษัทมักจะถูกประเมินมูลค่าต่ำลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลงในช่วงเงินเฟ้อสูง นักลงทุนจึงระมัดระวังในการลงทุน

    กลยุทธ์การลงทุนช่วงเงินเฟ้อ
    • ลงทุนในสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ เช่น ทองคำ หุ้น หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
    • หลีกเลี่ยงกลุ่มหุ้นที่อ่อนไหวต่อราคาต้นทุน เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มพลังงาน

เงินเฟ้อไม่ได้แย่เสมอไป – ทำไมเงินเฟ้อในระดับที่เหมาะสม ถึงดีต่อเศรษฐกิจ?

หลายคนอาจมองว่า “เงินเฟ้อ” เป็นเรื่องลบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงินเฟ้อในระดับที่เหมาะสมสามารถส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกาและไทย จึงมีการกำหนด “กรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย” เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่กระทบกำลังซื้อของประชาชน

  • สหรัฐฯ ตั้งเป้าเงินเฟ้อที่ประมาณ 2%
  • ไทย มีกรอบเป้าหมายอยู่ที่ 1–3% (จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย)

เมื่อเงินเฟ้ออ่อนๆ เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ

ความต้องการสินค้าสูงขึ้น > ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น > ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด > ผู้ประกอบการมีผลกำไรเพิ่มขึ้น > ขยายกิจการ ลงทุนเครื่องจักรใหม่ > การจ้างงานขยายตัว > ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตอย่างต่อเนื่อง


วิธีรับมือกับเงินเฟ้อในชีวิตจริง

เงินเฟ้อเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบบเศรษฐกิจ แต่เราสามารถเตรียมตัวและวางแผนเพื่อบรรเทาผลกระทบที่มีต่อชีวิตประจำวันและการเงินส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลยุทธ์การออมเงินช่วงเงินเฟ้อ

  1. ตั้งงบประมาณรายเดือน จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก เช่น ค่าสมาชิกบริการที่แทบไม่ได้ใช้ หรือลดความถี่ในการทานอาหารนอกบ้าน
  2. ออมในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ อย่าเก็บเงินสดไว้มากเกินไป เพราะมูลค่าของเงินจะถูกกัดกร่อนตามกาลเวลา ควรมองหาช่องทางออมหรือลงทุนที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น กองทุนตลาดเงิน หรือบัญชีเงินฝากดิจิทัลที่ให้ดอกเบี้ยสูง
  3. ใช้เทคนิค "ออมก่อนใช้“ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ทันทีที่ได้รับเงินเดือน ก่อนที่จะนำไปใช้จ่ายอย่างอื่น เพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ดี

ทางเลือกการลงทุนที่เหมาะกับช่วงเงินเฟ้อ

  1. หุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น ธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ยา หรือของใช้จำเป็น มักยังคงทำกำไรได้แม้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย
  2. กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนและมีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาเงินต้นไม่ให้เสียหายมากในภาวะเงินเฟ้อสูง
  3. ทองคำหรือสินทรัพย์ทางเลือก ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นิยมใช้เป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ เนื่องจากราคามักปรับตัวขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อได้ดี

ไม่อยากปวดหัว ให้มืออาชีพช่วยดูแล

สำหรับหลายคนที่ไม่มีเวลามานั่งติดตามตลาดการลงทุน อยากมีมืออาชีพมาคอยดูแลพอร์ตการลงทุนให้เติบโต แนะนำลงทุนที่กระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ มีจังหวะปรับเพิ่มหรือลดตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร หรือเงินเฟ้อจะสูง ต่ำ หรือมีความน่ากังวลแค่ไหน โดยให้ลงทุนผ่านกองทุนผสม ตัวอย่างกองทุนผสมหลากหลายสินทรัพย์ที่น่าสนใจ และมีการจัดการที่ดี คือ กองทุน Wealth Plus ที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนแบบ DCA ลงทุนแบบสม่ำเสมอเท่ากันทุกเดือน หรือจะเลือกลงทุนตามโอกาสที่ต้องการสะสมเงินลงทุนเป็นรายครั้งได้ นอกจากนี้ในระหว่างการลงทุนจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้เข้ากับสภาวะช่วงนั้น โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ว่าจะมีเป้าหมายการลงทุนอย่างไร Wealth Plus ก็ช่วยวางแผน ช่วยเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับเราได้ ง่าย ครบ จบในตัวเดียว



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer มนัสวี เด็ดอนันต์กุล AFPT
Back to top