K WEALTH / บทความ / Market Update / ประเด็นร้อน : จับตา 2 ปัจจัยกดดันกองทุนน้ำมันติดลบ
09 มีนาคม 2566
1 นาที

ประเด็นร้อน : จับตา 2 ปัจจัยกดดันกองทุนน้ำมันติดลบ


​​​"


• ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีน อาจส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานอย่างน้ำมันดิบลดลง ทำให้ราคากองทุน K-OIL ณ 7 มี.ค. 66 ปรับตัวลดลง


• สำหรับผู้ที่ถือกองทุน K-OIL อยู่ แนะนำให้รอประเมินสถานการณ์ก่อน เนื่องจากสัญญาณทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนทั้งสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันหลักของโลก


"



วันที่ 3 มี.ค. 66 ราคากองทุน K-USA ปรับตัวขึ้น +3.78%เทียบกับวันก่อนหน้า โดยเป็นการปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวม เช่น ดัชนี Nasdaq +1.97% S&P 500 +1.61% และ Dow Jones +1.17% เทียบกับวันก่อนหน้า จากการที่ นายราฟาเอล บอสติก ประธาน FED สาขาแอตแลนตา ส่งสัญญญาณสนับสนุนให้ FED ชะลอความแรงในการปรับขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากกังวลว่าการขึ้นดอกเบี้ยแรงจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ช่วงเวลาใกล้เคียงกันในวันที่ 1 มี.ค. และ 3 มี.ค. ราคากองทุน K-OIL มีการปรับตัวขึ้น +1.18% และ +1.92%เทียบกับวันก่อนหน้า ตามลำดับ จากการส่งสัญญาณของประธาน FED สาขาแอตแลนตา แต่ล่าสุดเมื่อ 7 มี.ค. 66 ราคากองทุน K-OIL มีการปรับตัวลง -2.43%เทียบกับวันก่อนหน้า (ประกาศคืนวันที่ 8 มี.ค.) เป็นระดับราคาที่ใกล้เคียงกับช่วง ม.ค. 65 ก่อนที่ราคากองทุนจะมีการปรับตัวขึ้นสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตอนต้นเดือน มิ.ย. 65 หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซีย–ยูเครน


ทำไมกองทุน K-OIL ถึงปรับตัวลง


กองทุน K-OIL ปรับตัวลง โดยมีสาเหตุหลักจากความกังวลว่าความต้องการใช้พลังงานหรือน้ำมันในอนาคตอาจลดลง จากสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศหลักๆ อย่างสหัฐฯ และจีน มีการชะลอตัว ซึ่งปลาย-ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสัญญาณที่ส่งผลต่อความกังวลดังกล่าว โดยล้วนเป็นสัญญาณที่ผิดคาดจากที่นักลงทุนเคยรับรู้หรือคาดหวังไว้ ได้แก่

1) FED ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย


• นายเจอโรม พาวเวล ประธาน FED (ธนาคารกลางสหรัฐ) มีการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เงินเฟ้อลดลงสู่ระดับเป้าหมายของ FED ในการแถลงต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ เมื่อคืนวันอังคารที่ 7 มี.ค.

• เป็นสัญญาณที่ผิดคาดหลังจากที่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มี.ค. นายราฟาเอล บอสติก ประธาน FED สาขาแอตแลนตา เพิ่งส่งสัญญญาณสนับสนุนให้ FED ชะลอความแรงในการปรับขึ้นดอกเบี้ย

2) ตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาต่ำกว่าคาด


• 7 มี.ค. สำนักงานศุลกากรจีนรายงาน ยอดส่งออกของจีนในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ปรับตัวลง 6.8%เทียบเป็นรายปี และยอดนำเข้าในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ลดลง 10.2% สะท้อนว่าเศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง

• อีกทั้ง จีนมีการกำหนดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 66 ที่ประมาณ 5% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 5.5%

• โดยเป็นสัญญาณที่ผิดคาด หลังจากที่ 1 มี.ค. สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยตัวเลข PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ออกมาดีที่สุดในรอบเกือบ 11 ปี นับตั้งแต่ เม.ย. 55


มุมมองการลงทุน


• หุ้นสหรัฐฯ : ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าจะยังไม่มีการปรับลดในปีนี้ จะยังคงส่งผลกระทบต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นต้นทุนการเงินที่สำคัญของบริษัทโดยเฉพาะบริษัทที่มีภาระหนี้จำนวนมาก

• น้ำมัน : ความต้องการใช้พลังงานของจีนคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว ประกอบกับรัสเซียเองยังคงสามารถส่งออกน้ำมันได้ในปริมาณสูงอยู่ การเติบโตราคาน้ำมันจึงยังเป็นไปได้อย่างจำกัด


คำแนะนำการลงทุน


• ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ เช่น K-USA, K-US500X, K-USXNDQ และผู้ที่ถือกองทุน K-OIL แนะนำให้ถือต่อเพื่อรอประเมินสถานการณ์ ส่วนผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่มยังไม่แนะนำให้รีบร้อนลงทุน

• ผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงอื่น แต่ยังคงรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้หรือต้องการรับผลตอบแทนระยะยาว แนะนำลงทุนกองทุนผสม เช่น กองทุน K-GINCOME-A(A) ที่มีการแบ่งสัดส่วนและกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลก ช่วยลดความผันผวนและความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์หรือหุ้นที่กระจุกตัวเพียงบางประเทศ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
 KAsset
​ Ryt9

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



บทความโดย K WEALTH TRAINER ราชันย์ ตันติจินดา CFP®

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!