K WEALTH /
บทความ /
Product Review / FED ขึ้นดอกเบี้ยชะลอตัว เลือกลงทุนกองทุนตราสารหนี้อย่างไรดี
20 ธันวาคม 2565
4 นาที
FED ขึ้นดอกเบี้ยชะลอตัว เลือกลงทุนกองทุนตราสารหนี้อย่างไรดี
"
• จากการที่ FED ขึ้นดอกเบี้ยแบบชะลอตัวทำให้มองว่าในปี 2566 อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับลดลง อัตราดอกเบี้ยผ่านการทำจุดสูงสุดแล้วเป็นโอกาสดีสำหรับการเข้าลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
• ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นได้ประโยชน์เพราะเมื่อถือจนครบอายุก็ทำการลงทุนไปเรื่อยๆ (Roll Over) ทำให้ไม่เสียโอกาสในการรับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
• ในช่วงดอกเบี้ยชะลอตัวหากนักลงทุนมองว่าสามารถรับความเสี่ยงในเรื่องของระยะเวลาลงทุนได้มากขึ้นสามารถเขยิบมาลงกองทุนตราสารหนี้ระยะที่ยาวขึ้นได้ ( Duration > 1ปี) เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากกว่า แนะนำ K-CBOND
"
ปัจจุบันนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด (FED) จะขึ้นดอกเบี้ยแบบชะลอตัวลง ในการประชุม FED ช่วงกลางเดือน ธ.ค. นี้ เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อที่เริ่มปรับขึ้นแบบชะลอตัว และจากข้อมูล FEDWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนคาดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะขึ้นไปสูงสุดที่ 5.00-5.25% ไปจนถึงปลายปี 2566 รวมถึงจากบันทึกการประชุมของ FED ยังแสดงให้เห็นว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะสิ้นสุดลงในเร็ววันนี้ และคาดว่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต หากกลับมามองที่ผลตอบแทนตราสารหนี้ (Bond Yield) ที่จะทยอยปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะสูงสุดแล้ว ในช่วงเดียวกันกับที่ดอกเบี้ยทำจุดสูงสุด แสดงให้เห็นว่า การกดดันราคาตราสารหนี้กำลังจะสิ้นสุดลง ถือเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ พันธบัตร หรือหุ้นกู้ การลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงนี้จึงไม่ใช่แค่เลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงเท่านั้น จะมีแนวทางไหนบ้างมาดูกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อกองทุนตราสารหนี้เมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ย
ช่วงที่ผ่านมากองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นมักทำผลตอบแทนได้ดีกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะการที่กองทุนถือตราสารหนี้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีเอาไว้ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ (Reinvestment Rate) ดีกว่า และได้รับผลกระทบจากมูลค่าตราสารหนี้ที่ลดลงจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย น้อยกว่า กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว แต่หากติดตามข่าวในช่วงที่ผ่านมาก็จะพบว่าดอกเบี้ยขึ้นใกล้จุดสูงสุดแล้ว และอาจเกิดการลดลงในอนาคต นั้นหมายความว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะยาวจะได้ประโยชน์มากกว่านั้นเอง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจะขออธิบายทางเลือกลงทุนกองทุนตราสารหนี้โดยแบ่งได้ตามอายุเฉลี่ยหรือ Duration ของกองทุน ดังนี้………
• กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น : มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี มีความเสี่ยงต่ำ สามารถลงทุนในได้ทุกสภาวะตลาด มีสภาพคล่องสูงสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี และมีโอกาสให้ผลแทนสูงกว่าเงินฝาก เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่ชอบความผันผวน และต้องการลงทุนระยะสั้นๆ หรือต้องการพักเงิน เช่น K-SF
• กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง : มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก รวมถึงต้องการขยับโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ และสามารถรับความผันผวนได้ไม่มาก เช่น K-CBOND
• กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว : มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ย 2-5 ปี เหมาะสําหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงตํ่าถึงปานกลาง แต่สามารถลงทุนระยะยาวได้ หรือยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในเร็ววันนี้ โดยสามารถยอมรับความผันผวนที่สูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น และระยะกลางได้ เช่น K-FIXED
เปรียบเทียบกองทุนตราสารหนี้
กองทุนตราสารหนี้
| K-SF
| K-CBOND
| K-FIXED
|
ประเภทของกองทุน ตราสารหนี้
| ระยะสั้น
| ระยะกลาง
| ระยะยาว
|
อายุเฉลี่ย (Portfolio Duration)
| 3.84 เดือน
| 1.79 ปี
| 2.11 ปี
|
ระดับความเสี่ยง
| 4
| 4
| 4
|
นโยบายการลงทุน
| ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และ/หรือเงินฝากทั้งในและต่างประเทศ
| ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนและหรือรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
| ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากในประเทศ
|
สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ
| ไม่เกิน 50%
| ไม่มี
| ไม่มี
|
สินทรัพย์ที่ลงทุน 5 อันดับแรก
| เงินฝาก DOHA BANK QSC = 1.99% เงินฝาก Qatar National Bank = 1.80% พันธบัตร (CBF23320A) = 1.72% เงินฝาก Qatar National Bank = 1.71% พันธบัตร (TB23412A) = 1.70%
| หุ้นกู้ (GULF252A) = 5.91% หุ้นกู้ (TLT23NA) = 3.97% เงินฝาก บมจ.ธนาคารกรุงเทพ = 2.20% หุ้นกู้ (PTTC268A) = 2.19% หุ้นกู้ (TRUE23OC) = 1.97%
| หุ้นกู้ (GULF269A) = 4.37% หุ้นกู้ (CPALL316A) = 4.28% หุ้นกู้ (SCC248A) = 3.92% หุ้นกู้ (SCGC279A) = 3.56% หุ้นกู้ (TBEV266A) = 3.09%
|
Maximum Drawdown
| -0.09%
| -1.78%
| -1.78%
|
Recovering Period
| 0.10 เดือน
| 6.41 เดือน
| N/A
|
เหมาะกับ
| ผู้ที่ต้องการพักเงิน ระยะสั้นๆ 3 – 6 เดือน
| ผู้ที่สามารถลงทุน 1 ปีขึ้นไป
| ผู้ที่สามารถลงทุน 2 ปีขึ้นไป
|
หมายเหตุ : ข้อมูล K-SF ณ วันที่ 22/11/65 และ K-CBOND, K-FIXED ณ วันที่ 31/10/65
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนตราสารหนี้
เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการตัดสินใจสำหรับนักลงทุนจึงขอนำเอาผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนตราสารหนี้มาแสดงดังนี้
หมายเหตุ : ข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 64 - 15 ธ.ค. 65
จากภาพจะเห็นได้ว่ากองทุนตราสารหนี้ K-SF เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีความผันผวนน้อยที่สุด แม้จะมีความผันผวนของ Bond Yield อยู่บ้าง ส่วนกองทุน K-CBOND และ K-FIXED เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางซึ่งมีความผันผวนตามอายุเฉลี่ยของกองทุน แม้จะได้รับผลกระทบด้านราคาจากดอกเบี้ยขาขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม หากถือไปจนครบอายุเฉลี่ยของกองทุนตราสารหนี้ โดยผลตอบแทนรวมหากถือตราสารจนครบกำหนด (Yield to Maturity) ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.8 – 3.0% ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลลงได้ และหากเงินเฟ้อลดลง และ FED เริ่มส่งสัญญาณไม่ว่าจะเป็นการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยหรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต จนทำให้ Bond Yield ปรับตัวลงต่อเนื่อง กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางอย่างกองทุน K-CBOND และ K-FIXED ก็จะได้ประโยชน์โดยตรง
คำแนะนำเพิ่มเติม
• นักลงทุนคาดว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ซึ่งจะเข้าใกล้ระดับสูงสุดตามที่ตลาดคาดไว้ราว 5.00-5.25% ซึ่งเหลือการปรับขึ้นอีกไม่มาก จากนั้นดอกเบี้ยมีโอกาสเป็นขาลง นักลงทุนก็สามารถเขยิบมาลงกองทุนตราสารหนี้ระยะที่ยาวขึ้นได้ เช่น จากเดิมเน้นลงทุนกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอายุน้อยกว่า 1 ปี สามารถเปลี่ยนมากระจายความเสี่ยงลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวขึ้นเพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากกว่า แนะนำ K-CBOND
• หมั่นคอยคิดตามข่าวเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 เพื่อดูแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับวางแผนการลงทุนให้รอบคอบต่อไป
• สำหรับคนที่เริ่มมั่นใจในสภาวะตลาดและมองว่าคาดการณ์เศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ให้ไว้ ก็สามารถลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวได้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย, ThaiBMA
บทความโดย K WEALTH TRAINER พธพร รัตนสิโรจน์กุล