K WEALTH / บทความ / Wealth Management / Bond Yield ขึ้น กระทบอะไรบ้าง
26 ตุลาคม 2564
2 นาที

Bond Yield ขึ้น กระทบอะไรบ้าง


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

 ช่วงนี้จะเห็นพาดหัวข่าวเศรษฐกิจ ที่มักพูดถึง Bond Yield ที่เพิ่มสูงขึ้​นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก มีการปรับตัวลดลง ราคา NAV ของกองทุนตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ​เลยนึกสงสัยว่า Bon​​d Yield คืออะไร มันเกิดอะไรขึ้น รวมถึงสร้างผลกระทบกับตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไปอีกนานเพียงใด วันนี้เรามาชวนคุยเรื่องนี้กัน

​​​​“


          Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนอย​ากได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมักใช้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เป็นตัวแทนสู่ระดับ 1.437%  ภายในระยะเวลา 1 คืน และทำจุดสูงสุ​ดที่ระดับ 1.636 % ภายในระยะเวลา 13 วัน เนื่องจากได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักลงทุนทั่วโลก โดยเมื่อ 23 กันยายน 2564 Bond Yield  สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากจุดต่ำสุด 1.304%

          ในขณะที่ประเทศไทย ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการวินัยการเงินการคลัง มีมติเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ เป็น 70%ของ GDP จากเดิมที่ 60%ของ GDP เพื่อรองรับการกู้เงินเพิ่มเติมของรัฐบาล รวมถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลที่มากกว่าคาด ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น


ส่งผลต่อตลาดหุ้นอย่างไร​​​​​          ​
         ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับ​ตัวลง หลังจากการ​ประชุ​​มของคณ​​ะ​​​กรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 5​00​) ป​​​รับตัวล​​ง​​ต่ำสุด 3.34%​​ ตล​​​​าดหุ้นยุโรป (S​TOXX 600) ปรับตัวลงต่ำสุด 3.58% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ( Nikkei 225 ) ปรับตั​วลงต่ำสุด ​8​​​​.​​9​9%​​ ในข​ณะ​ที่​ตลาด​หุ้​นไทย (SE​​​T) ป​รับตัวลงต่ำสุด 1.59%  ​โดยมีปัจจัยกดดันจากการที่ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น จา​กก​ารคา​ดการณ์ว่าใ​น​อน​​​าคตจะ​​​มีก​ารขึ้นด​อกเบี้ย ​ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจสูงขึ้น กระทบกำไรของบริษัท นอกจากนี้ การที่ผลตอบแทนของตราสาร​​หนี้​​ปรับตั​ว​สูงขึ้​​น ก็ทำให้ตลาดหุ้นมีความน่าสนใจน้อยลง จึงเกิดการเทขายหุ้น กดดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง​​​​​



คำแนะนำ สำหรับการลงทุนในตราสารทุน​​​​

          
          สำห​​​รับการลงทุนระยะยาว การปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย ที่ทำให้ Bond Yield ปรับตัวขึ้น เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ควบคุมเงินเฟ้อเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจไม่ให้มากจนเกิดผลเสีย ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ สาเหตุที่ทำตลาดหุ้นมีความผันผวนเท่านั้น ซึ่งการลงทุนระยะยาว จะสามารถลดความผันผวนได้ด้วย “ระยะเวลา ” ช่วยให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนดียิ่งขึ้น 

          แนะนำให้เลือกหุ้นที่มีผลประกอบการที่ดี ธุรกิจมีโอกาสเติบโตและมีโอกาสสร้างกำไรได้ในอนาคต รวมถึงมีการทำธุรกิจอยู่ในประเทศหรือภูมิภาคที่ยังมีโอกาสเติบโตได้สูง ผ่านกองทุนรวม เช่น K-CHINA / K-CHX / K-ASIACV /K-ASIAX / K-ATECH / K-VIETNAM  ที่ในระยะสั้นราคามีการปรับตัวลง นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง สามารถทยอยสะสม เพื่อรับผลตอบแทนเมื่อสถานการณ์กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง แต่หากนักลงทุนรับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง แนะนำกองทุน K-GINCOME / K-GA ที่เหมาะสมจะเป็นสัดส่วนเงินลงทุนหลัก สำหรับนักลงทุนระยะยาว เพราะมีการกระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก


ส่งผลต่อตราสารหนี้อย่างไร 

          การที่ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ Bond Yield อีกหลายประเทศปรับตัวขึ้นตาม ผลที่ตามมาคือ ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ดังนั้น ราคา NAV ของกองทุนตราสารหนี้จึงปรับตัวลงเช่นกัน ซึ่งต่างไปจากความเข้าใจของนักลงทุนบางท่าน ที่เข้าใจว่า การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ผลตอบแทนไม่มีวันติดลบ แต่ในความเป็นจริง ราคาตราสารหนี้มักเคลื่อนไหวตรงข้ามกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยตลาด โดยเมื่อดอกเบี้ยตลาดปรับตัวขึ้นราคาตราสารหนี้จะปรับตัวลง ซึ่งจะกระทบกับนักลงทุนเดิมที่ถืออยู่ ส่วนคนที่กำลังจะลงทุนใหม่ ก็จะได้ประโยชน์จากราคาตราสารหนี้เดิมที่ลดลง หรือดอกเบี้ยที่สูงขึ้นของตราสารหนี้ที่ออกใหม่​

คำแนะนำ สำหรับกองทุนตราสารหนี้


          สำหรับผู้ที่ถืออยู่ ระยะสั้นอาจมีความผันผวนบ้าง แต่แนะนำให้ถือจนครบอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุนอยู่ (portfolio duration) หรือถือตามระยะเวลาที่ บลจ. แนะนำ 
          สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนใหม่หรือลงทุนเพิ่ม แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ตามระยะเวลาที่ต้องการพักเงิน หรือใช้เงิน เช่น หากต้องการพักเงินในกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือนขึ้นไป ขอแนะนำกองทุน K-SFPLUS ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามตารางด้านล่าง

​​.

Disclamer : “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset, KSecurities,  Google Finance, Tradingview​



บทความโดย K WEALTH GURU มนัสวี เด็ดอนันต์กุล
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!