สาเหตุที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น
1) ดัชนี PCE เม.ย. ขึ้นน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา
ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน หรือดัชนี PCE พื้นฐาน (ไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน) เดือน เม.ย. 65 เพิ่มขึ้นเพียง +4.9%YoY จากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่ม +5.2% ซึ่งดัชนี PCE พื้นฐาน เป็นตัวเลขหลักที่ FED ใช้ติดตามสถานการณ์เงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนเริ่มมองว่าดัชนีเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อาจผ่านระดับสูงสุดไปแล้วและกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ส่งผลให้ FED อาจไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ช่วยลดความกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ
2) ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลง
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกมีจำนวนลดลง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ในสหรัฐฯ
3) หุ้นใหญ่หลายบริษัท ราคาปรับขึ้น
หุ้นขนาดใหญ่หลายหลายบริษัทราคา ณ 27 พ.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า ส่งผลให้ตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นหุ้นบริษัทเทสลา (TSLA) +7.33% บริษัทแอปเปิล (AAPL) +4.08% และบริษัทไมโครซอฟท์ (MSFT) +2.76% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นได้แก่ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย +3.47% และกลุ่มเทคโนโลยี +3.44%
ปัจจัยที่ยังต้องติดตาม
• การประชุม FED วันที่ 14-15 มิ.ย. และ 26-27 ก.ค. 65 ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.5% หรือไม่
• รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงสัปดาห์นี้ เช่น ISM Manufacturing (ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโรงงาน), ISM Service (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ), Beige Book (รายงานบทสรุปของสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน) และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
• การปรับมุมมองต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS ของนักวิเคราะห์ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้
คำแนะนำการลงทุนกองทุนหุ้นสหรัฐฯ
เช่น K-USA, K-US500X, K-USXNDQ, K-USA-SSF และ KUSARMF
- ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ อยู่ แนะนำถือลงทุนต่อ โดยติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะรายงานในช่วงสัปดาห์นี้ และสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่จะมีการประชุม 14-15 มิ.ย. และ 26-27 ก.ค. 65 ก่อนตัดสินใจสับเปลี่ยนไปกองทุนอื่น
- ผู้ที่ยังไม่มีการลงทุนหรือต้องการลงทุนเพิ่มในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำรอประเมินสถานการณ์ก่อน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : KAsset
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”