20 ตุลาคม 2564
2 นาที
ลงทุนต่างประเทศ กลุ่มตลาดไหนน่าสนใจ ตอนนี้
“
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะหดตัวอย่างรุนแรง มีการล็อกดาวน์เพื่อคุมการระบาด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงด้วย ซึ่งสินทรัพย์หลักที่ได้รับผลกระทบทางตรง นั่นคือ หุ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หุ้นก็จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาได้ โดยการเร่งปรับตัวขึ้นจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เห็นได้จากข้อมูลต่างๆ เช่น
“
• IMF การประมาณการ GDP ปี 2021 (ข้อมูล ณ ก.ค. 64) ของโลกอยู่ที่ 6% ในขณะที่ประมาณการ GDP รายประเทศ ที่มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ย (6%) มีทั้งหมด 6 ประเทศ เรียงจากมากไปน้อย คือ อินเดีย (9.5%), จีน (8.1%), สหรัฐฯ (7%), อังกฤษ (7%), เม็กซิโก (6.3%), แคนาดา (6.3%) และ สเปน (6.2%) Source: IMF, World Economic Outlook, July 2021 Update
• จีน : จีนส่งสัญญาณฟื้นตัวเร็วสุด ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 โดย GDP Q2/2564 เพิ่มขึ้น 7.9% ทำสถิติขยายตัว 5 ไตรมาสติดต่อกัน มาจากภาคการผลิตและส่งออกแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังมียอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในครึ่งปีแรกของจีนสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี
ถึงแม้รัฐบาลจีนออกกฎระเบียบควบคุมบริษัทกลุ่มติวเตอร์ หรือบริษัทกลุ่มโรงเรียนกวดวิชารวมถึงมาตรการควบคุมตลาดอสังหาฯ ครั้งใหม่ เพื่อส่งเสริมนโยบายการเติบโตอย่างยั่งยืน (Common Prosperity) ส่อชะลอตัวลงเล็กน้อย หลายสำนัก ยังมองว่าเป็นผลกระทบระยะสั้น
• สหรัฐฯ : ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. พุ่งแรงสูงสุดระดับ 63.4 สูงสุดในรอบ 14 ปี มีแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ล่าสุดเดือน ส.ค. ปรับตัวลดลงระดับ 61.1
ยอดผู้ขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ล่าสุดเดือน ส.ค. ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 235,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าคาด
FED ส่งสัญญาณว่ามีแนวโน้มเริ่มปรับลดวงเงิน QE ภายในปีนี้ แต่ยังไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย แม้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมาย
• การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย ในการบริหารประเทศ คือ
1.เม็ดเงินที่อัดฉีดของภาครัฐ ผ่านนโยบายทางการเงิน เช่น ลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้ เป็นต้น หรือผ่านนโยบายการคลัง เช่น เงินเยียวยาเมื่อล็อกดาวน์ เป็นต้น
2. โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประเทศพึ่งพารายได้จากต่างชาติมากหรือน้อย
3.มาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งควบคู่กับข้อ 4 เช่น การล็อกดาวน์ ที่จะกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
4.มาตรการฉีดวัคซีน มีความครอบคลุมได้เร็วหรือช้า
• จากข้อมูลต่างๆ จะพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ประเทศที่มีการฟื้นตัวได้เร็วกว่า คือ พึ่งพารายได้จากต่างชาติน้อย และมีมาตรการควบคุมการระบาด รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนทำได้เร็ว นั่นคือ ประเทศที่เป็นผู้ผลิตวัคซีนได้ ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย สหรัฐฯ อังกฤษ จะเห็นว่า หุ้นต่างประเทศยังมีความน่าสนใจ ส่วนราคาหุ้นยังคงเป็นฝั่งเอเชีย หรือ จีนมากกว่า เนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดกับภาคธุรกิจของจีน ทำให้ตลาดมีความกังวลในระยะสั้น แต่ในระยะยาว จีนยังคงดำเนินนโยบายการเติบโตอย่างยั่งยืน (Common Prosperity) ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ ผลประกอบการไตรมาส 2 ในหุ้นส่วนใหญ่ ออกมาเติบโตสูงกว่าคาด ทำให้ราคาตลาดปรับตัวขึ้นรับข่าวดีไปมากแล้ว หากรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ไม่ควรลงทุนในหุ้นต่างประเทศ เกิน 30% ของสัดส่วนเงินลงทุนทั้งหมดด้วย
• ถ้าคุณจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศโดยให้ผู้จัดการกองทุน (มืออาชีพ) ช่วยเลือกการลงทุนแบบเหมาตามดัชนี เพื่อเน้นผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนี (ไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนชนะตลาด) ทำให้ผู้ลงทุนติดตามง่าย และมีการกระจายความเสี่ยง พร้อมทั้งได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมถูกกว่าการลงทุนหุ้นเป็นตัวๆ คุณเหมาะกับการลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้นแล้ว ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์ จะมี 2 กลยุทธ์ที่เลือกลงทุนได้เองด้วยกองทุนดัชนีหุ้น ดังนี้
• กลยุทธ์ลงทุนด้วยกองทุนดัชนีหุ้น “บางตลาด” หรือเน้น “บางประเทศ” ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ขอแนะนำ K-CHX ลงทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่ที่สุด 50 ตัว ในตลาด A-Shares ตามดัชนี FTSE China A50 เชื่อมั่นในเศรษฐกิจจีนยุคใหม่ที่มั่นคงและเติบโตสูง, K-USXNDQ ลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ 100 ตัวแรก ตามดัชนี Nasdaq 100 เน้นหุ้นเทคระดับท็อป และกองทุนน้องใหม่ล่าสุดอย่าง K-US500X ลงทุนหุ้นใหญ่ในสหรัฐฯ 500 ตัว ตามดัชนี S&P 500 กระจายหลายกลุ่ม เช่น เทคโนโลยี และสุขภาพ
• กลยุทธ์ลงทุนด้วยกองทุนดัชนีหุ้น “กวาดทั่วทวีป/โลก” เน้นลงทุนในแถบประเทศ/ภูมิภาคต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ขอแนะนำ K-WORLDX ลงทุนหุ้นบริษัทดังทั่วโลกกว่า 2,000 ตัว ตามดัชนี MSCI All Country World Index กระจายลงทุนในหลายกลุ่ม เช่น เทคโนโลยี การเงิน และการบริโภค ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด และกองทุนน้องใหม่ล่าสุดอย่าง K-ASIAX ลงทุนหุ้นเอเชีย ตามดัชนี MSCI All Country Asia ex Japan ภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก
Disclaimer : “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก IMF, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย
เรียบเรียงโดย K-Wealth Guru
บทความโดย K WEALTH GURU สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®