/th/promotion/pages/finaids_vulnerable.aspx
มาตรการช่วยเหลือ ค่าครองชีพ ลูกค้าบุคคล ลูกค้าธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการปรับตัว ค่าครองชีพสูง ลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

แนะนำผลิตภัณฑ์

มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวของลูกค้าธุรกิจ

icon  

ลูกค้าปัจจุบันหรือลูกค้าใหม่กู้ได้
สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท

icon  

อัตราดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปีแรก
โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี
ไม่เกิน 5% ต่อปี

icon  

ฟรีดอกเบี้ย 6 เดือนแรก*


วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ
เพื่อการปรับตัว

iconเพื่อการลงทุนในดิจิทัลเทคโนโลยี Digital Technology

  • ปรับใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การติดตั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูลและปฏิบัติการที่ชาญฉลาด, ติดตั้งระบบซื้อขายผ่าน Online Marketing, การติดตั้งระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement)
  • ลงทุนระบบการทำงานอัตโนมัติ หรือ หุ่นยนต์มาใช้ในการปรับกระบวนการผลิตและการบริการ เช่น ติดตั้งระบบการเตรียมวัตถุดิบอัตโนมัติ, ติดตั้งระบบขนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าอัตโนมัติ, ใช้หุ่นยนต์ในการเสิร์ฟอาหาร, พัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากรให้สอดรับกับการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจ

iconเพื่อการลงทุนในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green)

  • ลงทุนระบบประหยัดพลังงาน หรือ ปรับใช้พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียน เช่น ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์, ติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน
  • ลงทุนพัฒนาออกแบบสินค้าและบริการ ตลอดจนอุปกรณ์หรือระบบ เพื่อการผลิตการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือรูปแบบ Zero Waste เช่น ติดตั้งระบบการจัดการน้ำหรือระบบหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้, ติดตั้งระบบดักจับคาร์บอน
  • ลงทุนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เพื่อรองรับการขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้า หรือยานยนต์พลังงานสะอาด เช่น ลงทุน Charging Station, ปรับปรุงศูนย์บำรุงเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า

iconเพื่อการลงทุนในนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation)

  • ลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เสริมความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงของธุรกิจ เช่น ทำ Smart Farming, เลี้ยงสัตว์ระบบปิดเพื่อ Food Security
  • ลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตสมัยใหม่ เช่น ผลิตอาหารจากพืชหรือเนื้อสัตว์สังเคราะห์, ผลิตอาหารทางการแพทย์
  • ลงทุนอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยและปลอดภัย เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจสู่ High-Value Service เช่น ปรับสถานที่ธุรกิจรองรับการทำงานในยุคสมัยใหม่, ติดตั้งระบบฟอกอากาศหรือระบบฆ่าเชื้อ

คุณสมบัติของลูกค้าที่จะขอกู้

  • บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • เป็นลูกค้าธุรกิจของธนาคาร ที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 (ไม่รวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค)
  • ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
  • ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  • ไม่มีสถานะเป็นหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

รายละเอียดมาตรการ

  • วงเงิน

    ลูกค้าปัจจุบัน : ลูกค้าธุรกิจของธนาคาร ที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้

    • วงเงินกู้ไม่เกิน 150 ล้านบาท โดยเมื่อนับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับตัว สินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) ทั้งหมดที่มีอยู่กับธนาคารแล้ว ต้องมีจำนวนสินเชื่อรวมกันไม่เกิน 150 ล้านบาท

    ลูกค้าใหม่ : ลูกค้าที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564

    • วงเงินกู้ไม่เกิน 150 ล้านบาท โดยเมื่อนับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับตัว สินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) ทั้งหมดที่มีกับสถาบันการเงินทุกแห่งแล้ว ต้องมีจำนวนสินเชื่อรวมกันไม่เกิน 150 ล้านบาท
  • ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี โดยไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
  • อัตราดอกเบี้ย
    • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก โดยไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
    • โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี
    • ปีที่ 6 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
  • interest-rate  
    Zoom

    กดที่รูปเพื่อขยายตาราง

    interest-rate
  • *ฟรี ค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทุกประเภท (ยกเว้นค่าอากรแสตมป์)
  • กรณีค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) มีค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1.75% ต่อปี
    **สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Micro และ SME ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1.25% ต่อปี**
  • การอนุมัติสินเชื่อและเบิกวงเงินกู้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด


ช่องทางการติดต่อ

  • ลูกค้าธุรกิจที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center Icon Tel02-888-8822
คำถามที่พบบ่อย
คุณสมบัติของลูกค้าที่จะสมัครผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัว มีอะไรบ้าง
  1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น
  2. เป็นลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจ*กับธนาคารกสิกรไทยไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวงเงินตามภาระผูกพัน (เช่น หนังสือค้ำประกัน, เลตเตอร์ออฟเครดิต) และวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้แก่ วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล (Xpress Cash), วงเงินสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan), วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต
  3. ต้องไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  4. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
  5. ไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

*วงเงินสินเชื่อธุรกิจนับรวม Loan, OD, PN, Trade, Factoring วงเงินสินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan-Long term loan) วงเงินเพื่อธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกัน, วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (ให้นับวงเงินกู้เดี่ยว รวมกับ วงเงินกู้ร่วมตามสัดส่วนความรับผิดในหนี้)

วัตถุประสงค์สำหรับการขอผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัว

เพื่อการลงทุน หรือการปรับปรุง หรือการพัฒนา ในเรื่อง ของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นการเสริมศักยภาพธุรกิจให้ สามารถ แข่งขันและดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยสอดรับกับบริบทโลกใหม่ (new normal) ทั้งจากกระแสดิจิทัล เทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต

ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอกู้สินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้ในวงเงินเท่าใด

ลูกค้าปัจจุบัน : ไม่เกิน 150 ลบ. นับรวมเฉพาะวงเงินของธนาคาร (หักด้วย วงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019, สินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ที่เคยได้รับอนุมัติ บวก วงเงินสินเชื่อดังกล่าวที่ลูกค้าเคยได้รับอนุมัติแต่ไม่ประสงค์ใช้และธนาคารได้คืนเงินแก่ ธปท.แล้ว)

ลูกค้าใหม่ : ไม่เกิน 150 ลบ. นับรวมวงเงินทุกสถาบันการเงิน (หักด้วย วงเงินสินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ที่เคยได้รับอนุมัติ บวก วงเงินสินเชื่อดังกล่าวที่ลูกค้าเคยได้รับอนุมัติแต่ไม่ประสงค์ใช้และธนาคารได้คืนเงินแก่ ธปท.แล้ว)

ประเภทของวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับตัวที่อนุมัติให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ครอบคลุมวงเงินประเภทใดบ้าง

วงเงินกู้ (Loan) ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของสินเชื่อฟื้นฟูภายใต้ พ.ร.ก. มีรายละเอียดอย่างไร
  • อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี 2 ปีแรก โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี <= 5% ต่อปี (ยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) โดยอัตราดอกเบี้ยปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนด
  • ไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้ หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ทุกประเภท (ยกเว้นค่าอากรแสตมป์)
ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อภายใต้สินเชื่อเพื่อการปรับตัว ได้กี่ครั้ง

ขอได้ 6 ครั้ง โดยนับรวมโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019, สินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเพื่อการปรับตัวที่ขอในครั้งนี้

ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือบริษัทที่ถือหุ้นโดยต่างชาติ สามารถเข้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ได้หรือไม่

ได้ เนื่องจากคุณสมบัติของผู้ที่ขอกู้ได้ คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น

ประเภทหลักประกันที่ต้องนำเสนอภายใต้สินเชื่อเพื่อการปรับตัว

นำเสนอได้ 2 กรณี ตามเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเพื่อการปรับตัวของธนาคาร ดังนี้

  1. ค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) โดยมีค่าธรรมเนียม ดังนี้
    • สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Corporate : ค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 1.75% ต่อปี
    • สำหรับลูกค้าที่ ธปท.จัดให้อยู่ในกลุ่ม Micro และ SME ค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 1.25% ต่อปี
  2. จดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ หรือ จดจำนองหลักประกัน
กรณีลูกค้าเคยได้รับเงินกู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และสินเชื่อฟื้นฟู ไปแล้ว สามารถขอกู้สินเชื่อเพื่อการปรับตัวเพิ่มได้อีกหรือไม่

สามารถขอกู้ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ทั้งนี้ เมื่อนับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ BOT Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ขอทั้งหมด จะต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท และขอกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 6 ครั้ง

กรณีลูกค้าเข้ามาตรการช่วยเหลือของธนาคาร สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้หรือไม่

สามารถขอได้ ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อตามหลักเกณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวของธนาคาร

กรณีลูกค้าไม่มีสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้หรือไม่

กรณีไม่มีสินเชื่อธุรกิจกับทุกสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวกับธนาคารกสิกรไทยได้ เว้นแต่ ลูกค้าไม่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารกสิกรไทยแต่มีสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารอื่น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวกับธนาคารกสิกรไทยได้

กรณี ลูกค้าลงทุนในธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสินเชื่อเพื่อการปรับตัว มูลค่าลงทุนทั้งหมด 10 ล้านบาท ลงทุนไปแล้ว 4 ล้านบาท คงเหลืออีก 6 ล้านบาท ยังไม่แล้วเสร็จ สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้หรือไม่

ได้ โดยสามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ในส่วนที่ยังไม่ได้ลงทุนไปจำนวน 6 ล้านบาท ทั้งนี้หลักเกณฑ์อื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ

ลูกค้ามีความประสงค์กู้เพื่อลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการ โดยขอวงเงินครอบคลุมถึงสิ่งปลูกสร้างและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวทั้งโครงการได้หรือไม่ เช่น ลงทุนกิจการสถานีชาร์ทรถยนต์ไฟฟ้า EV แบ่งเป็น กู้เพื่อก่อสร้าง 70% และกู้เพื่อซื้อแท่นชาร์ท EV 30% สามารถขอสินเชื่อได้ 100% เลยหรือไม่

วงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับตัวครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อการปรับตัวของธุรกิจ เช่น การปรับปรุงอาคาร หรือหลังคาเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ / การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการติดตั้งสถานี EV Charger เป็นต้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวของธนาคาร

กรณีลูกค้าเป็นผู้ประกอบการที่ผลิต / ขายสินค้าเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน หรือ สินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้หรือไม่

หากเป็นสินเชื่อเพื่อให้ผู้ประกอบการลงทุนประกอบธุรกิจเดิมจะไม่เข้าข่ายสินเชื่อเพื่อการปรับตัว เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสินเชื่อเพื่อการปรับตัว คือ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อใช้ในการลงทุน ปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจ ให้สามารถแข่งขันรองรับบริบทโลกใหม่ อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบธุรกิจเดิมต้องการเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องสามารถยื่นขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่ไม่ใช่สินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้


สินเชื่อ