Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​

ภาษีกองทุนตราสารหนี้...ควรวางแผนตั้งรับแต่เนิ่น ๆ

รู้หรือไม่ ณ สิ้นปี 2017 อุตสาหกรรมกองทุนรวมของประเทศไทยมีขนาดกว่า 5 ล้านล้านบาท  โดยสัดส่วนเกินครึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ซึ่งมีขนาด 2.7 ล้านล้านบาท หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง คือ การสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การไม่เก็บภาษีจากกำไรส่วนต่างราคาของกองทุนรวม 
แต่ล่าสุดมีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ ถึงประเด็นที่ว่าจะมีการพิจารณากฎหมายการจัดเก็บภาษีผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ของกองทุนรวม ซึ่งมีสาระสำคัญของกฎหมายมีอยู่ว่า  เนื่องจากการลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากดอกเบี้ย 15% เหมือนกับการลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้โดยตรง ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในระบบภาษี ซึ่งปัจจุบันบุคคลธรรมดาลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้ และได้ดอกเบี้ย กฎหมายกำหนดให้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% หรือนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ดี โดยหลักความเท่าเทียมแล้ว ผู้ลงทุนตราสารหนี้ไม่ว่าจะลงทุนเองโดยตรงหรือลงทุนผ่านกองทุนรวมก็ควรเสียภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกัน

ใครเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบบ้าง?….หากกฎหมายการจัดเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้เริ่มมีผลบังคับใช้จริง 

แน่นอนว่าผู้ที่ลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมย่อมมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น และ มีผลตอบแทนที่ลดลง ในทางตรงกันข้าม กรมสรรพากรจะมีรายได้ภาษีมากขึ้น โดยคาดว่าจะเก็บภาษีได้เพิ่มปีละ 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้มีมุมมองที่น่าสนใจจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดย ก.ล.ต. เห็นว่าการจัดเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้จะทำให้เกิดความเป็นธรรม และ สนับสนุนให้ธุรกิจกองทุนรวมเติบโตในระยะยาว ส่วนทางฝั่ง บลจ. เสนอว่า ถ้าเก็บจริงควรจะทำในลักษณะที่เก็บเป็นเฟส แต่ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ ให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ก็มีตัวอย่างประเทศรอบบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฮ่องกง มีการเก็บภาษี ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จการขยายตลาดตราสารหนี้ 
ควรวางแผนตั้งรับแต่เนิ่น ๆ ...เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สำหรับนักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ย่อมได้ผลตอบแทนที่ลดลง ดังนั้น นักลงทุนที่มีเงินส่วนใหญ่อยู่ในกองทุนตราสารหนี้ ควรต้องทำการบ้านเพิ่มเติมเพื่อให้ผลตอบแทนดีขึ้นหรืออย่างน้อยชนะเงินเฟ้อ โดยมีคำแนะนำสำหรับการวางแผนเพื่อลดผลกระทบจากภาษีกองทุนตราสารหนี้ 3 ข้อง่าย ๆ ดังนี้

1) ศึกษาข้อมูลการลงทุนในกองทุนรวมในมิติที่หลากหลายมากขึ้น เพราะ กองทุนรวมในประเทศไทยมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย เช่น กองทุนทุนรวมผสม (Mixed Fund) ที่สามารถเพิ่มผลตอบแทนได้แต่ก็มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ทางเลือกอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการลงทุนกองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือ แม้กระทั่งการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น โดยแนะนำว่าหากท่านไม่เคยลงทุนในกองทุนอื่นเลยนอกจากกองทุนตราสารหนี้ ควรเริ่มจากกองทุนรวมผสมที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30% เพื่อสร้างความคุ้นเคยต่อกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น หลังจากที่เริ่มมีประสบการณ์ และ ความรู้ด้านการลงทุนที่มากขึ้นจึงค่อยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

2) วางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ควรแยกเลือกรูปแบบการลงทุนตามแต่ละเป้าหมาย เพราะมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ตามลำดับ ความสำคัญและระยะเวลาที่ต้องบรรลุเป้าหมาย ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกประเภทกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง และ ผลตอบแทนที่คาดหวัง เช่น เป้าหมายระยะยาว คือ เก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณในอีก 30 ปี เป็นเป้าหมายที่สำคัญ แต่มีระยะเวลาในการลงทุนนาน ดังนั้นก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุน ที่มีความเสี่ยงสูงได้ เพราะหากพิจารณาผลตอบแทนย้อนหลังจะพบว่าระยะเวลาจะช่วยถัวเฉลี่ยความเสี่ยง และมีโอกาส ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า

3) เริ่มทำทันที เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากฎหมายเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้ จะมีผลบังคับใช้เมื่อไร ดังนั้นนาทีต้องบอกว่า อยู่เฉยไม่ได้แล้วนะครับ ใครเริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ
เพียง 3 ข้อง่าย ๆ นี้ เชื่อว่าจะช่วยให้เงินของท่านทำงานหนักขึ้น และ สร้างผลตอบแทนที่อย่างน้อยสามารถชะเงินเฟ้อได้ในระยะยาว และ แน่นอนว่าจะช่วยให้ลดผลกระทบจากภาษีกองทุนตราสารหนี้ที่อาจมาถึงในอนาคตได้ไม่มากก็น้อยครับ

กองทุนเปิด เค แพลน 3 “พุ่งทะยาน ถึงจุดหมาย (การลงทุน) แบบติดสปีด“ 
             
ความน่าสนใจ
เป็นกองทุนผสม มีนโยบายลงทุนทั้งในหุ้น ตราสารหนี้ภาครัฐ และ ภาคเอกชน โดยกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกินร้อยละ 55 ของ NAV
เน้นลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งสำหรับตราสารทุน เช่น PTT, AOT, IVL ทั้งยังมีการกระจายการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลายหลาย (พลังงาน, ธนาคาร, พาณิชย์ ฯลฯ) ขณะที่การลงทุนในส่วนตราสารหนี้ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ฯ ที่มีความผันผวนต่ำ
เหมาะกับนักลงทุนที่อยากสร้างผลตอบแทนที่สูงในระยะยาวและรับความเสี่ยงได้ปานกลาง 
ผลการดำเนินงานโดดเด่น, มีความสม่ำเสมอ และ ​ถูกจัดเป็นกองทุนระดับ 5 ดาว จาก Morningstar
นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 8.68% (ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561)


กลับ