Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​​         ครึ่งปีที่ผ่านมาบรรดานักลงทุนทั่วโลกได้เผชิญหน้ากับความผันผวนของตลาดการลงทุน โดยประเด็นหนึ่งที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อ ที่กลับมาขยายตัวในหลาย ๆ ภูมิภาคทั่วโลก แม้ว่าเงินเฟ้ออ่อน ๆ จะเป็นสิ่งดีต่อเศรษฐกิจ แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดคำถามว่าถ้าหากการขยายตัวนั้นยังคงต่อเนื่อง ปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่างไร เพราะเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้นก็จะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และ ทำให้มูลค่าเงินที่ลงทุนลดลงตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจใน “เงินเฟ้อ” ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นเพียงการขยายตัวชั่วคราวหรือมีสาเหตุเกิดจากอะไร


2 ปัจจัยผลักดันให้ตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งแรง
         "อย่างแรก” นั้นก็คือ มาตรการการกระตุ้นอัดฉีด ที่เกิดจากภาครัฐในประเทศต่าง ๆ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ประกอบการและครัวเรือน เป็นหลัก รวมไปถึงการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ภาคธุรกิจที่เดือดร้อน จนส่งผลบวกก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่พอมากขึ้นเข้าก็เริ่มมีเป็นไปทิศทางที่ดี 
        “อย่างที่สอง” มาจาก ราคาพลังงาน ที่อยู่ในระดับสูงในปีนี้ ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าดูแพงขึ้น ประกอบกับการที่ฐานราคาพลังงานที่ต่ำมากในปีก่อน จึงทำให้เมื่อคำนวณเปรียบเทียบกับปีนี้แล้วตัวเลขต้นทุนสินค้าที่ออกมาจึงดูเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก 

 คำถามที่ตามมาคือ สถานการณ์เงินเฟ้อในครั้งนี้จะอยู่ไปอีกนานไหม ซึ่งจากมุมมองของนักวิเคราะห์แล้วมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงนี้อาจอยู่เพียง “ชั่วคราว” เท่านั้น โอกาสที่จะปรับเข้าสู่ค่าปกติมีมากขึ้น การอัดฉีดเม็ดเงินโดยภาครัฐมีโอกาสชะลอตัวลงเมื่อภาคเอกชนเริ่มกลับมาฟื้นตัว ซึ่งรวมไปถึงแนวโน้มราคาพลังงานที่คาดว่ามีโอกาสต่ำลงในครึ่งปีหลัง จึงทำให้ความผันผวนที่เกิดขึ้นอาจเป็นจังหวะในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี


หุ้นเอเชียเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แม้เงินเฟ้อกดดันต​ลาดทุน
 เมื่อพูดถึงสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดี คงหนีไม่พ้นการลงทุนในภูมิภาคฝั่งเอเชียเพราะมีโอกาสในการเติบโตสูง เห็นได้จากการฟื้นตัวเร็วของเศรษฐกิจหลังจากการรับมือของสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การบริโภคเพิ่มมากขึ้นจากกำลังซื้อผ่านการขยายตัวของชนชั้นกลาง นอกจากนี้ธนาคารโลกยังคงคาดว่าเอเชียจะเติบโตได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งการเติบโตนี้จะอยู่ที่ 7.7% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกที่โตเพียง 5.6% 

        เมื่อมองลงไปกลุ่มหุ้นชั้นนำที่เติบโตในกลุ่มภูมิภาคนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้นกลุ่ม ธุรกิจเทคโนโลยีแน่นอน ที่ทำให้ระยะยาวแล้ว มีโอกาสรับผลตอบแทนตามทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิเช่น ธุรกิจในกลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชั้นนำ เช่น TSMC (บริษัทไต้หวัน) และ Samsung (บริษัทเกาหลีใต้) หรือแม้กระทั่ง กลุ่ม  E-commerce  ชั้นนำ อย่างเช่น Alibaba Group เป็นต้น   ดังนั้นด้วยการกระจายการลงทุนในภูมิภาคดังกล่าว ก็ย่อมที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

K-Expert ทัตเทพ วีระทัต AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย


กองทุนเปิด เค เอเชีย เทคโนโลยี หุ้นทุน
เน้นลงทุนในตราสารภูมิภาคเอเซีย ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงในระยะยาว โดยใช้กลยุทธ์บริหารกองทุนเชิงรุก ในการปรับสัดส่วนการลงทุนตามสภาวะของตลาด  ผ่าน กองทุนระดับโลก ของ Morgan Stanley Investment Funds Asia Opportunity Fund - Z Shares และ Lombard Odier Funds – Asia High Conviction, (USD), N Class A. อีกทั้งยังใช้โมเดลในการควบคุมความผันผวน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการลงทุน

​อ่านรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติม​
​ซื้อง่าย ๆ บนมือถือคุณ ผ่าน KPLUS
K-ASIACV​​





ทำไมต้อง เค เอเชีย เทคโนโลยี หุ้นทุน
    • ประเทศในเอเชียที่สามารถรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ดีกว่าภูมิภาคตะวันตก ทำให้มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วและมั่นคง
    • ตลาดหุ้นเอเชียได้รับปัจจัยหนุนจากการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องและการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก
    • เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่ม New Economy ที่มีอัตราการเติบโตสูง 

เหมาะสำหรับใคร
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาตราสารในภูมิภาคเอเชียที่กองทุนต่างประเทศไปลงทุน ซึ่งอาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนและทำให้ขาดทุนได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป


​​​​

​​
กลับ