Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​จิรดา ภักดิ์วิไลเกียรติ (นักวิจัย)
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

หลังจากมีการฉีดวัคซีนในหลาย ๆ ประเทศทำให้สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศนั้น ๆ เริ่มมีแนวแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงส่งผลให้เกิดแนวคิด “วัคซีนพาสปอร์ต” หรือการที่กลับมาเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน แต่โดยปัจจุบันรูปแบบการจัดทำยังมีแนวโน้มแตกต่างกัน เช่น Green Passport ในอิสราเอล กรีซ และ ไซปรัส เพื่อเปิดการท่องเที่ยวระหว่างกัน จีนใช้ Health Passport ในรูปแบบ Application มัลดีฟส์ออกมาตรการการจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาโดยระบุว่าจะมีการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยว (หลังมีการฉีดในประเทศครบแล้ว) ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีหน่วยงานใดที่ออกมากำหนดรูปแบบของวัคซีนพาสปอร์ตให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวในระยะนี้จึงยังมีแนวโน้มอยู่ในกลุ่มที่จำกัด ด้านแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของประเทศไทยเองเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเช่นกัน


แผน 4 ระยะ เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
        แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยจะเริ่มจากปรับลดจำนวนวันกักตัว รวมถึงมีภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องกักตัวในเงื่อนไขที่ว่าต้องมีการฉีดวัคซีนแล้ว และ จะขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ จนครอบคลุมทั่วประเทศในช่วงต้นปี 2565 โดยทั้งหมดยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขในเรื่องของสถานการณ์ COVID-19 และ ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน 
อย่างไรก็ตามจากการกลับมาระบาดอีกครั้งของ COVID-19 ละรอกที่ 3 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวไทยในปีนี้ประมาณ 2 ล้านคน ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม ณ เดือน ธ.ค. 63 ที่ 4.5 ล้านคน  ปัจจัยดังกล่าซึ่งวอาจส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาตามแผนการเปิดประเทศมีแนวโน้มต่ำกว่าคาด ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนของไทย (ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส) อยู่ที่ 0.8% ของประชากร (ณ วันที่ 17 เม.ย. 64) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และ ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่มีเป้าหมายฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) 


ผลกระทบต่อตลาดไทยเที่ยไทย และ มุมมองต่อมาตรการของภาครัฐจากศูนย์วิจัยฯ
        ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ยังส่งผลต่อตลาดไทยเที่ยวไทย ดังเช่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มียอดยกเลิกการจองโรงแรมและที่พักจำนวนมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยในครึ่งแรกของปีมีแนวโน้มลดลงกว่าครึ่ง จากที่คาดการณ์ไว้ว่า 50 ล้านคนต่อครั้งเมื่อ ม.ค. 64 เหลือเพียง 26 ล้านคนต่อครั้ง ทำให้รายได้จากท่องเที่ยวมีแนวโน้มหายไปเป็นมูลค่ากว่า 1.3 แสนล้านบาท 
นอกจากนี้ยังกระทบต่อรายได้ของธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวที่มีการจ้างงานในระดับสูงประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 แม้ว่ามาตรการควบคุมการระบาดในรอบนี้ไม่ได้มีการล็อคดาวน์ เป็นเพียงการจัดเป็นโซนพื้นที่เสี่ยง เช่น มีจำกัดเวลาการเปิด-ปิดสถานประกอบการ อาจทำให้แรงงานบางส่วนมีรายได้ที่ลดลงจากการจ้างงาน และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน 

        ดังนั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า ภาครัฐควรเร่งออกมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคครัวเรือน และ ภาคธุรกิจ ทั้งในเรื่องของมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาด การเร่งดำเนินการในเรื่องของการจัดหารวมถึงการกระจายของวัคซีน เนื่องจากหากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มยืดยาวอาจทำให้ผลกระทบไม่เกิดแก่เพียงกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะต่อเนื่องไปถึงการฟื้นตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อันเนื่องมาจากแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทยที่ล่าช้ากว่าเดิม และจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มต่ำกว่าระดับ 2.6% ซึ่งเป็นระดับที่ได้ประเมินไว้ก่อนหน้า


SET Index ปรับขึ้น โตสวนทาง​เศรษฐกิจ
แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการระบาดในระลอกที่ 3 แต่เมื่อพิจารณาถึงตลาดทุน ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) กลับไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน นักลงทุนจึงได้ให้น้ำหนักกับการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1/2564 ที่จะเริ่มจากหุ้นในกลุ่มธนาคาร โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่ากำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบ ธ.พ. ไทย) มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการตั้งสำรองที่ลดลง 
        ขณะเดียวกันค่าเงินบาทมีทิศทางที่อ่อนค่าลง โดยระดับปัจจุบัน ณ 16 เม.ย. 64 อยู่ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมาจากปัจจัยกดดันของสถานการณ์ COVID-19 และ การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกสิกรไทยยังมองโอกาสที่ค่าเงินบาทของไทยจะกลับมาแข็งค่าที่ 29.75 ในช่วงสิ้นปี 2564 


กลับ