สหรัฐฯ เพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย แก้เงินเฟ้อ
การระบาดของ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย ภาครัฐจึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเสริมสภาพคล่อง อัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และ กระตุ้นให้เกิดการลงทุน การบริโภค และ การจ้างงาน รวมถึงเพื่อให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ จากนโยบายดังกล่าวแม้จะทำให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ การเกิดเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี (ธันวาคม 2021)
โดยผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) วันที่ 25 - 26 มกราคมในปีนี้ ได้ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม และ มากกว่านั้นมีการกล่าวถึงแผนการดึงเงินออกจากระบบลดขนาดงบดุล เพื่อควบคุมปริมาณเงินให้สมดุลกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยสถานการณ์ปัจจุบันกล่าวได้ว่า สหรัฐฯได้เริ่มเปลี่ยนทิศทางการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเข้าสู่ช่วงต้นของการเข้มงวดทางการเงิน เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานั้น
ธนาคารกสิกรไทยคาดการณ์และแนะนำว่า
- สหรัฐฯ จะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง โดยจะขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคมนี้
- ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลต่อการลงทุนในหุ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเติบโตสูง เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และ หุ้นกลุ่มสื่อสาร ที่มักจะมีโอกาสปรับตัวลงในช่วงที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
- ดังนั้นนักลงทุนควรติดตามผลการเปลี่ยนนี้อย่างใกล้ชิด
จีนสวนทาง ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย
ขณะที่ทางสหรัฐฯ รวมถึงประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้มีการประกาศการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น แต่ทางประเทศจีนนั้นกลับมีนโยบายที่สวนทางกัน โดยหันมาลดดอกเบี้ยนโยบายเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากมาตรการเข้มงวดต่อการจัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 มาตรการที่ควบคุมหนี้สินภาคอสังหาริมทรัพย์ และ มาตรการควบคุมบริษัทเทคโนโลยีในปีที่ผ่านมา
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน
- เกิดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลดีต่อการลงทุน
- ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นจากแรงซื้อของนักลงทุนที่พร้อมจะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น (*)
(*) ดอกเบี้ยที่น้อยลง ทำให้การฝากเงินในธนาคารมีความน่าสนใจน้อยกว่าการเข้าลงทุน
คาดไทยคงอัตราดอกเบี้ยเดิมตลอดปี
สำหรับในประเทศไทยนั้น ยังเน้นการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำที่ 0.5% เพื่อให้เศรษฐกิจมีโอกาสขยายตัว แม้จะเริ่มได้รับแรงกดดันต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์เงินเฟ้อ อีกทั้งยังต้องคุมต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการไว้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปอาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการสะดุดได้ โดยธนาคารกสิกรไทยคาดว่าประเทศไทยนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตลอดทั้งปี
เคล็ดลับการลงทุน รับมือความท้าทาย
จากการใช้นโยบายที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และ การเคลื่อนย้ายของเงินลงทุนอย่างมากในปีนี้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น COVID-19 ที่ยังไม่จบ หรือ ปัญหากิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การส่งสินค้า การขาดแคลนวัตถุดิบ หรือ ราคาพลังงานเพิ่มสูง เป็นต้น
ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ นักลงทุนจึงควรเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดได้ดี เช่น
- หุ้นกลุ่มธนาคาร
- อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
- การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
นอกจากนี้ควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ และ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถปรับสัดส่วนได้อย่างเหมาะสม
K-Expert กฤษณ์ ประพฤทธิ์วงศ์ AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
กองทุนแนะนำ
กองทุนเปิดเค โกลบอล อินคัม
K-GINCOME-A(A)
กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 2,500 ตัว เน้นสินทรัพย์ที่จ่ายผลตอบแทนสูง
ทั้งในรูปของดอกเบี้ยและเงินปันผล เช่น หุ้นกู้ หุ้นปันผล กองอสังหาฯ
อ่านรายละเอียดกองทุน
| ซื้อกองทุนง่าย ๆ ผ่าน KPLUS
|
|
|
ทำไมต้องเค โกลบอล อินคัม
- โอกาสรับผลตอบแทนในรูปแบบรายได้สม่ำเสมอในทุกสภาวะตลาด
- ปรับสัดส่วนการลงทุนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาด
- กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ กว่า 2,500 ตัวทั่วโลก
เหมาะสำหรับใคร?
- ผู้ที่ต้องการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ทั่วโลกเพื่อการเติบโตของเงินทุนในระยะยาว
- ผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุน และ ทำให้ขาดทุนได้
- นักลงทุนมือใหม่ ที่อยากเริ่มลงทุน แต่ยังไม่อยากเสี่ยงสูงมาก และ ไม่รู้จังหวะในการเข้าลงทุน
- นักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนมาแล้ว แต่ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ เพราะเคยลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป ไม่ได้กระจายความเสี่ยง หรือไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง
- แนะนำควรถือครองกองทุนตั้งแต่ 3 - 5 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนตามเป้าหมาย และลดโอกาสขาดทุนในระยะสั้น ๆ
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่เต็มจำนวนของเงินลงทุนในต่างประเทศ