Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

        ​​​​​​​​​ปัญหาโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ และ เป็นโจทย์ท้าทายที่หลาย ๆ ประเทศต้องร่วมมือกันลดความรุนแรง แก้ไขปัญหา เพราะการที่อุณหภูมิสูงขึ้นสร้างความเสียหายรุนแรงไม่ว่าจะเป็น พื้นที่แห้งแล้ง เพาะปลูกได้น้อยลง น้ำทะเลสูงขึ้น และ สัตว์หลาย ๆ สายพันธุ์เผชิญความเสี่ยงสูญพันธุ์ โดยล่าสุดเกาะกรีนแลนด์เกิดฝนตกลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์โดยมาจากการที่อุณหภูมิขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้นนั่นเอง


นานาประเทศออกมาตรการเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาโลกร้อน
ด้วยการที่เป็นปัญหาระดับโลกนี่เอง ทำให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกจึงได้ร่วมลงนามให้สัตยาบันในความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยมีเป้าหมาย คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ ตัวอย่างเช่น
  • สหภาพยุโรป อังกฤษ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ตั้งเป้าภายในปี 2050
  • จีน  อินโดนีเซีย ตั้งเป้าภายในปี 2060
  • ไทย ตั้งเป้าภายในปี 2065 - 2070

สหภาพยุโรป
ได้มีการใช้นโยบาย Green Deal โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็น
  • ลดการใช้วัสดุและทรัพยากรในการผลิต และ มีการออกแบบเพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้
  • ส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า : ด้วยการติดตั้งสถานีจ่ายไฟจำนวน 1 ล้านสถานีทั่วยุโรปภายในปี 2025
  • มุ่งเน้นการใช้พลังงานทางเลือกในอุตสาหกรรมการบิน การเดินเรือ และ การขนส่งโดยยานยนต์ขนาดใหญ่ 


สหรัฐอเมริกา
  • ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมพลังงานสะอาดและรถยนต์ไฟฟ้า
  • ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งการกักเก็บคาร์บอน
  • การทำฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง
  • การพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การปรับนโยบายการค้ากับเป้าหมายด้านการจัดการสภาพภูมิอากาศ และ สิ่งแวดล้อม


ประเทศจีน
  • สนับสนุนการสร้างรถไฟความเร็วสูง
  • การใช้รถพลังงานไฟฟ้า 
  • ลดการใช้ถ่านหิน และ พัฒนาพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม และแสงอาทิตย์


ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านก​ารลงทุน

        จากการที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความใส่ใจแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง กลายเป็นประเด็นสำคัญของการประชุมสุดยอดผู้นำโลก G20 ที่ประเทศสกอตแลนด์ วันที่ 1 - 12 พฤศจิกายน 2021 นี้ ซึ่งการประชุมนี้จะนำมาสู่ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาและตระหนักความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม

        การลงทุนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นโอกาสท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากภาครัฐจะเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการลงทุน โดยงบประมาณจำนวนมากจะเข้าสู่การลงทุนเชิงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น สถานีรถไฟฟ้า พลังงานทางเลือก วัสดุทดแทน การลงทุนเกี่ยวกับ Cloud เพื่อลดการใช้กระดาษ ดังนั้นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์และบริการดังกล่าวมีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ การลงทุนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นทางเลือกที่นักลงทุนอาจพิจารณาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมในการดูแลโลกใบนี้ให้มีความยั่งยืน

K-Expert ณรงศักดิ์ สถิรชอบพุทธ AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า

กองทุนเปิดเค Climate Tran​sition (K-CLIMATE)
เน้นลงทุนหุ้นทั่วโลกที่ธุรกิจมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate Change) มีศักยภาพและมีแนวโน้มเติบโตสูง 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
​​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บนมือถือ
​K-CLIMATE

​​

กองทุนคัดเลือกบริษัทจะลงทุนจาก 2 ส่วน คือ
  • ธุรกิจที่มีส่วนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ได้แก่ กลุ่มพลังงานทางเลือก  และให้บริการจัดการพลังงาน กลุ่มอุตสาหกรรมหนักที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยมลพิษ เช่น ธุรกิจพลังงานทางเลือก ธุรกิจผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
  • ธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ธุรกิจที่มีแผนการพัฒนาฐานข้อมูลหรือมีกลไกในการติดตาม ตรวจสอบและป้องกันมลพิษ เช่น บริษัทที่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในการติดตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์

เหมาะสำหรับใคร
  • ผู้ลงทุนที่ต้องการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อย่างยั่งยืน
  • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้สูง
  • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้​​



กลับ

​​