Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นในหลายประเทศฟื้นตัวสว​นทางคาดการณ์นักวิเคราะห์ 


        ดัชนี S&P 500 และ ดัชนีหุ้นโลก MSCI World มีผลตอบแทนติดลบในปี 2565 โดยผลตอบแทนรวมอยู่ที่ -18.11% และ -17.73% ตามลำดับ นับเป็นปีที่แย่ที่สุดสำหรับทั้งสองดัชนีนับตั้งแต่ปี 2551 แต่! ดัชนีทั้งสองนี้ได้ปรับตัวขึ้นในปี 2566 โดยมีผลตอบแทนรวม 15.91% และ 12.8% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566) 

        สวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ประเมินว่าตลาดหุ้นยังมีความเสี่ยงจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และการขึ้นดอกเบี้ยนี้ส่งผลทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น อาจนำไปสู่การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา



        โดยยังมีเหตุผลหลายประการที่ยังสนับสนุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้น (ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการคาดการณ์ล่วงหน้าของนักลงทุน) ได้แก่  

    • ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 1/2566 ในหลายประเทศโดยรวมออกมาดีกว่าการคาดการณ์ แม้จะถูกกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนถึงความแข็งแกร่งในภาคธุรกิจ​
    • อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง จากการขึ้นอ้ตราดอกเบี้ยและจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลง โดย 1 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลงมาถึง -34.85% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566)
    • การคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเข้าใกล้จุดสิ้นสุด และเมื่อดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ช่วงขาลง สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงินจึงมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น

        อย่างไรก็ตามจากเหตุผลสนับสนุนการฟื้นตัวหรือปัจจัยเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าว  ธนาคารกสิกรไทยยังคงคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เศรษฐกิจทั่วโลกอาจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าที่คาด ทั้งการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคบริการ

 

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ

ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 

 

4 ช่องทางลงทุนอย่างไรให้รอดในครึ่งปีหลัง 2566



1. พันธบัตรและตราสารหนี้
        การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ Bond Yield หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการปันผลของหุ้น หรือ Dividend Yield ที่อาจลดลง จากผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มปรับตัวลง จากต้นทุนทางการเงินของบริษัทที่สูงขึ้น ทำให้สินทรัพย์ประเภทพันธบัตรและตราสารหนี้ อาจมีความคุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยง 

กองทุนตราสารหนี้ และระยะเวลาถือครองที่แนะนำ
กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
    • กองทุน K-CASH แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 - 3 วัน
    • กองทุน K-SF-A แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 - 3 เดือน
กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง
    • กองทุน K-CBOND-A แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 9 - 12 เดือน
    • กองทุน K-PLAN1 แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 9 - 12 เดือน
กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว
    • กองทุน K-FIEXED-A แนะนำถือลงทุนมากกว่า 1 ปี
    • กองทุน K-FIXEDPLUS-A แนะนำถือลงทุนมากกว่า 1 ปี
    • กองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก K-GB-A(D) แนะนำถือลงทุนมากกว่า 1 ปี



2. กองทุนผสม
        จากความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - จีน, จีน - ไต้หวัน หรือ ภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ส่งผลให้ภาพรวมตลาดการลงทุนยังมีความเสี่ยง การจับจังหวะการลงทุนจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นการเลือกลงทุนในกองทุนรวมผสมที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ จึงเป็นอีกทางเลือกในการกระจายความเสี่ยง โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ของกองทุนรวมผสม



1. ทยอยสะสมการลงทุน ในภูมิภาคที่ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่
    • จีน : จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้การที่จีนเป็นตลาดที่มีผู้บริโภคขนาดใหญ่ จึงยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง แม้ในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจจีนจะยังได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวจากทั้งปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศก็ตาม
    • เวียดนาม : เวียดนามเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วโดยมีประชากรอายุน้อยและเป็นประเทศนี้มีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีและเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ

2. กองทุนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ แม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น กองทุนกลุ่มสุขภาพ จากแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั่วโลก นำมาสู่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น 

บทสรุป
        จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จึงแนะนำให้ทยอยขายทำกำไรออกมาบ้าง เช่น กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ยุโรป หรือญี่ปุ่น ที่ราคาปรับตัวขึ้นไปสูง หรือปรับสัดส่วนการลงทุนให้มีสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง เตรียมพร้อมความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง
กองทุนเวียดนาม
อ่านรายละเอียด
 

ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน K PLUS
​K-VIETNAM

​K-VIETNAM-RMF

​K-VIETNAM-SSF


​​
กองทุน K-GHEALTH
อ่านรายละเอียดกองทุน
 

ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน K PLUS
​K-GHEALTH

​KGHRMF


สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง
กองทุนผสม
อ่านรายละเอียดกองทุน

ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน K PLUS 
​K-GINCOME-A(A)

​K-GINCOME-A(R)

​K-PLAN2

​K-PLAN3


สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อย
กองทุนตราสารหนี้
อ่านรายละเอียดกองทุน
 
ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน K PLUS
​K-SFPLUS

​K-FIXEDPLUS-A

​K-PLAN1

​K-GB-A(D)


วรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®
Integrated Investment Advisory Chapter Pool

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


กลับ