Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​        การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ล่าสุดเดือน มิ.ย. มีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00 - 5.25% ตามคาด โดย Fed มีท่าทีใช้นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวด (Hawkish) เพิ่มขึ้น สะท้อนผ่าน Dot plot (ค่าประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต) ที่ประเมินดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 5.6% ในช่วงสิ้นปี 2023 (เดิมคาดการณ์ที่ 5.1%) และ 4.6% ในช่วงสิ้นปี 2024 (เดิมคาดการณ์ที่ 4.3%) โดยน่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง หลังการประชุมในครั้งนี้ ซึ่ง Fed คงให้ความสำคัญกับสถานการณ์เงินเฟ้อ ที่เชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกนานกว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% 

        มุมมองตลาดหุ้นโลกอาจต้องเผชิญกับความผันผวนจากท่าทีของ Fed ที่ Hawkish เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอนาคต ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สะท้อนได้จากดัชนีผู้จัดซื้อภาคการผลิตโลก (PMI) ในเดือน พ.ค. ยังอยู่ในภาวะหดตัว อีกทั้งแนวโน้มการประชุมที่เหลือของปี Fed อาจจะกลับมาขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ขณะที่มุมมองกสิกรประเมินว่า Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้ง ซึ่งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดอาจผันผวนต่อเนื่อง



การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อถึ​งระดับสูงสุด มักเกิดเศรษฐกิจถดถอยหรือวิกฤตตามมา

        ในปี 1980 - 2019 ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นสู่ระดับสูงสุด ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนที่สูง Fed ใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต้องการที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจเหมือนเช่นเหตุการณ์ปัจจุบัน แต่ก็ยังมุ่งหวังให้เกิดความสมดุลด้วย ซึ่งจะทำได้นั้นค่อนข้างยาก การที่จะทำให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจชะลอตัวลงนั้นอาจต้องยอมให้เศรษฐกิจพังไปก่อนหรือเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แล้วจึงกลับมาใช้นโยบายผ่อนคลายที่ลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นมักปรับตัวลงทำจุดต่ำสุดและหลังจากนั้นต้องกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนต่อไป 

ดัชนี S&P500 และ อัตราดอกเบี้ยนโยบายธนาคารกลางสหรัฐฯ

ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023 

ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 2 ปี ติดลบ (Inverted Yield Curve) มักเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา

ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2023 

    • ในอดีตนับตั้งแต่ปี 1980 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังเกิด Invert yield curve (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้น “สูงกว่า” อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุยาว ซึ่งตามปกติแล้วไม่ควรเกิดภาวะเช่นนี้) โดยเฉลี่ย 1 ปีครึ่ง และในรอบครั้งนี้ Yield curve ได้ invert ไปในเดือน เม.ย. 2022 จึงสะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. 2023
    • แต่ไม่ใช่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทุกครั้งหลังจาก Invert yield curve เสมอไป 

        ดังนั้นสรุปได้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ และ ตลาดหุ้นปัจจุบันยังไม่สะท้อนผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด ความเสี่ยงของเศรษฐกิจ และ ตลาดหุ้นปรับลงในระยะข้างหน้ายังคงสูงอยู่



ลงทุนอะไรดี! เมื่อความไม่แน่​นอนและเศรษฐกิจถดถอยยังคงสูงอยู่ 

        จากสถิติที่ผ่านมาจังหวะเข้าลงทุนที่ดีที่สุด คือ ช่วงหลังเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปแล้ว 6 เดือน “ตลาดหุ้นมักให้ผลตอบแทนเป็นบวก” แต่กว่าจะรอถึงเวลานั้นเพื่อเข้าลงทุน นักลงทุนไม่ควรเสียโอกาสหาผลตอบแทนระหว่างการรอ ควรคว้าโอกาสปัจจุบัน เลือกลงทุนสินทรัพย์ที่เหมาะสม สะสมผลตอบแทนเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนเอง 

กราฟแสดงผลตอบแทนเฉลี่ยการลงทุนเมื่อเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย


        ดังนั้น ธีมการลงทุน ช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ รอโอกาสตลาดพลิกฟื้น กลุ่มเหล่านี้จึงน่าสนใจ
    • กลุ่มที่ได้รับประโยชน์หากดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะหยุดขึ้นหรือปรับตัวลงในระยะข้างหน้า เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade) ที่มีอายุเฉลี่ยตราสารระยะกลาง ซึ่งให้อัตราผลตอบแทน (Yield) อยู่ในระดับที่น่าสนใจและราคามีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้ดีหากอัตราดอกเบี้ยจะกลับมาเป็นขาลง ซึ่งปัจจุบันราคาตราสารหนี้ได้สะท้อนการรับรู้ข่าวไปค่อนข้างมากแล้ว ความผันผวนต่อจากนี้จึงค่อนข้างจำกัด
    • เน้นหุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบต่อความผันผวนของเศรษฐกิจจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในช่วงชะลอตัว หลายประเทศยังมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย เช่น กลุ่ม Health Care กลุ่มสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) กลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มักมีผลประกอบการที่ยังสามารถเติบโตได้ แม้จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
    • เน้นกระจายการลงทุนผ่านกองทุนรวมผสม หากนักลงทุนมีความสนใจลงทุนแต่ไม่มีเวลาในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ กองทุนผสมเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทางเลือกหนึ่ง เพราะทุกๆ ปี การลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ จะให้ผลตอบแทนที่ดีและไม่ดี สลับกันไป ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่การกระจายการลงทุน เช่น กองทุนผสม ผลตอบแทนโดยรวมมักให้ผลตอบแทนเป็นบวกอยู่ระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นและมีความผันผวนที่ต่ำกว่า 

ผลตอบแทนแต่ละสินทรัพย์ ปี 2008 - 2022​


    • เน้นกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
        • ตลาดหุ้นจีนที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินและการคลังอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจเติบโตมากกว่า 5% ในปีนี้ และตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ธนาคารก็มีคำแนะนำให้นักลงทุนทยอยลงทุนในตลาดหุ้นจีน ถึงแม้จะมีผลตอบแทนที่ติดลบก็ตาม จากปัจจัยหลักๆ ที่เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ คือ
        • ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาเติบโตดีแต่กลับต่ำกว่าที่ตลาดคาด สะท้อนเศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ นักลงทุนจึงเกิดความกังวลว่า GDP ที่ตั้งไว้ต้นปีจะสามารถถึงเป้าหมายได้หรือไม่
        • ประชาชนยังไม่กลับมาใช้จ่ายเท่าช่วงก่อนโควิด เนื่องจากการคลายล็อคดาวน์ได้ไม่นาน แต่ด้วยเงินเฟ้อที่ต่ำ ทางรัฐบาลจีนยังสามารถใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง เช่น การลด RRR (Reserve Requirement Ratio : สัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจได้ และล่าสุดในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา จีนได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Repo Rate 7 วัน ลง 10 bps จากระดับ 2.0 % สู่ระดับ 1.9 % , ลดดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น (SLF) (ณ วันที่ 13 มิ.ย. 66) พร้อมทั้งลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Medium-term lending rates หรือ (MLF) (ณ วันที่ 15 มิ.ย. 66)  จากระดับ 2.75% สู่ระดับ 2.65 % เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้สถาบันการเงินและเพื่อเพิ่มการกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ ส่วนธนาคารกลางจีน (PBoc) ก็ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี Loan Prime Rate (LPR) ประเภท 1 ปี (ดัชนีวัดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคเอกชน) ลง 0.10% สู่ระดับ 3.55% จากระดับ 3.65% พร้อมกับปรับลดอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate (LPR) ประเภท 5 ปี (ดัชนีวัดทิศทางอัตราดอกเบี้ยของภาคครัวเรือน ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเพื่อการกู้จำนอง) ลง 0.10% สู่ระดับ 4.2% จากระดับ 4.3% (ณ วันที่ 20 มิ.ย. 66) ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ถือเป็นการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องว่าทางการจีนต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นจะเห็นได้ว่าเดือน มิ.ย.ตลาดหุ้นจีนเริ่มเห็นแสงสว่างตอบรับปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
        • ในระยะข้างหน้านักลงทุนในตลาดยังคาดหวังว่าจีนจะยังออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี อีกทั้งระดับ Valuation P/E (Price to Earnings Ratio : อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ) ที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต และโอกาสที่จะปรับลงต่อจากนี้ค่อนข้างต่ำเนื่องจากที่ผ่านมาตลาดรับรู้ข่าวร้ายไปพอสมควรแล้ว จึงมีความน่าสนใจเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่นๆ ยังแนะนำทยอยสะสมช่วงที่ตลาดปรับตัวลง

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน

ที่มา : Bloomberg, Investing ณ วันที่ 26 พ.ค. 2023 



        ตลาดหุ้นเวียดนาม อีกหนึ่งตลาดที่น่าจับตา ธนาคารกลางเวียดนามมีการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากภาคส่งออกที่หดตัวลง หลังจากเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และค่าเงินด่องกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่แนวโน้มสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จะยังปรับตัวสูงขึ้นในระยะสั้น แต่ภายหลัง ธนาคารกลางเวียดนามออกนโยบาย Circular 2/2023 ที่มีความชัดเจนในการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ (Debt Restructuring) เช่น
    • ให้ยืดการผ่อนชำระหนี้ได้ ซึ่งตลาดคาดว่า NPL Ratio จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมาย 3% ซึ่งกำหนดโดยธนาคารกลางแห่งเวียดนาม
    • ในระยะยาว เศรษฐกิจของประเทศเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ดีจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่ยังคงเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง
    • แนวโน้มรายได้ของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น
    • ในระยะสั้น ตลาดหุ้นเวียดนามยังคงผันผวนจากความกังวลต่อข่าวเชิงลบในประเทศเนื่องจากการสอบสวนจากภาครัฐฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ที่ยังดำเนินต่อไป

        เป็นโอกาสทยอยสะสมในช่วงระดับ Valuation P/E (Price to Earnings Ratio : อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ) ที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต เหมาะสำหรับลูกค้าที่สนใจและลงทุนได้ในระยะยาว

ธนาคารกลางเวียดนามปรับลดดอ​กเบี้ย
และแนวโน้มสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย


กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงสูง 

K-GHEALTH
เน้นหุ้นกลุ่มสุขภาพที่มีการเติบโตต่อเนื่องด้วยปัจจัยบวกจากคนวัยสูงอายุที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS



K-CHX
ปัจจัยพื้นฐานของจีนยังดีในระยะยาวและภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศจีนให้กลับมาเติบโต
​อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS




K-VIETNAM
เน้นลงทุนตรงในหุ้นของเวียดนามที่มีศักยภาพ มีแนวโน้มเติบโตสูง มีทีมบริหารจัดการกองทุนที่มากประสบการณ์และศึกษาตลาดเวียดนามมาอย่างยาวนาน และให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS



สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง 

แนะนำกองทุนที่กระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 ตัว ได้ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ไม่ต้องจัดพอร์ตเอง เน้นสินทรัพย์ที่จ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ เพื่อโอกาสทํากําไรและลดความผันผวนในระยะยาว ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Investment Funds – Global Income Fund, Class I (mth) - USD (hedged)

K-GINCOME-A(A)
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS



K-GINCOME-A(R) 
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS



สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อย 

K-FIXED-A
ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากในประเทศ
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS



K-FIXEDPLUS-A
ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน K PLUS




บทความโดย
กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า



กลับ