Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​​        ​ปี 2023 นี้ ถือเป็นปีที่มีความท้าทาย เห็นได้ว่า ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บางสินทรัพย์ที่คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด หรือ บางสินทรัพย์ที่คาดว่าดีแต่ผลลัพธ์กลับออกมาตรงกันข้าม ความผันผวนเหล่านี้ทำให้การบริหารสินทรัพย์เป็นไปด้วยความยากลำบากเช่นกัน




เศรษฐกิจตึงตัว ธนาคารทั่วโลกปรับขึ้นดอกเบี้ย


        จะเห็นได้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจปัจจุบันมีสภาพคล่องที่ตึงตัวมากขึ้น จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลกระทบให้
    • ต้นทุนการลงทุนทั้งระดับภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector ภาคธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ เช่น ภาคการเกษตร ผลไม้ ข้าว, ภาคอุตสาหรรม การผลิตรถยนต์, ภาคบริการ โรงแรม สปา ฯลฯ) และ ต้นทุนของการลงทุนในสินทรัพย์มีการปรับตัวขึ้นทั้งหมด
    • ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดทุน เช่น ตลาดซื้อขายหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ลดลง 
    • ภาคการเงินได้รับผลกระทบ เช่น ธนาคารฝั่งยุโรป Credit Suisse ถูก Union Bank of Switzerland (UBS) เข้าซื้อกิจการ หรือ ในฝั่งสหรัฐฯ เอง ที่ธนาคาร First Republic ล้มเพราะผลพวงจากการล้มลงของธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Silicon Valley Bank , Signature Bank  และ Silvergate 
        การล้มละลายของธนาคารต่าง ๆ ที่กล่าวมา อาจจะยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดของวิกฤตการณ์ทางการเงินในครั้งนี้ 



ภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ผันผวนลดลง 

        อย่างไรก็ตามจากความเห็นส่วนใหญ่ ทั้งจากด้านนักวิเคราะห์ จนไปถึงผู้กำหนดทิศทางนโยบายทางการเงินของประเทศต่าง ๆ มีความคิดตรงกันว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเช่นนี้อีกระยะหนึ่ง ทำให้การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนจากการถือครองพันธบัตรน่าจะจำกัดมากขึ้น ความผันผวนจะลดลง ตลาดจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น  

        สำหรับภาพเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ กลุ่มยูโรโซน จนไปถึงญี่ปุ่น ยังมีความตึงเครียดจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่วนในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะจีน และ อินเดียจะเป็นแรงหนุนหลักที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกขยายตัวได้ในปีนี้

กลยุทธ์การลงทุน สร้างผลกำไรให้คุ้มค่า 

        จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นถือเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนเพื่อทำกำไรได้ ดังนี้
    • ตราสารหนี้ : เนื่องจากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจที่จะลงทุน ตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และ ช่วยกระจายความเสี่ยง ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสููง
    • สินทรัพย์ที่จ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอในทุกสภาวะตลาด : สินทรัพย์เหล่านี้จะช่วยลดความผันผวนการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และ เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มคงที่หรือปรับลดลงในอนาคต สินทรัพย์ประเภทนี้จะได้รับผลประโยชน์จากส่วนต่างอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน ซึ่งเห็นได้จากตัวอย่างในตารางด้านล่าง กองทุน K Global Income Fund-A(R)  มี Maximum Drawdown (MDD) หรือ เปอร์เซ็นต์การขาดทุนสูงสุดโดยเทียบตั้งแต่ช่วงเวลาจัดเริ่มตั้งกองทุน 10 มิถุนายน 2558 จนถึง 8 พฤษภาคม 2566 ในช่วงเวลาเดียวกันดีกว่าดัชนีตลาดหุ้นซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถในการช่วยควบคุมความเสี่ยงในช่วงตลาดเป็นขาลง

​ดัชนีตลาดหุ้น
​Maximum Drawdown
​K-GINCOME-A(R)
​- 22.58%
​Nikkei 225
​- 31.80%
​S&P500
​- 33.92%
​STOXX 600
​- 35.55%
​NASDAQ
​- 36.40%
​SENSEX
​- 38.00%
​SET
​- 44.29%
​VIETNAM
​- 45.26%
​CSI 300
​- 46.67%
​HSCEI
​- 66.64%
ที่มา : Bloomberg ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2566



        เพราะไม่มีใครสามารถทำนายว่าวิกฤตครั้งนี้จะจบลงตอนไหน สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุน คือ กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับแต่ละช่วงเวลา โดยจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสมด้วยเสมอ อย่างที่ธนาคารกสิกรไทยเน้นย้ำตลอดเรื่องหลักการลงทุนที่ปลอดภัยของปีนี้ คือ 
    • ควรรอความชัดเจนของสถานการณ์
    • ควรเน้นไปที่สินทรัพย์กลุ่มที่มีความมั่นคง สามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ
    • ลงทุนควบคู่กับหลักการกระจายความเสี่ยง
    • ตั้งเป้าหมายการลงทุนอย่างน้อย 3 – 5 ปี



        ทั้งสองกลยุทธ์การลงทุนทั้งการลงทุนในตราสารหนี้ และ การลงทุนในสินทรัพย์ที่เน้นการจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ เป็นการจัดสรรเงินทุนที่เหมาะสมตามวัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของตลาดการลงทุน และ ได้รับผลตอบแทนที่ดีได้ในช่วงเวลาปัจจุบันได้นั่นเอง

นิติ สนิวาล CFP® 
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า 


กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ
K-FIXED-A
กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป 
อ่านรายละเอียดกองทุน​
​​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS



นโยบายการลงทุน
    • ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากในประเทศ
    • กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management)​

เหมาะสำหรับใคร?
    • คาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก
    • ต้องการสภาพคล่องในการซื้อขาย ได้รับเงินค่าขายคืนภายในวันที่ T+2
    • สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป​

สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง
K-GINCOME
กองทุนเปิดเค โกลบอล อินคัม
อ่านรายละเอียดกองทุน


​กองทุน
​​ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS
​K-GINCOME-A(A)

​K-GINCOME-A(R)

​K-GINCOME-SSF

​K-GINCOME-RMF

นโยบายการลงทุน
    • กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอในทุกสภาวะตลาด (Income)
    • กองทุนเน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 สินทรัพย์
    • เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายรายได้สม่ำเสมอ
    • มีกลยุทธ์การลงทุนกว่า 550 กลยุทธ์และมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสินทรัพย์กว่า 50 คน ทำหน้าที่มุ่งหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายรับสม่ำเสมอ 

เหมาะสำหรับใคร?
    • ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง
    • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

กลับ